รายการวิทยุอาร์เจนตินาโวย! อนิเมะเป็นสื่อจากจีนที่ส่งเสริมความรุนแรง

แชร์เรื่องนี้:
รายการวิทยุอาร์เจนตินาโวย! อนิเมะเป็นสื่อจากจีนที่ส่งเสริมความรุนแรง

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเราคงได้เห็นผู้ใหญ่และสื่อที่หยิบยกเกมหรืออนิเมะมาปั้นให้เป็นจำเลยสังคม กล่าวโทษว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เยาวชนเสียผู้เสียคน ซึ่งวันนี้เราจะพาไปชมตัวอย่างหนึ่งของกรณีนี้ ที่พยายามตำหนิอนิเมะอย่างรุนแรงว่า "ส่งเสริมความรุนแรง" แต่กลับกลายเป็นที่ขำขันของชาวเน็ต เนื่องจากไม่ได้ศึกษาหาข้อมูลมาให้ดีก่อน!

โดยผู้ที่กล่าวโทษนั้นเป็นหนึ่งในผู้จัดรายการวิทยุเจ้าหนึ่งของประเทศอาร์เจนตินา เขาวิพากย์วิจารณ์ว่าอนิเมะเรื่องนารูโตะ นินจาคาถาโอ้โฮเฮะนั้นเป็น "การ์ตูนจากประเทศจีน" ที่แปลกประหลาด เพราะมีจุดขายคือการเข่นฆ่าและการหลั่งเลือด บอกว่าเห็นหลานชายนั่งดูอยู่แล้วไม่อยากจะเชื่อเลย มีแต่เลือดกับการฆ่าฟันกันทั้งนั้น บ้าบอสุด ๆ

อนิเมะ

ทั้งนี้พอมีคนถามว่านารูโตะเป็นใคร เขากลับตอบอย่างขอไปทีว่าไม่รู้หรอกว่านารูโตะเป็นใคร น่าจะเป็นตัวละครจากเรื่องดราก้อนบอล และยังบอกอีกด้วยว่ามีตัวละครอีกตัวที่ชื่ออิทาจิ ซึ่งลูกชายเขาเอาไปตั้งเป็นชื่อลูกหมาที่รับเลี้ยงหมา ซึ่งเขาก็ถามลูกอย่างงง ๆ ว่ามันชื่อยี่ห้อทีวีรึเปล่า ก่อนลูกชายจะบอกว่ามันเป็นชื่อตัวละครต่างหาก ทำให้เขาปักใจเชื่อว่านี่มันต้องเป็นสารซ่อนเร้น (Subliminal Message) ให้จดจำชื่อแบรนด์จีนแน่ ๆ เพราะอิทาจิมันก็เหมือนกับคาวาซากิน่ะแหละ (อาจจะเข้าใจผิดเพราะว่าอิทาจินั้นฟังดูคล้าย ๆ ชื่อแบรนด์ฮิตาชิ) และเนื่องจากไม่มีใครที่รู้ข้อมูลแบบถ่องแท้ จึงทำให้ทั้งสามคนออกความเห็น และเชื่อกันเองแบบผิด ๆ โดยไม่มีใครโต้แย้งเลย

หลังจากที่เผยแพร่ไป ก็มีหลายคนวิพากย์วิจารณ์ความสะเพร่าในการทำหน้าที่สื่อของรายการนี้กันอย่างมากมาย โดยเฉพาะการมองแบบเหมารวม ไม่รู้จริง จนเข้าใจผิดว่าอนิเมะเป็นสื่อจีนนั้นเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงสติปัญญาของสื่อนี้ ขณะเดียวกันก็วิจารณ์ด้วยว่าการที่คนจะพูดอะไรก็ได้แบบพล่อย ๆ บนสื่อที่เข้าถึงคนหมู่มากนั้นเป็นอันตรายมาก โดยเฉพาะถ้าผู้ฟังหลงเชื่อ

ก็ต้องยอมรับอนิเมะและความรุนแรงนั้นเป็นประเด็นที่ยังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างไม่รู้จบจนถึงทุกวันนี้ ยิ่งปัจจุบันได้รับความนิยมมาก ก็ยิ่งตกเป็นเป้าหมายได้ง่าย ทำให้คนบางกลุ่มที่ขาดความเข้าใจหรือหวังผลบางอย่างนำไปโจมตีในฐานะจำเลยของสังคม

อนิเมะ

เราหวังว่าคนส่วนใหญ่นั้นจะรู้เท่าทันและไม่หลงเชื่ออย่างผิด ๆ โดยเฉพาะเมื่ออนิเมะนั้นก็เหมือนกับสื่ออื่น ๆ ที่บางส่วนมีความรุนแรงหรือความไม่เหมาะสมเช่นเดียวกัน อยู่ที่ว่าผู้ชมและผู้ปกครองนั้นจะให้ความรู้ความเข้าใจได้อย่างเหมาะสมหรือไม่ หรือจะคิดหาทางออกแบบง่าย ๆ ด้วยการโยนความผิดให้ทั้งหมดเช่นเดียวกับกรณีนี้

แปลและเรียบเรียงจาก
Crazy for Anime Trivia


ติดตามดูอนิเมะถูกลิขสิทธิ์ ได้ที่นี่ Online Station

แชร์เรื่องนี้:

เรื่องที่คุณอาจสนใจ