เรื่องนี้มันมีที่มา สัมภาษณ์อดีตบก. Nobuhiko ทำไม Dragon Ball ถึงมีภาคต่อ ตอนที่ 1

Dragon Ball

Dragon Ball อีกหนึ่งซีรีส์การ์ตูนยอดฮิตในอดีตที่ปัจจุบันนี้ยังคงได้รับความนิยมทั้งแฟนรุ่นเก่าและใหม่ เรียกได้ว่าเป็นการ์ตูนประจำชาติญี่ปุ่นที่จะยังคงมีอยู่ไปเรื่อยๆ จนกว่าโลกจะล่มสลายเลยทีเดียว นอกจากชื่อเสียงในด้านมังงะและอนิเมะแล้ว Dragon Ball ก็ยังเป็นชื่อสินค้าลิขสิทธิ์ของ Bandai ที่ทำยอดขายได้มากที่สุดต่อเนื่องกันหลายปีอีกด้วย

หลังจากที่ตัวมังงะต้นฉบับสิ้นสุดการตีพิมพ์ไปตั้งแต่ 1995 และฉบับอนิเมะฉายจบเมื่อปี 1997 เวลาผ่านไปราว 23 ปีแล้ว ทุกวันนี้ซีรีส์ Dragon Ball ยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องและมีภาคต่อในปัจจุบัน

วันนี้เรามาฟังเรื่องราวจากคุณ Torishima Nobuhiko อดีตบรรณาธิการของอาจารย์ Toriyama Akira ผู้เขียน Dragon Ball ถึงสาเหตุของการนำโปรเจกต์ชื่อ Dragon Ball กลับมาทำต่อกัน!

Dragon Ball and Dragon Ball Super

บทสัมภาษณ์นี้มาจากงานสัมมนา “Unite Tokyo 2019” ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2019 ที่ผ่านมา ณ Grand Nikko Tokyo ในหัวข้อ “ทำไมสำนักพิมพ์กับบริษัทเกมถึงสวนทางกัน? เรื่องราวการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์สุดแย่ของเกม Dragon Ball” โดยมีผู้ร่วมเสวนาคือ

คุณ Torishima Nobuhiko
อดีตบรรณาธิการของอาจารย์ Toriyama Akira ผู้เขียนต้นฉบับ Dragon Ball

คุณ Unozawa Jin
ที่ปรึกษาจาก Bandai Namco Entertainment

คุณ Uchiyama Daisuke
ผู้อำนวยการ Bandai Namco Entertainment
ผู้จัดการทั่วไปของแผนก CE และโปรดิวเซอร์ของเกม Dragon Ball

Uchiyama

ย้อนกลับไปในช่วงปี 2003 เมื่อประมาณ 16 ปีที่แล้ว ผมได้รับหน้าที่เป็นโปรดิวเซอร์ให้กับเกม Dragon Ball Z (Dragon Ball Z Budokai ในชื่อภาษาอังกฤษ) บนเครื่อง PS2 ซึ่งในปี 2003 ที่วางจำหน่ายตัวเกม มันคือช่วงที่อนิเมะ Dragon Ball Z, Dragon Ball GT และ ฉบับมังงะใน Shonen Jump จบไปแล้ว โดยปกติการนำผลงานชื่อดังทำเป็นสินค้าขาย จะต้องเป็นตอนที่อนิเมะกำลังฉายอยู่ถึงจะสามารถขายให้กับเด็กได้ หากมองในมุมมองนี้จะเห็นได้ว่าช่วงนั้นไม่ใช่ช่วงที่ “Dragon Ball Z” ควรทำเป็นสินค้าขายเลย

Dragon Ball Z หรือ Dragon Ball Z Budokai บนแพลตฟอร์ม PS2

Dragon Ball Z

ในช่วงที่ผมเข้ามาทำงานใหม่ ๆ ผมได้รับมอบหมายให้ทำเกม Dragon Ball ซึ่งก่อนหน้านี้ผมมีการทำเกม Hokuto no Ken บนเครื่อง PS1 และมันก็ขายดีในฐานะที่มันเป็นผลงานชวนคิดถึง ผมเลยคิดว่า Dragon Ball Z น่าจะสามารถขายได้ในความที่เป็น “ความคิดถึง” ด้วยเช่นกัน

Hokuto no Ken Seisekimatsu Kyuseishu Densetsu บนแพลตฟอร์ม PS1

Hokuto no Ken

หลังจากคุยกับคุณ Unozawa ก็ได้มีการเริ่มทำเป็นเกมต่อสู้ ณ ตอนนั้นผมคิดว่าเรากำลังสร้างสิ่งที่น่าสนใจอยู่และมันต้องได้รับคำชมว่า “เจ๋งไปเลย” แน่นอน ผมเลยไม่ได้ตั้งใจอธิบายอย่างจริงจังให้กับบรรณาธิการของทาง Shonen Jump สักเท่าไร ถ้าตอนนี้มี Uchiyama Daisuke คนในอดีตอยู่ที่นี่ ผมจะจับเขามาและพูดคุยอะไรหลาย ๆ เรื่อง

และไม่นานก็มีข่าวลือที่ว่า “ได้ยินว่าไอ้เด็ก Bandai ดันทำเกม Dragon Ball ตามอำเภอใจโดยไม่ได้ตั้งใจฟังบรรณาธิการเลย” จนเรื่องเข้าหูบรรณาธิการของ Jump ทำให้ Unozawa กับผมถูกเรียกไปพบ…

Dragon Ball

พอไปถึงห้องบรรณาธิการ ผมก็ได้นั่งกับ Unozawa และที่อยู่ตรงหน้าก็คือคุณ Torishima พร้อมกับเหล่าบรรณาธิการกับรองบรรณาธิการประมาณ 10 คนได้ ราวกับว่าผมโดนล้อมแบบ ไม่ให้หนีไปได้หรอก” เลย (หัวเราะ)

จากนั้น คุณ Torishima ก็บอกว่า “กำลังทำอะไรอยู่อธิบายมาซะ” ตอนนั้นผมมีหนังสือแผนนำเสนอโครงการ แต่คุณ Torishima ไม่อ่านเลย และคลิปที่เอามา คุณ Torishima ก็ยังไม่ดู และในจังหวะที่ผมเอาหนังสือแผนโครงการออกมาคุณ Torishima ก็บอกกับ Unozawa ว่า ไอ้เจ้าเนี่ย โทษทีนะ ช่วยทิ้งมันไปหน่อยได้ไหม?” หมายความว่า “เกมของนายที่กำลังสร้างอยู่ตอนนี้ มันถูกยกเลิกโปรเจกต์ตรงนี้แล้วยังไงล่ะ” ไม่ว่าทุนพัฒนาเกมจะมีเท่าไร จะทำงานหนักแค่ไหน หรือจะขายได้มากเพียงใด มันไม่สำคัญแล้ว

เกมที่มีค่าพัฒนากว่าร้อยล้านเยนถูกปฏิเสธด้วยคำพูดประโยคเดียว
‘โทษทีนะ ช่วยทิ้งไปหน่อยได้ไหม’

เดิมทีโปรเจกต์นี้ไม่เข้าใจตัวละครแม้แต่นิดเดียวเลยสินะ” คุณ Torishima พูดโดยไม่ดูแผนร่างโปรเจกต์กับคลิปวิดิโอเลย ถึงแม้ว่าตอนนั้นจะมีบรรณาธิการกับรองบรรณาธิการคนอื่น แต่คนตัดสินก็คือคุณ Torishima ทันใดนั้น ผมคิดทันทีว่า “เหมือนกับการถูกปฏิเสธในมังงะเลยแฮะ” แต่ว่าการถูกปฏิเสธจริงมันเป็นเรื่องที่เจ็บมาก มันรู้สึกแบบนั้น ผมจำได้ดีเลย

Torishima

เอ่อคือว่า ที่คุณ Uchiyama จำได้มันต่างกับผมพอสมควรเลยนะครับ คือคลิปน่ะผมดู แต่หนังสือแผนนำเสนอโครงการของ Bandai มันไม่มีเนื้อ ดูไปก็ไม่มีความหมาย (หัวเราะ) ตอนที่ดูคลิปผมรู้ได้ทันที่ว่า “มันไม่ได้เรื่อง” เหตุผลนั้นง่ายมาก นั่นคือการกำกับดูแลต้องบอกได้คร่าว ๆ ว่าตัวละครมันมีความ “เหมือนหรือไม่เหมือน”

Dragon Ball Budokai

เนื่องจากพวกเด็ก ๆ เป็นแฟนต้นฉบับ ถ้าหากตัวละครมีความต่างกับต้นฉบับ มันก็จะเป็น “ของปลอม” ในฐานะที่เป็นกองบรรณาธิการจะให้ปล่อยของปลอมออกไปมันก็ไม่ได้ เพราะงั้นช่วงวินาทีที่เห็นแล้วคิดว่า “สิ่งนี้คือของปลอม” มันเลยใช้ไม่ได้

ในสไลด์พรีเซนต์มีการเขียนไว้ว่า “ใช้เงินทุนหลายร้อยล้านเยน” ซึ่งตอนนั้นคุณ Unozawa น่าจะเข้าใจอะไรบางอย่างผิด ผมเลยอธิบายรายได้ของอาจารย์ Toriyama Akira ว่า ณ เวลานั้นอาจารย์มีรายได้ต่อปีกว่า 2 พันล้านเยน ผมเลยบอกไปว่า “จะให้ปล่อยของปลอมออกไปเพราะว่ามันใช้ทุนกว่าร้อยล้านเยนเหรอ?” เพราะงั้นผมเลยบอกให้เขาเอามันไปทิ้ง

Unozawa

ผมเองก็จำได้ครับ ตามเรื่องที่พูดเมื่อกี้เลย ผมรับหน้าที่ทำเกม ONE PIECE และมันก็ขายดี จนคุณ Torishima บอกว่า “ดีแล้วนี่ ONE PIECE ทำกำไรได้แล้ว งั้นทิ้งมันไปได้ไหม?” (หัวเราะ)

Uchiyama

ในฐานะโปรดิวเซอร์จะให้ทิ้งก็ทำได้ยาก เพราะว่ามีทีมพัฒนาหลายสิบคน และผมรู้สึกว่า “ค่าพัฒนาเกมที่เสียมาจนถึงตอนนี้ Bandai กำลังทำอะไรอยู่เหรอ?” แต่จากที่ถูกบอกว่า “ใช้ไม่ได้” ผมเลยตัดสินใจบอกว่า “ต่อไปเราจะทำตามที่บอก เราจะเปลี่ยนตามจุดที่แนะนำ เราจะทำอย่างจริงจัง” และขอโอกาสที่สอง ซึ่งคุณ Torishima ก็บอกว่าถ้าทำมาให้ดูก็จะดู และหลังจากนั้นประมาณ 3 เดือนต่อมาเราก็เอาไปให้ดูใหม่

จากที่คุณ Torishima บอกว่าให้เอาไปทิ้งเพราะมันเหมือนของปลอม จากตอนนั้นผมก็คุยกับทีมพัฒนาอย่างจริงจังรวมถึงประกาศเลื่อนวันวางจำหน่าย และนั่นก็ทำให้ค่าพัฒนาเกมเพิ่มขึ้น ผมได้บอกขอโทษกับงานและบอกว่าเราจะหยุดแค่ตรงนี้ไม่ได้ เราต้องคิดถึงก้าวต่อไป ซึ่งตอนนั้นเราทำงานกันหนักมาก

” สามารถติดตามตอนที่ 2 ได้ที่ลิ้งข้างล่าง

ที่มา: itmedia.co.jp
TrunksTH

คำที่เกี่ยวข้อง

สมัครรับข่าว OS

คุณอาจสนใจเรื่องนี้