หลังจากที่ปล่อยเรื่องสบายๆ ไว้ใน OS Coener แล้ว วันนี้มาอัพเดตเพิ่มเติมสาระกันดีกว่า กับเรื่องที่ตรงกับชื่อเรื่องเลย นั่นก็คือ "เห็นตัวเลขเป็นสี ฟังดนตรีรู้สึกหวาน" ใครมีอาการหรือมีคนรู้จักเป็นแบบนี้ มาดูกันว่า มันคืออะไรกันแน่???
อาการดังกล่าวเรียกกันว่า ซินเนสทีเซีย (synesthesia หรือ synaesthesia) ซึ่งมาจากภาษากรีกที่ว่า syn (ร่วม) + aisthesis (การรับรู้) หมายความว่า ประสาทสัมผัสตั้งแต่ 2 อย่างขึ้นไป รับรู้พร้อมกันนั่นเอง ไม่ได้เรียกว่าเป็นอาการป่วยโดยตรง แต่เรียกกันว่าเป็น "ลักษณะพิเศษ" หรือเรียกว่า "อาการ" เท่านั้น โดยผู้มีอาการนี้จะ การทำงานของสมองที่ เชื่อมต่อกันผิดพลาดของ ส่วนที่รับรู้ รสชาติ กลิ่น เสียงทำให้ เวลาได้ยินจึงเห็นเป็นสี เวลาสัมผัสแล้วเห็นเป็นรูปสี่ต่างๆ เวลาเห็นแล้วนึกถึงเป็นรสชาติต่างๆ โดยอาการที่พบบ่อยที่สุดคือ เห็นตัวเลขหรือตัวอักษรเป็นสี (colored letters and numbers) และได้ยินเสียงเป็นสี (colored hearing) โดยความรู้สึกหรือการรับรู้แบบนี้จะคงเส้นคงวา กล่าวคือ หากชายหนึ่งเห็นตัวอักษร A เป็นสีชมพู เขาก็จะเห็นตัว A เป็นสีชมพูไปชั่วชีวิต แต่ คนที่เป็นซินเนสทีเซียอีกคน อาจจะเถียงว่า ตัว A เป็นสีฟ้า (หรือสีอื่น) ต่างหาก และคนๆ นั้นก็จะเห็นเป็นสีฟ้าไปชั่วชีวิตเช่นกัน
จากภาพเดียวกัน
ภาพทางซ้ายเป็นภาพที่คนปกติเห็น
ภาพทางขวาจะเป็นภาพที่กลุ่มที่มีอาการ synesthesia เห็น
คนที่มีประสบการณ์พิเศษเช่นนี้มักจะไม่บอกใคร เพราะเมื่อครั้งที่ยังเป็นเด็ก แล้วพูดกับเพื่อนๆ หรือคนรอบข้างว่า “เสียงเพลงๆ นี้ สีสวยดีเนอะ” หรือ “ไอ้ขนมนี้ รสชาติมันเหลี่ยมๆ คมๆ” ก็ย่อมจะทำให้เพื่อนๆ หรือคนรอบข้างมองว่าเป็นตัวประหลาด แต่หากพูดออกไปตอนโต ก็จะทำให้คนฟังเข้าใจผิดคิดว่า คนพูดติดยาเสพติด (เช่น ยาอี) ก็เป็นได้ (กรณีหลังนี้เคยเกิดขึ้นแล้ว)
ซินเนสทีเซียสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ เช่น ในกรณีของนักเขียนชาวรัสเซียคนหนึ่งชื่อ วลาดีมีร์ นาโบคอฟ (Vladimir Nabokov) นั้น ตอนเด็กๆ เคยบ่นกับคุณแม่ของเขาว่า ใครกันนะทำตัว A มาผิดสี เพราะตัว A ในความคิดของเขานั้นต้องเป็นสีน้ำเงิน ไม่ใช่สีแดง ฝ่ายคุณแม่ของเด็กน้อย เมื่อได้ยินเช่นนั้น แทนที่จะว่าลูกเพี้ยน เธอกลับเข้าใจเป็นอย่างดี เพราะเธอเองก็เป็นซินเนสทีเซียเช่นเดียวกัน ต่อมาเมื่อวลาดีมีร์ นาโบคอฟ มีลูกชาย ก็พบว่าลูกชายก็เป็นอีก เรียกว่าครอบครัวนี้มีประสบการณ์พิเศษเรียงติดกันถึง 3 รุ่น!
นายแพทย์ริชาร์ด อี ไซโทวิค (Richard E. Cytowic, MD) ผู้เชี่ยวชาญเรื่องซินเนสทีเซีย และผู้แต่งหนังสือ ‘The Man Who Tasted Shapes’ (‘ชายผู้ลิ้มรสเป็นรูปร่าง’) ประมาณไว้ว่า โอกาสที่จะพบคนเป็นซินเนสทีเซียมีประมาณ 1 คน ใน 25,000 คน โดยสำหรับคนอเมริกัน พบว่าโอกาสที่จะพบในผู้หญิงมีมากกว่าผู้ชายราว 3:1 ในขณะที่ทางสหราชอาณาจักร มีนักวิจัยท่านอื่นได้ประมาณไว้สูงกว่านี้คือ 8:1 กล่าวโดยสรุป ผู้หญิงก็มีโอกาสเป็นมากกว่าผู้ชายหลายเท่า
นายแพทย์ริชาร์ด อี ไซโทวิค
หนังสือ ‘The Man Who Tasted Shapes’ (‘ชายผู้ลิ้มรสเป็นรูปร่าง’)
ริชาร์ด ไฟยน์แมน นักวิทยาศาสตร์ ผู้เห็นสีสันในสมการฟิสิกส์!
ปรากฏการณ์ซินเนสทีเซียบางลักษณะนั้นสุดแสนเหลือเชื่อ กล่าวคือ
คนบางคนมองเห็นแนวคิดเชิงนามธรรมบางอย่างมีรูปร่าง (หรือโครงสร้าง) ได้ เช่น เห็นเดือนทั้ง 12 เดือน ใน 1 ปี เหมือนกับตู้ที่นั่งของชิงช้าสวรรค์ โดยมีเดือนธันวาคมอยู่ด้านล่าง และเดือนกรกฎาคมอยู่ด้านบน บางคนก็อาจจะเห็นกระบวนการคำนวณทางคณิตศาสตร์ (math operation) เป็นรูปเป็นร่างได้ ลักษณะพิเศษเช่นนี้ นักจิตวิทยาตั้งชื่อว่า ซินเนสทีเซียเชิงแนวคิดรวบยอด (conceptual synesthesia)
รูปแบบต่าง ๆ ของ ปรากฏการณ์ ซินเนสทีเซีย
ดร. ฌอน แด นักวิจัย ชาวฝรั่งเศส ได้สรุปรูปแบบของซินเนสทีเซียไว้ทั้งสิ้น 16 แบบด้วยกันจากทั้งหมด 175 กรณีดังนี้
ตัวเลขและตัวหนังสือทำให้เห็นสี จำนวน 121 สัดส่วนร้อยละ 69
หน่วยของเวลาทำให้เห็นสี จำนวน 42 สัดส่วนร้อยละ 24
เสียงพูดทำให้ เห็นสี จำนวน24 สัดส่วนร้อยละ 14
เสียงทั่ว ๆ ไปทำให้เห็นสี จำนวน23 สัดส่วนร้อยละ 13
เสียงดนตรีทำให้เห็นสี จำนวน21 สัดส่วนร้อยละ 12
เสียง โน๊ตเพลงทำให้เห็นสี จำนวน16 สัดส่วนร้อยละ 9
ความรู้สึกเจ็บปวดทำให้ เห็นสี จำนวน6 สัดส่วนร้อยละ 3.4
กลิ่นทำให้เห็นสี จำนวน5 สัดส่วนร้อยละ 3
บุคลิกลักษณะของคนทำให้เห็นสี จำนวน5 สัดส่วนร้อยละ 3
รส ชาด ทำให้เห็นสี จำนวน 5 สัดส่วนร้อยละ 3
เสียงทำให้รุ้รสชาต จำนวน3 สัดส่วนร้อยละ 2
เสียงทำให้รู้สึกสัมผัส จำนวน3 สัดส่วนร้อยละ 2
ภาพ ทำให้รุ้รสชาด จำนวน3 สัดส่วนร้อยละ 2
สัมผัสทำให้รู้รสชาด จำนวน2 สัดส่วนร้อยละ 1
เสียงทำให้ได้กลิ่น จำนวน 1 สัดส่วนร้อยละ 0.6
อุณห ภุมิทำให้เห็นสี จำนวน1 สัดส่วนร้อยละ 0.6
รสชาดทำให้รุ้สึกสำผัส จำนวน1 สัดส่วนร้อยละ 0.6
สัมผัสทำให้ได้กลิ่น จำนวน1 สัดส่วนร้อยละ 0.6
ภาพทำให้รู้สึกสัมผัส จำนวน 1 สัดส่วนร้อยละ 0.6
จากการศึกษาพบว่า คนที่เป็นซินเนสทีเซียมักจะถนัดซ้าย และมีความจำดีกว่าคนส่วนใหญ่โดยเฉลี่ย เช่น ในกรณีของเลขบัตรเครดิตยาวๆ ก็จำง่ายเพราะเห็นเป็นสีสันต่างๆ เรียงกันไป แต่ในจุดดี ก็ย่อมมีจุดด้อย เพราะคนที่เป็นซินเนสทีเซีย มักจะหลงทิศทางได้ง่ายๆ และการคิดคำนวณอาจทำได้ไม่ดีนักในหลายกรณี (เพราะตัวเลข 2 ตัวอาจปรากฏเป็นสีคล้ายๆ กัน จนสับสนว่าเป็นตัวเลขตัวไหนกันแน่!)
เรียบเรียงและภาพจาก
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=202159
http://atcloud.com/stories/30042
http://www.we-vts.co.cc/forum/index.php?topic=256.0
http://wanaluka.exteen.com/20100205/entry-1
อ่านเพิ่มเติม (แนะนำให้อ่านคอมเม้นท์จะพบคนไทยที่มีอาการนี้หลายท่าน)
http://gotoknow.org/blog/science/86023?page=1
http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2009/04/X7701052/X7701052.html