เปิดประเด็นเสวนาผลกระทบ พรบ. ภาพยนตร์และวีดืทัศน์กับอุตสาหกรรมเกมไทย

แชร์เรื่องนี้:
เปิดประเด็นเสวนาผลกระทบ พรบ. ภาพยนตร์และวีดืทัศน์กับอุตสาหกรรมเกมไทย

ดร.กมล จิราพงษ์ รองคณบดีคณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวเปิดงาน
ดร.กมล จิราพงษ์ รองคณบดีคณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวเปิดงาน
      เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ณ มหาวิทยาลัยศรีปทุม อาคารดร. สุข พุคยาภรณ์ ห้องปัทมา คณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้จัดงานเสวนาผลกระทบของ พรบ. ภาพยนตร์และวีดีทัศน์กับอุตสาหกรรมเกมไทย โดยมีตัวแทนจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษาร่วมเสวนาคือ ดร.กมล จิราพงษ์ รองคณบดีคณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม, คุณสิทธิชัย เทพไพฑูรย์ อาจารย์ประจำคณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม, คุณอมรรัตน์ เทพกรรมปนาท ผู้อำนวยการสำนักพิจารณาภาพยนตร์และวีดีทัศน์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม, อ.อิทธิพล ปรีติประสงค์ อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว, คุณภาวนา เตชะวิมล Ph.D. Candidate มหาวิทยาลัยชินวัตร และคุณเลิศชาย กันภัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเชียซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งก็ได้รับทราบข้อสรุปทางวิชาการเกี่ยวกับมุมมอง และแนวทางการจัดการปัญหาเรื่องเกมออนไลน์จากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

      วัตถุประสงค์ของการจัดสัมนาในครั้งนี้ ดร.กมล จิราพงษ์ รองคณบดีคณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม เจ้าของโครงการสัมนากล่าวว่า เนื่องจากในปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีและวิถีชีวิตในยุคสารสนเทศน์ ทำให้วิธีการพักผ่อนหย่อนใจและกิจกรรมสันทนาการก็เปลี่ยนแปลงตามยุคตามสมัย คนส่วนใหญ่เริ่มหันเหจากการดูภาพยนตร์และโทรทัศน์ มาสู่การเล่นอินเตอร์เน็ตและเกมคอมพิวเตอร์ ส่งผลให้มูลค่าตลาดของอุตสาหกรรมในปะเทศไทยสูงกว่าอุตสาหกรรมภาพยนตร์แล้ว และมีแนวโน้มจะเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันรัฐบาลได้มีการตรา พรบ. ภาพยนตร์และวีดิทัศน์และกำลังจะมีผลบังคับใช้ในเร็ววัน ผู้ประกอบการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเกม ไม่ว่าจะเป็นผู้นำเข้า ผู้จัดจำหน่าย ผู้ผลิต และร้านเกม อาจจะยังไม่ทราบว่าจะต้องมีการดำเนินการอย่างไรให้ถูกต้องตาม พรบ. และจะมีส่วนร่วมในการปรับปรุงแก้ไข พรบง และกฎกระทรวงได้อย่างไร รวมถึงการมีตัวแทนจากอุตสาหกรรมใน “คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ” เพื่อออกระเบียบวิธีการที่จะช่วยส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมเกมไทยให้มีความเข้มแข็ง ยิ่งๆ ขึ้นไปได้อย่างไร ทางคณะดิจิทัลมีเดีย ม. ศรีปทุม จึงเห็นสมควรที่จัดเปิดเวทีวิชาการเพื่อเสวนาเรื่อง “ผลกระทบของ พรบ. ภาพยนตร์และวีดิทัศน์กับอุตสาหกรรมเกมไทย” เพื่อเสนอตัวเป็นแกนนำทางวิชาการให้กับอุตสาหกรรมเกมเพื่อสร้างองค์ความรู้ให้กับสังคมและอุตสาหกรรมเกมเพื่อประโยชน์กับประเทศชาติต่อไป

      ซึ่งภายในงานสัมนาได้รับความสนใจจากตัวแทนผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจในเรื่องพรบ.ตัวใหม่ที่จะมีผลกระทบอย่างไรกับอุตสหกรรมเกมไทย โดยภายในงานได้มีการพูดคุยถึงปัญหาและข้อสรุปในหลายๆ ด้านเกี่ยวกับกฎหมายและตลาดเกมไทยในปัจจุบัน ซึ่งจากข้อสรุปของผู้เชี่ยวชาญที่เชิญมาร่วมสัมนาจากฝ่ายต่างๆ ได้ให้ความรู้มากมาย เช่นจากคุณอมรรัตน์ เทพกรรมปนาท ผู้อำนวยการสำนักพิจารณาภาพยนตร์และวีดีทัศน์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งได้ให้ความเห็นไว้อย่างน่าสนใจว่า ในปัจจุบันผู้เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเกมไทย ไม่ว่าจะเป็นผู้จัดจำหน่าย ผู้ผลิต จนกระทั่งร้านเกม ยังมีความรู้น้อยเกี่ยวกับกฎหมายซึ่งก็คือ พรบ. ของ พรบ. ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ที่มีเนื้อหาครอบคลุมรวมถึงเกม ไม่ว่าจะเป็นเกมกล่อง เกมคอนโซล และเกมออนไลน์ในประเทศไทยด้วย ทำให้บางครั้งการทำนิติกรรมบางอย่างที่ต้องอิงกฎหมายอาจไม่ถูกต้อง และกลายเป็นว่าเมื่อปัญหาเกิดขึ้น สังคมจะมองตลาดกลุ่มนี้ในแง่ลบ เราจึงควรสร้างคอนเทนท์ภาพบวกให้กับกลุ่มธุรกิจนี้ ในขณะที่คุณสิทธิชัย เทพไพฑูรย์ อาจารย์ประจำคณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุมกล่าวว่าควรส่งเสริมให้ทุกภาคหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนให้มีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกันออกมาในรูปแบบการถ่ายทอดความรู้สู่สังคมให้เข้าใจและเตรียมพร้อมที่จะใช้มันอย่างถูกต้องจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้กฎหมายได้มากขึ้นควบคู่ไปกับการส่งเสริมการพัฒนาตลาดเกมไทย

      ด้านคุณเลิศชาย กันภัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเชียซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สำหรับตัวบริษัทเอเชียซอฟท์เองกับพร.บ.ตัวนี้ถือว่าไม่มีอะไรใหม่ เพราะทางบริษัทเอเชียซอฟท์ยึดถือนโยบายการทำให้ถูกต้องกฏหมาย แม้ตัวกฏหมายเก่าจะไม่มีระเบียบในการเซนเซอร์และการจัดเรตติ้ง แต่บริษัทก็ได้มีการจัดเรตติ้งให้กับเกมที่ให้บริการ และเกมที่เห็นว่าสมควรน่าจะเซนเซอร์ ก็ส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อตรวจสอบและดูแลตลอด เมื่อกฎหมายซึ่งควบคุมโดยพ.ร.บ.ใหม่ตัวนี้ออกมา ก็ไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนอะไรมากมาย ที่เน้นจริงๆ น่าจะเป็น @cafe ในเรื่องการให้ความรู้และทำความเข้าใจกับลูกค้าที่ในมือมากกว่าว่าควรจะทำอย่างไรให้ถูกต้องตามกฎหมาย

 

แชร์เรื่องนี้:

เรื่องที่คุณอาจสนใจ