JOHN: ไม่ว่าจะมองมุมไหน Need for Speed: Undercover เป็นเหมือนชุด “รวมฮิต” ของความคิดและแนวคิดทั้งหลายที่เราได้พบเห็นมาตั้งแต่เปลี่ยนชื่อเป็น Underground มันยกขบวนรถมาจากภาค Carbon และการถูกตำรวจไล่ล่ามาจาก Most Wanted ดูเผินๆ แล้วมันใช่เลยล่ะ
ตามโครงสร้างของตัวเกมแล้ว มีหลายๆ อย่างคล้ายกับภาค Most Wanted ในขณะที่เมือง Palm Harbor จะให้อิสระคุณในการท่องเที่ยวไปรอบๆ เพื่อไล่ล่าหาอะไรทำ คุณสามารถเลือกการแข่งจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งได้ตลอดโดยไม่ต้องซิ่งหาไปเรื่อยๆ ให้เสียเวลา
สิ่งใหม่ที่ปรากฏให้เห็นเป็นครั้งแรกของเกมตระกูลนี้เลยคือระบบ “เลเวล” ซึ่งได้รับอิทธิพลจากเกมอาร์พีจีอย่างแรง (จาก World of WarCraft ด้วย) เมื่อคุณทำ “ภารกิจต่างๆ” ลุล่วงจะสามารถนำสถิติที่ได้รับมาเพิ่มเลเวลทักษะในการขับขี่ได้ ยิ่งเลเวลคุณสูงเท่าไรจะยิ่งสามารถใช้รถได้หลากหลายและเข้าสู่การปรับแต่งรถได้มากขึ้นตามไปด้วย เพราะถึงคุณจะมีเงินในเกมมากพอจะซื้อ GT-R ได้ แต่เลเวลยังไม่ถึง คุณก็ยังซื้อมันไม่ได้อยู่ดี เห็นมั้ยว่า Need for Speed ไม่ได้เสริมแค่การไต่เต้าเข้ามาเท่านั้น แต่ยังมี “กลโกง” เล็กๆ แทรกเข้ามาด้วย
ทั้งหมดนี้อาจฟังดูเหมือนสิ่งที่จะเป็นอาชญากรรมครั้งใหญ่ที่สุดของ Undercover ที่ขัดกับความสนุกสนาน แต่กับอาชญากรตัวจริงแล้ว ใครที่เล่น Most Wanted แบบห้าวๆ จนโดนตีตราไว้ใน “แบล็กลิสต์” จะรู้ได้ว่าการไล่ล่าของบรรดาตำรวจจะเข้มงวดขึ้นเล็กน้อยในช่วงท้ายๆ แต่กับ Undercover แล้วจะยิ่งร้ายกาจกว่าอีก แม้ว่าอะไรๆ จะดูง่ายดายไปหมดในตอนออกสตาร์ท แต่ทั้งคู่แข่งคันอื่นๆ และตำรวจ A.I. จะดุดันขึ้นเมื่อคุณได้ระดับนักซิ่งที่เลเวล 5 จากจุดนี้เองทำให้ทุกขั้นทุกตอนของเกมนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
ด้วยเพราะเป็นการผสมกันของ Carbon และ Most Wanted ถือว่า Undercover ประสบความสำเร็จพอตัว แต่ถ้าเปรียบกับฝั่งของ Burnout: Paradise แล้ว เกิดคำถามขึ้นมาทันทีว่า “เกมนี้ให้อะไรที่ผมไม่ได้จาก Paradise บ้าง?” คำตอบก็คือ “ฝูงตำรวจกับฝูงโจร” ไง
XB360 (รวมถึง PS3)
NEED FOR SPEED: UNDERCOVER
■ ผู้จัดจำหน่าย: EA Games ■ ผู้พัฒนา: EA Black Box ■ จำนวนผู้เล่น: 1-8 คน ■ ESRB: 13 ปีขึ้นไป
JOHN
B
ดี
ข้อดี: ภาพสวย, เข้าถึง “อารมณ์” Need for Speed
ข้อเสีย: ค่อยๆ แข่งไต่ระดับงั้นเหรอ? ไม่ล่ะ ขอบคุณ
ความยากในเกม: พวกตำรวจ A.I. เป็นบ้ากันไปแล้ว