ผลงานใหม่จากมาร์เวล สูดิโอส์ “Thor: Ragnarok – ศึกอวสานเทพเจ้า” คือการผจญภัยครั้งใหม่สุดเร้าใจของเทพเจ้าสายฟ้าในโลกภาพยนตร์มาร์เวล ที่เต็มไปด้วยแอ็คชั่น อารมณ์ขัน ดรามาและภาพน่าตื่นตาตื่นใจ ในภาคนี้ ธอร์ถูกคุมขังในอีกฟากหนึ่งของจักรวาล โดยปราศจากค้อนทรงอิทธิฤทธิ์ของเขา และเขาก็ต้องเร่งรีบแข่งกับเวลากลับไปแอสการ์ดเพื่อหยุดยั้งแร็คนาร็อก - การทำลายล้างบ้านเกิดของเขาและจุดจบของอารยธรรมแอสการ์ด - ด้วยเงื้อมือของ "เฮล่า" วายร้ายที่แสนร้ายกาจ ไร้ความปรานี แต่ก่อนอื่น... เขาจะต้องเอาชีวิตรอดจากการประลองกลาดิเอเตอร์กับ ฮัลค์ จอมพลัง อดีตมิตรและเพื่อนจากกลุ่มอเวนเจอร์ของเขา ให้ได้เสียก่อน!!!!
และนี่คือเกร็ดเล็ก เกร็ดน้อย ที่จะทำให้คุณดู “Thor: Ragnarok – ศึกอวสานเทพเจ้า” ได้สนุกมากยิ่งขึ้น...
- แร็คนาร็อก แปลว่า “อวสานของจักรวาล” ในเทพปกรณัมของชาวนอร์ส ดังนั้นมันก็ไม่ผิดที่จะสันนิษฐานว่า ฉากแอ็คชั่นลุ้นระทึกแบบนั่งไม่ติดเบาะกำลังจะมาสู่ผู้ชมอย่างแน่นอน
- ผุ้กำกับ ไทก้า ไวทีติ ไม่เพียงแค่ทำหน้าที่กำกับเท่านั้น เขายังรับบทตัวละครคอมพิวเตอร์กราฟฟิคตัวใหม่ในจักรวาลภาพยนตร์มาร์เวลที่มีชื่อว่า คอร์ก (ถูกแนะนำครั้งแรกในหนังสือการ์ตูนของมาร์เวลในปี1962) ไวทีติมีชื่อเสียงในเรื่องไม่ใช่แค่การกำกับ แต่เขายังจะแสดงในหนังของเขาเองด้วย
- ในตอนที่เขาต้องรับ 2 หน้าที่ ทั้งผู้กำกับและต้องแสดงเป็นตัวละคร คอร์ก ต่อหน้ากล้อง ไวทีติถูกทีมเทคนิคพิเศษขอให้สวมชุดรัดรูปสีเทาสำหรับโมชั่นแคปเจอร์ที่มีปุ่มขนาดเท่าลูกปิงปองติดอยู่ทั่วตัว เพื่อใช้ในการติดตามในช่วงหลังจากการถ่ายทำเพื่อให้นักแอนิเมเตอร์เทคนิคพิเศษสร้างตัวละครคอมพิเตอร์กราฟฟิคในคอมพิวเตอร์ มันจะดูแปลกๆหน่อยสำหรับทุกคนในกองถ่ายที่เห็นเขากำกับหนังในชุดนั้น
- ตัวละครจากมาร์เวล คอมิคส์ที่จะเข้ามาสู่จักรวาลภาพยนตร์มาร์เวลใน “ธอร์: แร็คนาร็อก – ศึกอวสานเทพเจ้า” รวมถึงตัวร้ายอย่างเฮล่า (เคท บลันเชตต์) เปิดตัวครั้งแรกในมาร์เวล คอมิคส์ ปี 1964; วัลคีรี นักรบฝีมือฉกาจ (เทสซ่า ธอมป์สัน) เปิดตัวในหน้าคอมิคในปี 1971; สเกิร์จ จอมโหด (คาร์ล เออร์บัน) ปี 1964; และแกรนด์มาสเตอร์ ผู้นำชาวซาคาร์ (เจฟฟ์ โกลด์บลูม) ปรากฎตัวครั้งแรกในมาร์เวล คอมิคส์ ในปี 1969
- ตัวละครเฮล่า ของเคท บลันเชตต์ หนึ่งในศัตรูตัวฉกาจจากคอมิคส์ คือตัวร้ายหลักตัวแรกที่เป็นผู้หญิง ในภาพยนตร์ของมาร์เวล สตูดิโอส์ที่ทำออกมาจนถึงวันนี้
- นี่คือภาพยนตร์เรื่องแรกในจักรวาลภาพยนตร์มาร์เวลที่ถ่ายทำไม่เพียงแค่ในออสเตรเลีย แต่ยังถ่ายทำในซีกโลกใต้ทั้งหมดอีกด้วย
- วิลเลจ โรดโชว์ สตูดิโอส์ มีโรงถ่าย 9 โรง และ "ธอร์: แร็คนาร็อก" ใช้โรงถ่ายทั้ง 9 โรง ทั้งสำหรับการถ่ายทำและการก่อสร้าง โรงถ่ายที่ 9 คือโรงถ่ายที่ใหญ่ที่สุดในซีกโลกใต้ เพิ่งสร้างเสร็จไม่กี่สัปดาห์ ก่อนที่มาร์เวล สตูดิโอส์ ย้ายไปสู่วิลเลจ โรดโชว์ สำหรับหารเตรียมงานสร้าง “ธอร์: แร็คนาร็อก”
- โลกของซาคาร์ในเรื่อง คือสิ่งที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในภาพยนตร์เรื่องไหนของมาร์เวล สตูดิโอส์ การออกแบบได้รับแรงบันดาลใจมาจากภาพวาดในหนังสือคอมิคส์โดย แจ็ค เคอร์บี้ ผู้ที่ร่วมสร้าง “ธอร์” (กับ สแตน ลี) ในปี 1962 ซาคาร์คือโลกที่ปกครองโดยตัวละครจอมเผด็จการของเจฟฟ์ โกลด์บลูม – แกรนด์มาสเตอร์
- ฉากเมืองจำลอง 2 ฉากที่วิลเลจ โรดโชว์ สตูดิโอส์ (ลานของเมืองแอสการ์ด และ ซาคาร์) มีขนาดเท่ากับสนามอเมริกันฟุตบอล 2 สนามรวมกัน ใช้เวลาในการสร้าง 4 เดือนด้วยจำนวนทีมงานมากที่สุด 450 คน
- นักออกแบบงานสร้างรางวัลออสการ์ แดน เฮนนาห์ (“ลอร์ด ออฟ เดอะ ริงส์,” “เดอะ ฮอบบิท” ไตรภาค) และนักออกแบบงานสร้าง รา วินเซนท์ (“วอท วี ดู อิน เดอะ ชาโดวส์”) ออกแบบมากกว่า 24 ฉาก (ทั้งในโรงถ่ายและโครงสร้างภายนอก) สำหรับการถ่ายทำ 17 สัปดาห์
- นักออกแบบเครื่องแต่งกาย เมเยส รูบีโอ (“อวาทาร์,” “วอร์คราฟท์,” “เดอะ เกรท วอลล์”) สร้างชุดกว่า 2,500 ชุดสำหรับหนังเรื่องนี้ (สำหรับโลกของแอสการ์ด และ ซาคาร์) โดยใช้วัสดุทั้งหมดจากออสเตรเลีย
- ตลอดการถ่ายทำทั้ง 4 ในบริสเบน ออสเตรเลีย ทั้งคริส เฮมสเวิร์ธ และ ทอม ฮิลเดิลสตัน ใช้ทุกช่วงพักของการถ่ายทำเพื่อทักทายแฟนๆโดยการจับมือ โยนของขวัญ (โปสเตอร์, แว่นตากันแดด, เสื้อยืด จาก “ธอร์: แร็คนาร็อกไปยังกลุ่มแฟน, แจกลายเซ็น และใช้มือถือของแฟนๆ ถ่ายเซลฟี่ให้กับทุกเพศทุกวัย) เพราะวันแล้ววันเล่า ถึงฝนจะตกแดดจะออก พวกเขาก็อดทนรอนานหลายชั่วโมง เพื่อที่จะได้เห็นดาราทั้งคู่อย่างใกล้ชิดแม้เพียงแค่นิดเดียว
- ในวันที่เคท บลันเชตต์เข้ามาถ่ายทำ ก่อนที่จะเดินกล้องครั้งแรก เคทมักจะเป็นผู้นำทีมงานในการออกกำลังกายสั้นๆ เพื่อที่จะเริ่มวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ระหว่างในช่วงเช้า ก่อนที่ทีมงานจะมาถึง จิงโจ้ป่าจะถูกพบเห็นอยู่บ่อยๆในฉากเมืองจำลองใกล้ๆฉากด้านนอกของแอสการ์ดและซาคาร์
- ในวันแรกของการเปิดกล้อง ชาวเผ่าเมารีท้องถิ่นได้ทำการเต้นอวยพรทีมงานเพื่อการถ่ายทำที่ราบรื่น 84 วันหลังจากการถ่ายทำสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ชาวเผ่าได้กลับมาอีกครั้งและได้ทำการเฉลิมฉลองการปิดกล้องอย่างสวยงาม เพื่อเป็นสุดยอดประสบการณ์อันน่าทึ่งในการมาถ่ายทำภาพยนตร์ในดินแดนพื้นเมืองในออสเตรเลีย
“Thor: Ragnarok – ศึกอวสานเทพเจ้า”
2 พฤศจิกายน ในโรงภาพยนตร์
ที่มา : http://script.today/script2/