สารานุ-Game ตอน 5 เหตุผลที่ทำให้คนไม่ชอบ Ubisoft

Ubisoft แม้จะมีผลงานเกมอันเป็นที่รักของเกมเมอร์หลาย ๆ กลุ่มอย่างซีรีส์ Assassin’s Creed, Rayman, Far Cry, Just Dance, และแน่นอน Splinter Cell แต่ดูเหมือนว่าช่วงกว่าทศวรรษล่าสุดนี้ Ubisoft จะตกเป็นตัวโดนที่ไม่ว่าขยับตัวทำอะไรหรือออกเกมใหม่ที่ดูน่าสนใจสักแค่ไหน เกมเมอร์ทุกหมู่เหล่าก็พร้อมที่จะกังขาว่ามันต้องมีอะไรให้ด่าได้แน่ ๆ อยู่เรื่อยไป วันนี้เราเลยจะมาหาสาเหตุกันว่า อะไรที่ทำให้ Ubisoft กลายเป็นเป้าโจมตีแบบนี้ไปได้กันใน…

Ubisoft

สารานุ-Game ตอน 5 เหตุผลที่ทำให้คนไม่ชอบ Ubisoft

หากถามว่าเรื่องไหนที่ทำให้ชื่อเสียงของ Ubisoft กลายเป็นชื่อเสียในหมู่ของคนเล่นเกมได้มากที่สุด เชื่อว่าหลายคนก็น่าจะนึกถึงเรื่องเดียวกัน ก็คือ… ใช่ครับ การ Downgrade และเกมที่เป็นหัวหอกในเรื่องนี้ก็คือ Watch_Dogs ภาคแรก ที่เปิดตัวในงาน E3 2012 ในฐานะ IP ใหม่ที่ซุ่มพัฒนากันมานานกว่าสองปี

ซึ่งคุณภาพของกราฟิกและบรรยากาศในเกมที่เราเห็นว่ารันแบบเรียลไทม์อยู่ในตอนนั้นมันล้ำยุคสมกับเป็นเกม Next Gen สำหรับเครื่อง PlayStation 4 และ Xbox One ตั้งแต่สภาพอากาศที่ส่งผลต่อสภาพแวดล้อมภายในเกม ไปจนถึงความหนาแน่นและพฤติกรรมของ NPC ที่จะแตกต่างไปตามการกระทำของผู้เล่น นี่คือสิ่งที่แปลกใหม่สำหรับวงการเกมในเวลานั้น

Ubisoft

แต่พอเกมออกวางจำหน่ายจริงในปี 2014 เรากลับพบว่า สิ่งที่ Ubisoft เคยโชว์เอาไว้เมื่อสองปีก่อนมันเป็นแค่การโฆษณาเกินจริงเท่านั้น และนี่ไม่ใช่แค่เกมเดียว เพราะ Tom Clancy’s The Division ภาคแรกก็ตกอยู่ในสถานการณ์ที่คล้าย ๆ กันคือ เปิดตัวมาดูดีและน่าเล่นจัด ๆ แต่พอของจริงออกมา แม้คุณภาพของเกมจะอยู่ในเกณฑ์ที่ดี แต่มันก็เข้าข่ายการโฆษณาเกินจริงอยู่ดี ทำให้หลังจากนั้น ถ้าเราเห็นว่าเกมไหนของ Ubisoft เปิดตัวมาได้น่าเล่นสุด ๆ ไม่ว่าจะด้วยกราฟิกหรือเกมเพลย์ ก็อย่าพรีออร์เดอร์จนกว่าจะได้เห็นตัวเกมเวอร์ชั่นสมบูรณ์เด็ดขาด

Ubisoft

ต่อไปก็เป็นอีกเรื่องที่พบเจอได้ในหลาย ๆ บริษัทใหญ่เหมือนอย่างใน Activision Blizzard ถึงแม้ข้อมูลที่ถูกเปิดเผยต่อสาธารณะอาจดูไม่รุนแรงเท่า แต่การปฏิบัติตัวที่ไม่เหมาะสมในที่ทำงาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดการที่ไม่เป็นทำ หรือการคุกคามทางเพศ ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้นไม่ว่าจะที่ไหนก็ตาม จากผลสำรวจในปี 2020 พบว่าพนักงานของ Ubisoft ราว 25% จากร่วม 20,000 คนทั่วโลก ตกเป็นผู้เสียหาย หรือได้พบเห็นการกระทำอันมิชอบรูปแบบต่าง ๆ ภายในบริษัท แถมยังมีการเปิดเผยด้วยว่า

Ubisoft

แม้จะมีการร้องเรียนภายในองค์กรมาแล้วหลายครั้ง แต่หลาย ๆ กรณีก็มักจะถูก HR หรือฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคลของบริษัทปัดตกไปอยู่ดี ข่าวนี้ทำให้ Ubisoft ต้องออกมากู้ชื่อเสียงขององค์กรครั้งใหญ่ ตั้งแต่ปลดผู้บริหารหรือฝ่ายปฏิบัติการที่มีตำแหน่งสูง ๆ หลายคนออกไปจากบริษัท ไปจนถึงพยายามนำเสนอความเป็นอยู่ภายในองค์กรว่าที่นี่เป็นมิตรกับพนักงานทุกคน

Ubisoft

เรื่องสุดท้ายที่ทำให้หลายคนรัก Ubisoft ไม่ลงก็คือ การขยันขาย Microtransaction หรือพยายามใส่ช่องทางในการจ่ายเงินเพิ่มให้กับผู้เล่นให้ได้มากที่สุด จริงอยู่ที่ของขายเหล่านี้อย่างเช่นค่าเงินภายในเกมหรือตั๋วคูณ EXP จะเป็นแค่ทางเลือก ไม่ต้องซื้อก็เล่นได้ ไม่ต้องซื้อก็เคลียร์เกมได้ แต่บางครั้งมันก็ทำให้เกิดข้อกังขาด้านการออกแบบเกมว่า ทีมพัฒนาจงใจทำให้พื้นฐานของเกมมันเรียกร้องให้ผู้เล่นต้องจ่ายเงินทางอ้อมหรือเปล่า เช่น ผู้เล่นบางส่วนมองว่า การเก็บเลเวลใน Assassin’s Creed Valhalla มันช้ามากเมื่อเทียบกับภาคก่อน ๆ แล้วเควสต์รูปแบบเดิม ๆ ซ้ำไปซ้ำมาก็ถูกยัดเข้ามาเพื่อการนี้

Ubisoft

ทั้ง ๆ ที่หลายฝ่ายเริ่มติงเรื่องนี้มาตั้งแต่ภาคก่อนหน้าอย่าง Odyssey และ Ubisoft เองก็เคยออกมาบอกว่ารับทราบถึงปัญหานั้นแล้ว แต่พอ Valhalla ออกมา เราก็ยังเจอกับลูปของเกมเพลย์ที่เป็นปัญหาอยู่เช่นเดิม แถมหนักกว่าเดิมด้วย ไหนจะโครงการ Ubisoft Quartz ที่ทดลองเอาระบบ NFT มาทำเป็นไอเทมสำหรับแต่งตัวใน Ghost Recon Breakpoint อีก ที่เทรลเลอร์เปิดตัวถูกต่อต้านอย่างหนักจน Ubisoft ต้องถอดออกไปจากช่อง (ติดตามรายละเอีดเพิ่มเติมได้จากคลิปด้านบนได้เลยครับ)

Ubisoft

อ้างอิงข้อมูลจาก
Online Station

รูปภาพหน้าปกจาก
https://news.xbox.com


ติดตามข่าวเกมพีซี/คอนโซลอื่น ๆ ได้ที่ Online Station

คำที่เกี่ยวข้อง

สมัครรับข่าว OS

คุณอาจสนใจเรื่องนี้