มาลองเล่น Spore กับตัวต้นแบบของพวกเราดูมั้ย ?

แชร์เรื่องนี้:
มาลองเล่น Spore กับตัวต้นแบบของพวกเราดูมั้ย ?

     Spore ได้พยายามตอบรับกับความคาดหวังของผู้เล่นเสมอมา ทำให้ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ลงเอยด้วยการสรรสร้างระบบเกม รูปแบบกราฟฟิกและระบบการปรับแต่งต่างๆ ของเกมออกมาเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน โดยหนึ่งในวิธีที่เราใช้ในการสร้างสิ่งใหม่ๆขึ้นมานั้นก็คือการสร้างตัวต้นแบบที่เรียบง่าย แต่เล่นได้อย่างสนุกสนาน เพื่อที่เราจะสามารถเล่นกับมันพร้อมๆกับการเข้าถึงตัวระบบ

     เป็นเรื่องปรกติที่ตัวต้นแบบเหล่านี้จะไม่มีทางพบเห็นได้ในที่สาธารณะทั่วไป แต่เราคิดว่าเหล่าผู้เล่นที่กล้าหาญทั้งหลายข้างนอกนั่นน่าจะมีความสุขกับการได้ทดลองเล่นกับต้นแบบตัวสปอร์ของพวกเราเร็วขึ้นซักหน่อย โปรดจำไว้เสมอนะครับ ว่านี่ไม่ใช่การทดสอบ จึงไม่มีตัวช่วยหรือแม้แต่คำอธิบายอย่างง่ายๆ

     ParticleMan

     ParticleMan เลียนแบบมาจากโครงสร้างของแรงดึงดูดระหว่างมวลสารเล็กๆ ที่อยู่ในเมฆ ระบบนี้มีไว้ใช้สำหรับศึกษาระบบโครงสร้างแรงดึงดูดที่ทำให้เกิดวิถีโคจร การก่อรูปร่างของกลุ่มแก๊ส การกำเนิดของดวงดาว และกระแสการไหลของคลื่นอย่างคลื่นแม่เหล็กหรือแบล็คโฮล

     ParticleMan มีองค์ประกอบดังต่อไปนี้

- อนุภาคขนาดเล็ก: จำนวนมหาศาลและทำปฏิกริยาซึ่งกันและกัน
- ปล่องแรงดึงดูด: ไว้สำหรับแก้ปัญหาการทำปฏิกริยากันโดยการผลักแต่ละอนุภาคออกห่างจากกัน (โดยขึ้นกับขนาด ) แต่จะไม่ผลักหรือเปลี่ยนแปลงมวลสารเองหากไม่มีคำสั่งจากผู้เล่น
- ปืนยิงอนุภาค: สำหรับยิงอนุภาคทิ้งเมื่อไม่ต้องการ
- ปล่องแรงดึงดูดและปืนยิงอนุภาคจะถูกเก็บไว้เฉพาะบนเส้นสีเขียวที่ระนาบ z=0 เท่านั้น
- หน้าต่าง Iso: หน้าต่างIsoเปลี่ยนมวลสารต่างๆให้กลายเป็นรูปทรงเรขาคณิต (เป็นคุณสมบัติของพื้นที่
)

ลองโหลดโปรแกรมไปทดสอบได้ที่นี่

     ปิดหนังสือ “มวลสาร-ปฏิกริยาของมวลสาร” ที่อยู่ภายใต้กฏเกณฑ์ของฟิสิกส์ทิ้งไปเถอะครับ และหันมาดูความแตกต่างระหว่างอนุภาคที่เชื่อฟัง อนุภาคที่เป็นเคลื่อนไหวเอง และอนุภาคแสนยุ่งเหยิงด้วยตาของตนเองกันดีกว่า เมื่อเราปิด“มวลสาร-ปฏิกริยาของมวลสาร” ที่อยู่ภายใต้กฏเกณฑ์ของฟิสิกส์ทิ้งไปแล้ว คุณก็จะสามารถสร้างเหล่าอนุภาคที่แสนจะสลับซับซ้อน ที่ปืนยิงอนุภาคกับใช้ปล่องแรงดึงดูดเป็นอาวุธ สนุกสนานไปกับระบบการควบคุมเชิงฟิสิกส์ที่ทำให้คุณสามารถสร้างแรงดึงดูดหลากหลายรูปแบบ สร้างดาวเคราะห์น้อยดวงใหม่จากกลุ่มก๊าซ หรืออย่างต่ำๆก็สร้างแรงดึงดูดระหว่างดวงดาวในละกาแลคซี่ได้ล่ะ!

แชร์เรื่องนี้:

เรื่องที่คุณอาจสนใจ