สวัสดีจ้า พบกันอีกครั้งกับ ภาษาญี่ปุ่น by PuruZ ในครั้งนี้ผมก็จะมาสอนการผันกริยาให้เป็นรูปธรรมดากับเพื่อนๆ ครับ การผันกริยาเป็นรูปธรรมดาจำเป็นอย่างไร สำคัญแค่ไหนเราไปเรียนรู้กันเลยครับ
ในบทที่แล้วที่ได้แนะนำคำกริยาเบื้องต้นไป สังเกตว่าทั้งหมดจะลงท้ายด้วย ます หมายความว่ากริยาเหล่านั้นเป็นคำกริยาในรูปสุภาพ ซึ่งมักจะใช้กับคนที่ไม่รู้จัก หรือไม่ค่อยสนิทสนม แต่ว่าบทสนทนาในเกม, ละคร หรือว่า อนิเมะ มักจะใช้ในรูปแบบธรรมดา เนื่องจากว่าตัวละครแต่ละตัวนั้นจะรู้จักกันเองดีอยู่แล้ว จะได้คลายข้อสงสัยกันซักทีว่าคำว่า わかりました (wakarimashita) ทำถึงใช้คำว่า わかった (wakatta) แทนมากกว่า
คำกริยาของภาษาญี่ปุ่นนั้น จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน ซึ่งแต่ละประเภทก็จะผันไม่เหมือนกัน มีด้วยกันดังต่อไปนี้
กลุ่มที่ 1
คำกริยาในภาษาญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มที่ 1 วิธีสังเกตคือพยางค์ก่อน ます นั้นจะไม่อยู่วรรคเสียง え คำกริยาประเภทที่ 1 เป็นประเภทที่ผันยากกว่ากว่าเภทอื่น ซึ่งมีวิธีดังนี้
1.รูปธรรมดา (ปัจจุบัน) ให้ตัด ます และเปลี่ยนตัวที่อยู่ข้างหน้า ます ให้เป็นเสียง う
ตัวอย่าง เช่น わかります เป็น わかる , かきます เป็น かく
2. รูปธรรมดา (ปฏิเสธ) ให้ตัด ます และเปลี่ยนตัวที่อยู่ข้างหน้า ます ให้เป็นเสียง あ แล้วเติม ない ลงไป
ตัวอย่าง เช่น わかります เป็น わからない , かきます เป็น かかない
3. รูปธรรมดา (อดีต) รูปแบบนี้จะเป็นรูปแบบที่ยุ่งยากที่สุด โดยจะมีวิธีผันดังนี้
- ถ้าตัวที่อยู่ข้างหน้า ます เป็นตัว い、ち、り ให้ตัดทิ้งไปพร้อมกับ ますแล้วเติม っ แล้วตามด้วย た ตัวอย่างเช่น わかります เป็น わかった
- ถ้าตัวที่อยู่ข้างหน้า ます เป็นตัว び、み、に ให้ตัดทิ้งไปพร้อมกับ ますแล้วเติม ん แล้วตามด้วย だ ตัวอย่างเช่น よみます เป็น よんだ
- ถ้าตัวที่อยู่ข้างหน้า ます เป็นตัว き ให้ตัดทิ้งไปพร้อมกับ ますแล้วเติม い แล้วตามด้วย た ตัวอย่างเช่น かきます เป็น かいた
- ถ้าตัวที่อยู่ข้างหน้า ます เป็นตัว ぎ ให้ตัดทิ้งไปพร้อมกับ ますแล้วเติม い แล้วตามด้วย だ ตัวอย่างเช่น およぎます เป็น およいだ
- ถ้าตัวที่อยู่ข้างหน้า ます เป็นตัว し ให้ให้ตัด ます แล้วเติม た เช่น はなします เป็น はなした
4. รูปธรรมดา (ปฏิเสธอดีต) เหมือนกับข้อที่ 2 แต่เปลี่ยนจาก ない เป็น なかった ตัวอย่างเช่น わかります เป็น わからなかった
กลุ่มที่ 2
คำกริยาในกลุ่มที่ 2 มีวิธีสังเกตง่ายๆ คือ พยางค์ก่อน ます นั้นจะอยู่วรรคเสียง え ซึ่งมีวิธีดังนี้
1.รูปธรรมดา (ปัจจุบัน) ให้ตัด ます แล้วเติม る เช่น たべます เป็น たべる つかれます เป็น つかれる
2. รูปธรรมดา (ปฏิเสธ) ให้ตัด ます แล้วเติม ない เช่น たべます เป็น たべない つかれます เป็น つかれない
3. รูปธรรมดา (อดีต) ให้ตัด ます แล้วเติม た เช่น たべます เป็น たべた つかれます เป็น つかれた
3. รูปธรรมดา (ปฏิเสธอดีต) ให้ตัด ます แล้วเติม なかった เช่น たべます เป็น たべなかった つかれます เป็น つかれなかった
สำหรับกลุ่มที่ 3 、คำยกเว้นต่างๆ รวมถึงการผันเป็นรูป て นั้น จะมาต่อกันคราวหน้านะครับ เดี๋ยวจะสับสนกัน อิอิ อาจจะยากซักนิด แต่ไม่น่าเกินความสามารถเพื่อนๆ แน่นอน แล้วพบกันใหม่ในสัปดาห์หน้านะครับ สวัสดีครับ
ภาษาญี่ปุ่น by PuruZ บท 6 : การผันกริยาเบื้องต้น part 1
แชร์เรื่องนี้:
แชร์เรื่องนี้:
About the Author