Clair Obscur: Expedition 33 เกม JRPG แนว Turn-Based RPG น้ำดี จาก Sandfall Interactive และ Kepler Interactive ที่ ณ วินาทีนี้ ไม่ว่าจะทั้งในแง่ของคอนเซปต์ เนื้อเรื่อง งานภาพ และระบบเกมเพลย์ เรียกได้ว่าไม่ควรพลาดเลยทีเดียว และในวันนี้เราจะมาพูดถึงชื่อเกม “Clair Obscur” ซึ่งเป็นคำที่หลาย ๆ คนอาจจะสงสัยเหลือเกินว่ามันมีความหมายยังไงกันแน่นะ?
Clair Obscur: Expedition 33
คำว่า “Clair Obscur” อาจไม่ได้คุ้นหูนักสำหรับผู้เล่นหลายคนที่อยู่นอกวงการศิลปะ ซึ่งเมื่อแปลจากภาษาฝรั่งเศสจะได้เป็น “light dark” หรือ “Chiaroscuro” ที่เป็นทฤษฎีศิลปะอิตาลีนั่นเอง
ซึ่ง “Chiaroscuro” ในแง่ของทฤษฎีศิลปะอิตาลีนั้น สื่อถึงปฏิสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างการส่องสว่างและเงา ที่ถือเป็นหัวใจสำคัญของเอกลักษณ์ของเกม ไม่ว่าจะเป็นในด้านภาพ การเล่าเรื่อง และธีม
โดย Clair Obscur: Expedition 33 ได้รับการพัฒนาโดยทีมงาน Sandfall Interactive และได้ครองใจผู้เล่นทั่วโลกด้วยยอดขายกว่าหนึ่งล้านชุด แต่สิ่งที่ทำให้เกมนี้โดดเด่นกว่าเกมอื่น ๆ คือการนำหลักการทางศิลปะที่เก่าแก่หลายศตวรรษมาปรับใช้ในเกมที่ทันสมัยแต่ยังสามารถคงความเก่าแก่ไว้ได้
Clair Obscur: Expedition 33 ความสมดุลของแสงและเงา
แนวคิดเรื่อง Clair Obscur มีต้นกำเนิดมาจากศิลปะยุค Renaissance และ Baroque Art โดยศิลปินอย่าง Caravaggio และ Georges de La Tour ได้ใช้ความแตกต่าง High contrast ระหว่างแสงและเงาเพื่อกระตุ้นอารมณ์และดึงความสนใจ
และใน Clair Obscur: Expedition 33 แนวคิดนี้มีทั้งความหมายตามตัวอักษรและเชิงเปรียบเทียบ ซึ่งโลกใบนี้ของตัวเกมดำรงอยู่ท่ามกลางความตึงเครียดอย่างต่อเนื่องระหว่างชีวิตที่เลือนลางและการลบเลือนที่ใกล้เข้ามา ระหว่างความสดใสและความว่างเปล่า ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงทฤษฎีด้านศิลปะนี้นั่นเอง
ซึ่งไม่มีอะไรจะชัดเจนไปกว่าการออกแบบภูมิทัศน์ของเกม อย่าง สวนอันเขียวชอุ่มที่พังทลายลงเป็นซากปรักหักพังอันมืดมิดเมื่อผู้เล่นเล่นไปเรื่อย ๆ, ดอกไม้บานสะพรั่งในผืนดินภายใต้เงา แม้แต่ UI ในเกมก็ยังสะท้อนถึงขัดแย้งนี้ โดยสลับไปมาระหว่างจานสีอันสดใสและโอเวอร์เลย์โทน Inky
นอกจากนี้การออกแบบการต่อสู้ของ Clair Obscur ก็สะท้อนถึงแสงและเงาเช่นกัน การเผชิญหน้ากับศัตรูระดับพื้นฐานทำให้ผู้เล่นผ่อนคลายด้วยแอนิเมชั่นที่ลื่นไหลราวกับกำลังเต้นรำ จนกระทั่งได้เจอรองบอสใน Act 3 เข้ามาอย่างกะทันหัน
การต่อสู้ที่เป็นทางเลือกเหล่านี้จะทำให้ผู้เล่นตกอยู่ในความโกลาหล แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันจากแสงสว่างไปสู่ความมืดมิดอย่างแท้จริง การยกระดับความยากไม่ได้ขึ้นอยู่กับความยากเพียงอย่างเดียว แต่ยังขึ้นอยู่กับอารมณ์อีกด้วย
Clair Obscur นำทฤษฎีศิลปะฝรั่งเศสมาทำเป็นเกมได้อย่างไร
ต่างจากเกมส่วนใหญ่ที่เพียงแค่ “ยืม” สุนทรียศาสตร์มาใช้ แต่ Clair Obscur: Expedition 33 ได้นำเสนอแรงบันดาลใจของเกมอย่างเต็มที่ โดยมีฉากหลังเป็นยุค Belle Epoque (ประมาณช่วงระหว่างปี 1870 ถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1) ซึ่งเป็นยุคทองของการทดลองทางศิลปะและการสำรวจเชิงปรัชญาของฝรั่งเศส โดยที่แนว Impressionism, Symbolism และ Art Nouveau เป็นแนวที่รุ่งเรืองที่สุด
ใน Clair Obscur สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่ Background แต่ยังเป็นแนวทางในการสร้างเกมอีกด้วย ซึ่งผู้เล่นจะได้สังเกตเห็นได้จากรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ถ้วยกาแฟที่วางอยู่บนโต๊ะ และซากอาคารที่ถูกไฟไหม้
โดยตัวเกม Expedition 33 ได้ถ่ายทอดให้ผู้เล่นได้รู้สึกถึงการตระหนักรู้เรื่องความตายและการสืบทอดเจตจำนง / มรดก ซึ่งตัวละครที่ผู้เล่นพบเจอต่างก็ตระหนักถึงการสิ้นสุดชีวิตของตนที่ใกล้เข้ามา ซึ่งความตระหนักนี้ซึมซาบเข้าไปในทุกอนูของเกมเพลย์ โดยสิ่งที่ผู้เล่นกำลังทำจะไม่ได้เป็นเพียงแค่การช่วยโลกเท่านั้น แต่เป็นการที่ตัวละครที่เราเล่นกำลังพยายามรักษาสิทธิ์ในการจดจำและการดำรงอยู่เอาไว้ด้วย
ยิ่งไปกว่านั้น Clair Obscur ไม่ได้แยกส่วนของการบรรยายเนื้อเรื่องออกจากสุนทรียศาสตร์ Aesthetic อย่างสิ้นเชิง โดยในบางเวลาผู้เล่นจะได้ลงมือวาดเส้นทางข้างหน้าของทีมด้วยโทนสีตามอารมณ์ ความรู้สึก ของสมาชิกในทีม ณ ตอนนั้น ๆ และในอีกช่วงหนึ่งสีสันทั้งหมดนั้นอาจถูกชะล้างออกจนสิ้น เมื่อเข้าสู่หนึ่งในช่องว่างแห่งความทรงจำของ Paintress (Paintress’ memory voids) ซึ่งเป็นการที่ตัวเกมบังคับให้ผู้เล่นรับรู้ และรู้สึกถึงงานศิลปะ ไม่ใช่เพียงแค่มองเห็นมันเท่านั้น
การประสบความสำเร็จของ Clair Obscur
ความสำเร็จของ Clair Obscur: Expedition 33 ได้เป็นข้อพิสูจน์ที่ว่าวิดีโอเกมสามารถผสมผสานการแสดงออกทางศิลปะระดับสูง (high-level artistic expression) เข้ากับกลไกต่างๆ ของเกมได้อย่างลงตัว นี่คือเกมที่ผู้เล่นจะได้หลบหลีกการโจมตีจากศัตรูตามแบบฉบับเกมเพลย์แนว Action RPG และได้ยลเห็นผลกระทบที่ตามมาหลังการต่อสู้ได้ทันที (ผืนผ้าใบที่เบ่งบานออกมาจากศัตรูที่ถูกสังหาร ซึ่งเป็นสัญญะที่แสดงถึงการตายและการเกิดใหม่)
ซึ่งทาง Sandfall ไม่ได้หยิบนำธีมตามกระแสนิยมของตลาดมาพัฒนา Clair Obscur แต่กลับเน้นไปที่เรื่องเฉพาะทาง (วัฒนธรรมฝรั่งเศส ภาษาฝรั่งเศส และทฤษฎีศิลปะฝรั่งเศส) และถ่ายทอดออกมา โดยแสดงให้เห็นว่าตัวเกมไม่ได้ “เกี่ยวกับ” ศิลปะ แต่ตัวมันเองนั่นแหละคือ “ศิลปะ”
ทั้งนี้ในบางครั้งทางสตูดิโอต่าง ๆ อาจทำการแยก “สไตล์” ออกจาก “เนื้อหา” เวลาพัฒนาเกม เนื่องจากกลัวว่าในแง่ของศิลปะอาจมีการถูกลดทอน แต่กับ Clair Obscur ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า เมื่องานกำกับศิลป์ เรื่องราว และกลไกต่าง ๆ ถูกผสมผสานกันภายใต้มุมมองเชิงปรัชญาที่ชัดเจน ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นอะไรที่น่าจดจำอย่างแน่นอน…
สุดท้ายนี้เพื่อน ๆ สามารถหาบทความ/ไกด์เกมของ Clair Obscur: Expedition 33 อ่านได้ที่ online-station.net เลย!?
- รีวิวเกม Clair Obscur: Expedition 33
- Expedition 33 Tips
- Expedition 33 การอัป Attributes
- Expedition 33 การรีเซ็ต Attributes และ Skill Points
- Expedition 33 Status Effects
- Expedition 33 Best Teams Comp
- Expedition 33 Maelle Builds
- Expedition 33 Verso Builds
- Expedition 33 Sciel Builds
- Expedition 33 Gustave Builds
- Expedition 33 Lune Builds
- Expedition 33 Monoco Builds
- Expedition 33 Swimsuit Locations
แปลและเรียบเรียงจาก : gamerant.com
ติดตามข่าวเกมพีซี/คอนโซลอื่น ๆ ได้ที่ Online Station