ตำรวจอินเดียเจ๋ง ใช้ Facebook ช่วยนำจับผู้ทำผิดกฎจราจร

          อันเนื่องมาจากสภาพการจราจรที่ติดขัด ที่ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นมาจากผู้ขับขี่ที่ขาดวินัย สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ตำรวจจราจรในนครนิวเดลี ประเทศอินเดีย ได้คิดค้นวิธีใหม่ในการออกใบสั่งให้แก่ผู้ที่ทำผิดกฏจราจรประเภทต่างๆ ซึ่งก็คือการสร้างกลุ่ม "เดลี ทราฟฟิค โพลิซ" ขึ้นทาง "เฟซบุค" เพื่อที่ให้ผู้ที่พบเห็นการกระทำผิดกฏจราจร สามารถนำภาพถ่ายการกระทำผิดมาโพสต์ลงในหน้าเว็บของทางกลุ่ม ซึ่งถูกสร้างขึ้นเมื่อสองเดือนก่อน ซึ่งก็ได้รับความร่วมมืออย่างดี โดยมีการโพสต์ภาพถ่ายของผู้กระทำผิดเป็นจำนวนมาก กว่า 3,000 รูป และภาพวิดีโออีกเป็นจำนวนมาก โดยเมื่อวันที่ 1 กค. ที่ผ่านมา มีผู้สมัครเป็น "แฟนเพจ" แล้วกว่า 17,000 คน

          จนถึงเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา  แฟนๆหน้า Face Book ได้เข้ามาโพสต์ภาพผู้ขับขี่ที่ละเมิดกฏหมายจราจรเกือบ 3,000 ภาพแล้ว พร้อมคลิบวิดีโอหลายสิบคลิบ  ตำรวจอาศัยหมายเลขทะเบียนรถในภาพเหล่านี้ออกใบสั่งไปแล้ว  665ใบ สารพัดความผิดที่ถูกนำมาแฉทาง Facebook
-พวกขี่มอเตอร์ไซต์ไม่สวมหมวกกันน็อค
-รถที่เข้าไปหยุดทับทางม้าลาย หรือทางสำหรับคนเดินข้ามถนน
-พวกขับรถไป คุยโทรศัพท์มือถือไป
-พวกกำลังเลี้ยวในที่ห้ามเลี้ยวหรือขับรถย้อนศร
-พวกจอดรถในที่ห้ามจอดต่างๆ ฯลฯ

          แม้ว่าจะมีบุคคลบางส่วนเห็นว่า การกระทำเช่นนี้จะเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล หรือภาพที่ถ่ายได้เป็นภาพจริงหรือไม่ แต่ผลตอบรับที่ได้ก็ค่อนข้างเป็นไปในทางบวก 

          โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรรายหนึ่งกล่าวว่า หน้าเพจทางเฟซบุค ไม่เคยมีการแจ้งให้มีการถ่ายรูปผู้กระทำผิดแต่อย่างใด นี่แค่เป็นเวทีที่ประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นให้มีการเปลี่ยนแปลงใดๆเท่านั้นเอง

           ในปัจจุบันนครเดลี มีตำรวจจราจรปฏิบัติหน้าที่อยู่ประมาณ 5,000 นาย ซึ่งเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรที่มีอยู่กว่า 12 ล้านคน ก็ถือว่ามีจำนวนที่ไม่เพียงพอนัก การนำเว็บไซด์สังคมออนไลน์มาเป็นเครื่องมือเช่นนี้ ก็ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ตราบใดที่การทำผิดกฏจราจรยังเกิดขึ้นในทุกพื้นที่ที่ตำรวจไม่สามารถเข้าถึงได้

 

           ตำรวจบอกว่า ไม่ได้ตั้งใจจะให้คนส่งภาพมาฟ้อง แต่เดิมตั้งใจให้คนเข้ามาแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ แต่กระแสตอบรับดีมาก และนักขับขี่หลายคนชมว่าดี ทำให้นักซิ่งหลายคนลดความซ่า เพราะไม่รู้จะมีภาพถูกนำไปแฉเมื่อใด

ตำรวจยอมรับข้อวิตก 3 ข้อคือ

1.สิทธิความเป็นส่วนตัว
2. มีความเป็นไปได้ที่จะเป็นภาพเสริมแต่งเพื่อแกล้งกัน  แต่ก็บอกว่าคนที่คิดว่าตัวเองถูกใส่ความโดยไม่ผิดจริงก็โต้แย้งได้
3.ตำรวจร้องขอให้ผู้โพสต์ ไม่ใช่ความแค้นส่วนตัวในการถ่ายภาพ และไม่ทำอะไรที่เสี่ยงภัยต่อตัวเอง เช่นทะเลาะหรือโต้เถียงกับผู้ที่ตนถ่ายภาพ

คลิปวีดีโอตัวอย่างการจราจรในอินเดีย สุดยอดจริงๆ ไม่ใช่เซียนขับไม่ได้นะเนี่ย

 

 

คำที่เกี่ยวข้อง

สมัครรับข่าว OS

คุณอาจสนใจเรื่องนี้