หากไม่มีอะไรผิดพลาดตอนที่เพื่อนๆ กำลังหยิบหนังสือเล่มนี้มาอ่านกันอยู่ ทางทีมงาน Raycity ก็คงปิด CB ไปแล้ว >.< (หยุดกินข้าวกินปลากันซะมั่ง เดี๋ยว Open จะไม่มีแรงปั๊มเวล อิอิ) สำหรับเล่มนี้เราจะไปดูกันในเรื่องของสนามแข่ง เพราะถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของความตื่นเต้นเร้าใจในเกม Raycity เหมือนกัน
ประเภทของการแข่ง
ประเภทของการแข่งขันจะแบ่งออกได้เป็น 2 แบบใหญ่ๆ
1.
2.
แต่แบบ Field เพื่อนๆ อาจจะยังไม่ได้สัมผัสกันนะครับ เพราะที่เกาหลีคนเล่นน้อย ผมก็เลยคิดว่าเขาอาจจะยังต้องการปรับเปลี่ยนให้มันลงตัวกว่านี้ก่อน ส่วนแบบ Track ตอนช่วง Open จะมีการอัพเดตมากถึง 30 สนาม =[]= ที่นี้เราไปดูกันต่อกับความแตกต่างของรูปแบบสนาม และเทคนิคการแข่งกัน
ลักษณะของแบบ Track
ลักษณะของสนามก็จะมีฉากกั้นตลอดสองข้างทาง วัดฝีมือด้วยการขับขี่ไปตามทางที่ฉากกั้นไว้จนถึงเส้นชัย ซึ่งแต่ละสนามจะเป็นการหยิบเอาเขตต่างๆ ในกรุงโซลมาทำเป็นสนามแข่ง ดังนั้นอุปสรรคที่จะเจอทั้งหมดก็จะเป็นพวก ฉากกั้น, เสาไฟฟ้า, ป้ายรถเมล์ (ที่วางเรียงรายอยู่ตามท้องถนน ที่พบเห็นได้ทั่วไป)
เทคนิคการซิ่งแบบ Track
การแข่งแบบ Track นั้น จะวัดกันที่กึ๋นของคนขับ และความแรงของรถเป็นหลัก ซึ่งผมจะแบ่งเทคนิคการเล่นออกเป็นข้อๆ เลยนะครับ เพื่อที่จะได้เข้าใจกันง่ายๆ
• การใช้สกิล สกิลค่อนข้างมีผลอย่างมาก เพราะโดยส่วนใหญ่เส้นทางของสนามจะเป็นทางตรงค่อนข้างเยอะ ถึงแม้ว่าจะมีทางโค้งบ้าง แต่ก็ส่วนน้อยเหลือเกิน (ขนาดสนามที่ดูเหมือนโค้งเยอะๆ แต่พอเล่นก็จะรู้สึกว่าทางตรงเยอะกว่าอยู่ดี) ดังนั้นสกิลที่จะช่วยได้มากที่สุดก็คือสกิล Bless – BoostOverDrive ที่ดูแล้วค่อนข้างเด่นกว่าสกิลอื่น เพราะสกิลนี้จะช่วยทำให้ได้เปรียบเวลาช่วงทางตรง เวลากดบูสต์ที ก็เหมือนยิงขีปนาวุธกันไปเลย (ยิ่งเลเวลสกิลสูงๆ ก็ยิ่งเห็นผลมาก)
จากการทดสอบของทีมงาน Weekly Online Special ในเรื่องของสกิลที่เด่นสุด ที่จะใช้นำมาช่วยในการแข่งก็คือสกิลนี้แหละครับ แต่ถ้าอยากรู้เรื่องการวิเคราะห์สกิลแบบเจาะลึก ว่าแต่ละสกิลมันดียังไง, แต่ละสกิลควรเพิ่มความสามารถอะไรก่อนดี, แล้วสกิลอะไรเจ๋งสุด ก็รอหนังสือ Special ที่จะวางแผง ช่วงสัปดาห์ที่สองของเดือนหน้านะครับ (เชียร์กันน่าดู - -a)
สำหรับการกดสกิลนั้น สามารถกดใช้ก่อนเริ่มการแข่งได้ (ก่อนที่สัญญาณ Start จะปรากฏ) เพราะช่วงที่เวลาเริ่มนับถอยหลัง SP จะเด้งกลับมาเต็มเหมือนเดิม เท่ากับว่าการกดสกิลเมื่อกี้จะเสีย SP เท่าไหร่ก็ไม่มีผล สุดท้ายมันก็กลับมาเต็มเหมือนเดิมอยู่ดี (ขอย้ำ ว่าก่อนที่สัญญาณ Start จะปรากฏเท่านั้น)
ขอเสริมอีกนิดว่า หากคิดจะมุ่งการแข่งอย่างเดียว และเป็นการแข่งแบบเป็นทีม เราควรอัพระยะการแสดงผลของสกิลจากเดิม 20m เป็น 40m ด้วย (ทุกสกิลเลยนะครับ ไม่ว่าจะเรียนอะไรมากก็แล้วแต่) เพราะตอนที่แข่งแบบทีม เวลาที่เรากดใช้สกิล เพื่อนของเราจะได้ผลจากสกิลด้วย การที่ต้องอัพให้เป็น 40m จะทำให้ผลของสกิลครอบคลุมได้ทั่วจุดสตาร์ท (เผื่อเราไปเกิดริมๆ เพื่อนที่อยู่อีกฝั่งก็จะได้ผลของสกิลด้วย)
• การใช้ SP เริ่มกันตั้งแต่การออกสตาร์ทกันเลยนะครับ เวลาที่เราเห็นตัวเลขนับถอยกลัง 3..2..1.. และเมื่อเห็นคำว่า Start โผล่ขึ้นมาปุ๊บ ให้รีบกดเดินหน้า 2 ครั้งทันที จากนั้นก็กด Ctrl ใช้บูสต์รั่วๆ ไปเรื่อยๆ ส่วนเส้นทางที่เหลือก็กดบูสต์ไปตลอดทางจนถึงเส้นชัย (SP ครบ 50 เมื่อไหร่ก็กดใช้ตลอด)
จากที่สัมผัสการแข่งมา การชิงจังหวะออกตัวนั้นมีผลต่อการกำหนดคนชนะได้เลย ถ้ายิ่งเราเจอพวกที่มีความเร็วรถในระดับใกล้เคียงกัน การชิงจังหวะออกตัวยิ่งมีผลสุดๆ ออกตัวดีขึ้นนำ รถแรงเท่ากัน แล้วจะแซงยังไง? คิดว่าจริงไหมครับ!? ส่วนที่บอกว่าให้กดบูสต์ตลอดทุกครั้งที่มี SP ครบ 50 หน่วย บางคนอาจะสงสัยว่าแล้วจะเข้าโค้งยังไง? ใช้ตอนพ้นโค้งไม่ดีกว่าเหรอ? จะทำแบบนั้นก็ได้เหมือนกันครับ ถ้าเข้าโค้งยังไม่คล่องหรือคุณคือผู้นำ
แต่ถ้าเพื่อนๆ คือผู้ตาม เพื่อนๆ สามารถดริฟท์เข้าโค้งได้แบบเนียนๆ แล้วละก็ ไม่ต้องกังวลกับเรื่อง SP ที่สูญเสียไปช่วงที่กดใช้เพื่อดริฟท์เข้าโค้งหรอกครับ นั่นก็เพราะว่าการที่เราตามหลังผู้นำ ยิ่งเวลาห่างเท่าไหร่ การที่ผ่านจุด Check Point แต่ละครั้ง เราก็จะได้ SP คืนมาเยอะเท่านั้น ตัวอย่างเช่น เวลาที่ตามหลังคือ 01.90 วินาที SP ที่เราจะได้มาก็คือ 19 หน่วย เป็นต้น
|
และที่สำคัญจุด Check Point ต่างๆ ก็มักจะอยู่ตรงทางโค้งเสมอ (แต่ถ้าทางตรงยาวๆ มันก็จะกระจายอยู่ตรง “ทางตรง” ด้วย) เท่ากับว่านี้คือโอกาสในการแซงขึ้นนำได้อย่างสบายๆ ลองคิดดูสิครับ ถ้าเราบูสต์ก่อนเข้าโค้งพอพ้นทางโค้งก็บูสต์อีกครั้ง เท่ากับเราบูสต์ 2 ครั้งติดๆ แต่ผู้นำจะบูสต์ได้แค่ครั้งเดียว!! /gg
หมายเหตุ : ในบางครั้งถ้าเจอโค้งกว้างๆ เราก็ไม่จำเป็นต้องดริฟท์เข้าโค้งก็ได้นะครับ
กล่าวถึงแบบ Field (ซักเล็กน้อย)
การแข่งขันในรูปแบบ Field นั้นจะยึดหลักของการหยิบเอาถนนจริงๆ มาใช้เป็นสนามแข่ง ซึ่งจะมีรถ NPC วิ่งไปมาปกติ ไม่มีเส้นกั้นสนาม มีแต่เส้นบอกทางในแผนที่เล็ก และลูกศรนำทางเท่านั้น หากคุณขับเลยเส้นทางที่ใช้แข่งก็จะถือว่าออกนอกเส้นทางไปเลย
สำหรับจุดที่ใช้ Check Point เราจะไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจุดต่อไปจะต้องวิ่งไปทางไหน บ่อยครั้งที่เมื่อเราเร่งความเร็วแบบสุดๆ วิ่งเข้าหาจุด Check Point แต่เมื่อถึงแล้ว ปรากฏว่าเจ้าลูกศรชี้ที่คอยชี้บอกทาง กลับหันควับ! ไปที่ด้านหลังของเราทันที เราก็ต้องหันหลังกลับวิ่งย้อนทางเดิมเพื่อไปหาจุด Check Point ต่อไป (กลับลำกันแทบไม่ทัน)
โดยรวมเสน่ห์ของการแข่งแบบ Field ก็คงจะอยู่การที่คาดเดาเส้นทางได้ยาก รวมไปถึงต้องคอยหลบรถ NPC ที่วิ่งอยู่ตามท้องถนน การเลี้ยวโค้งตรงสี่แยกที่ยากจะคาดเดาได้ว่ารถเมล์คันโตๆ จะรอเราอยู่หรือเปล่า หรือจะพากันแหกโค้งไปซะก่อน (อารมณ์เหมือนแก๊งซิ่งป่วนเมืองเลย)
|
|
แข่งแล้วได้อะไร
แน่นอนว่าทุกครั้งที่เราแข่งขันจบในแต่ละรอบ นอกจากจะได้ EXP คนขับ, EXP ตัวรถ แล้ว ยังได้ค่า RP มาอีก ซึ่งเจ้าค่า RP นี้แหละครับ คือสิ่งที่ล่อตาล่อใจให้ใครหลายๆ คน จ้องแต่จะแข่งกันอย่างเดียว แถมยังมี NPC ที่รับแลก RP ทั้งในสนามแข่ง และนอกสนามแข่ง ซึ่งผลตอบแทนของทั้ง 2 ก็จะไม่เหมือนกันอีกด้วย
นอกสนามแข่ง
สามารถแลกค่า RP ได้ที่ NPC Mr.RP (อยู่ตรงหน้าทางเข้าสนามแข่งของทุกเมือง) สิ่งที่แลกได้ก็จะมีอยู่ 2 อย่างคือ
1. แลก Exp รถ 0
2. แลก Exp คนขับ
การแลก RP นอกสนามแข่งจะเน้นไปที่ EXP ซึ่งเหมาะสำหรับผู้เล่นที่ต้องการปั๊มเลเวลคนขับ เพื่อที่จะได้เก่งเร็วๆ หรือปั๊มเลเวลรถ เพื่อที่จะได้ใส่ของแรงๆ
ในสนามแข่ง
เมื่อเราเข้าสู่สนามแข่งตรงหน้า Lobby ให้เราขับวนดูรอบๆ ลานเล็กๆ ตรงสนามแข่ง เราก็จะเจอกับ NPC ที่ชื่อ Haewang ซึ่ง NPC คนนี้จะเปิดรับแลกค่า RP ถึง 4 อย่าง
1. แลกไอเทม สำหรับไอเทมที่แลกได้ก็จะมี เครื่องยนต์ระดับ 1.3 (เลเวล 30),
เครื่องยนต์ระดับ 1.6 (เลเวล 60),
เครื่องยนต์ระดับ 1.9 (เลเวล 90),
เครื่องยนต์ระดับ 2.2 (เลเวล 120),
เครื่องราง RP Clear Mind,
เครื่องราง RP Thrill Focus
2. เติมน้ำมัน เราสามารถใช้ค่า RP ในการเติมน้ำมันได้ เฉลี่ยแล้วก็จะเสียพอๆ กับการเติมน้ำมันโดยการใช้ค่าเงิน Rain (1 RP = 10 Rain)
3. ซ่อมเครื่องยนต์ เหมือนกับการซ่อมข้างนอกทุกอย่าง แต่ใช้ค่า RP ในการซ่อมแทน (1 RP = 1 Rain เช่นกัน)
4. สร้างไอเทม ในส่วนนี้จะเป็นการอัพเกรดระดับออพชั่นให้กับเครื่องยนต์ ที่เราใช้ค่า RP ซื้อมา (เครื่องยนต์ที่เห็นด้านบน) ซึ่งการเพิ่มระดับจะเรียงเหมือนลำดับออพชั่นของเครื่องยนต์ปกตินั่นก็คือ Power option >> Rare option >> Unique Option ส่วนโอกาสสำเร็จนั้น ผมไม่แน่ใจว่า 100% หรือเปล่า แต่เท่าที่ทดลองมาก็ยังไม่เคยแตกเลยสักครั้ง (จริงๆ อาจจะมีโอกาสแตกก็ได้นะ - -a)
หมายเหตุ : เครื่องยนต์ที่ได้มาจากการใช้ RP แลกมาจะเรียกว่า Racing Engine ซึ่งสามารถนำมาใช้แทนเครื่องยนต์แบบปกติได้ และยังซ่อมได้อีกด้วย (เอามาใช้นอกสนามแข่งได้)
กล่องเครื่องมือ
ถ้าคิดว่าหลังจบการแข่งจะได้แค่ค่า RP ล่ะก็ คิดผิดซะแล้ว เพราะบางครั้งหลังจบการแข่งในแต่ละรอบ เรายังมีโอกาสที่จะได้ไอเทมประเภท “กล่องเครื่องมือ” อีกด้วย ซึ่งกล่องเครื่องมือจะเป็นไอเทมสำหรับใช้อัพเกรดเครื่องยนต์ที่เราใช้ค่า RP แลกมา (Racing Engine) ก่อนที่จะไปรู้วิธีการใช้ เรามาดูประเภทของกล่องเครื่องมือกันก่อนนะครับ
1. กล่องเครื่องมือระดับ Power
2. กล่องเครื่องมือระดับ Rare
3. กล่องเครื่องมือระดับ Unique
ส่วนวิธีการใช้กล่องเครื่องมือนั้น ไม่ได้ยุ่งยากอะไรเลย แค่ดับเบิ้ลคลิกที่กล่องเครื่องมือ จากนั้นก็โยนเครื่องยนต์เข้าไป กดอัพเกรดจากนั้นก็รอผลที่ออกมาได้เลย แต่มีเงื่อนไขอยู่ว่า เครื่องยนต์ที่จะโยนเข้าไปจะต้องมี Option ที่อยู่ระดับเดียวกันกับกล่องเครื่องมือเท่านั้นเอง
เรามาปิดท้ายด้วยตารางที่จะบอกให้เพื่อนๆ ได้รู้ว่า อัตราความสำเร็จในการเพิ่มระดับแต่ละครั้งนั้นมันมีความเสี่ยงมากน้อยขนาดไหน
<กรอบสี่เหลี่ยมสีฟ้า> : จำนวนที่ตีเพิ่มได้ของเครื่องธรรมดา
<กรอบสี่เหลี่ยมสี ...> : จำนวน % ของการตีแต่ละครั้งของเคริ่องแบบ RP
|
ร่ายมาซะยาวเหยียดจนเนื้อที่เกือบไม่พอ ขอขอบพระคุณเพื่อนๆ ทุกคนที่อ่านมาจนถึงตรงนี้นะครับ เพราะผมเองก็รู้ดีว่าการอ่านอะไรนานๆ มันคงง่วงน่าดู =[]= ช่วงนี้ก็อย่าลืมพักผ่อนกันให้เต็มอิ่มนะครับ แล้วเจอกันครับ