Online Station

เรื่องเล่าดีๆ จากหนังสือ : ไม่ครบห้า (五体不満足)

แชร์เรื่องนี้:
เรื่องเล่าดีๆ จากหนังสือ : ไม่ครบห้า (五体不満足)
[p]หากเป็นบ้านเราพ่อแม่มักอธิษฐานให้ลูกเกิดมา ครบ 32 ประการ แต่ถ้าเป็นญี่ปุ่นเขาจะขอให้ ครบห้า คือมี 1 ศีรษะ 2 แขน และ 2 ขา แต่ถ้าเกิดมาขาดไปตั้ง 4 ล่ะ?โรทาดะ โอโตทาเกะ ผู้เขียนหนังสือขายดีเล่มดังกล่าว เกิดมานอกจากจะไม่ครบห้า ยังขาดไปตั้ง 4 โอโตทาเกะไม่มีทั้งแขนและขา ลองจินตนาการดูละกัน คนที่มีเฉพาะศีรษะ กับลำตัว จะใช้ชีวิตเยี่ยงคนปกติได้อย่างไร? [img=54671]//img.online-station.net/_news/2008/0320/15522_8328902_250.jpg[/img][size=3][color=blue][b]ไม่ครบห้า (五体不満足)[/b][/color][/size][b]แปลโดย[/b] พรอนงค์ นิยมค้า [b]สำนักพิมพ์[/b] ส.ส.ท. เยาวชน[color=blue][b]ความเป็นมาโดยย่อ[/b][/color][p][color=indigo][b]ฮิโรทาดะ โอโตทาเกะ (乙武 洋匡) [/b][/color]เกิด 6 เมษายน ปีโชวะที่ 51 (ค.ศ. 1976) เด็กชายน้อยคนนี้ไม่มีแขนขา และถูกจับแยกกับแม่ทันทีที่คลอด กว่าจะพบก็หนึ่งเดือนหลังจากนั้น ทุกคนกลัวว่าแม่เด็กจะตกใจกับสภาพร่างกายของทารก แต่วันแรกที่แม่ลูกพบหน้ากัน คำหลุดจากปากแม่ (ทั้งๆที่เห็นเต็มตาว่าทารกน้อยปราศจากแขนและขา )ก็คือ [i]"น่ารักจัง!" [/i]ด้วยๆ คำนี้โอโตทาเกะได้กล่าวไว้ตอนโตว่า "[i]วันนั้นคือวันที่ผมได้เกิดขึ้นมาจริงๆ"[/i][center][img=54676]//img.online-station.net/_news/2008/0320/15522_31_20070427104830_.jpg[/img][/center][p]เริ่มแรก พ่อกับแม่อยากให้เพื่อนบ้านรู้จักโอโตทาเกะคุง จึงมักจะพาไปไหนมาไหนด้วยเสมอ - โอโตทาเกะคุง จึงกลายเป็นขวัญใจของชาวบ้านไปในทันที เพราะเหมือนตุ๊กตาหมี และเหมือนหัวมันฝรั่ง (ปกติแล้วพ่อแม่ที่มีลูกพิการมักจะเก็บลูกไว้แต่ในบ้าน) นอกจากนี้ พ่อกับแม่ยังให้ความสำคัญกับการศึกษามาก แม่อ่านเจอในหนังสือพิมพ์ว่า [i]"การไม่อ่านหนังสือให้เด็กฟัง เปรียบเสมือนการตัดเอาสมองส่วนหน้า ของเด็กทิ้งไป"[/i] ดังนั้นเมื่อมีเวลาว่า แม่ก็มักจะอ่านหนังสือให้โอโตทาเกะคุงฟังเสมอๆ ต่อมาเมื่อต้องเข้าโรงเรียนประถม พ่อแม่ของโอโตทาเกะคุง ก็สงสัยว่าลูกชายตัวเองจะไม่สามารถเรียนแบบเด็กปกติได้จริงหรือ จึงพยายามทุกวีถีทางให้ได้เข้าโรงเรียนภาคปกติ ไม่ใช่เรื่องง่ายที่โรงเรียนทั่วๆไปจะยอมรับ เพราะต้องรับภาระปัญหาหลายอย่าง แต่ว่าความไม่ยอมแพ้ของพ่อแม่ โอโตทาเกะคุงก็ได้เข้าโรงเรียนภาคปกติจนได้[center][img=54672]//img.online-station.net/_news/2008/0320/15522_img_06.jpg[/img] [img=54673]//img.online-station.net/_news/2008/0320/15522_img_08.jpg[/img][/center][p]โอโตทาเกะคุงมีความสามารถโดดเด่นมากในโรงเรียนประถม ซึ่งตรงนี้เองเป็นเรื่องที่น่าสนใจต้องติดตามอ่าน แล้วคุณจะทึ่งถึงศักยภาพของคนที่ไม่มีแขนขา และ ความคิดดีๆของระบบการศึกษาและครูญี่ปุ่น โอโตทาเกะต้องทำทุกอย่างด้วยตัวเอง ครูประกาศว่า "อะไรที่โอโตทาเกะทำเองได้ควรปล่อยให้ทำเอง แต่ถ้ามีอะไรที่เขาทำคนเดียวไม่ได้พวกเราต้องช่วยเขานะ" เมื่อโอโตทาเกะมีชีวิตประจำวันอยู่กับเพื่อนๆ การละเล่นและกิจกรรมต่างๆจะมีกติกาของโอโตจัง (ชื่อเล่นขอโอโตทาเกะสมัยเด็กๆ) ซึ่งเป็นผลให้สามารถเล่นกับเพื่อนๆได้ กติกาเหล่านี้เด็กๆคิดขึ้นเอง ครูต้องเรียนรู้วิธีการแบบนี้จากเด็กๆในห้องเรียน[center][img=54674]//img.online-station.net/_news/2008/0320/15522_516K3J3GTDL__AA240_.jpg[/img][img=54675]//img.online-station.net/_news/2008/0320/15522_96.jpg[/img][/center][p]ในหนังสือเล่มนี้ โอโตทาเกะบอกเล่าเรื่องราวและการใช้ชีวิต ที่คนแขนขาดีๆ อย่างเราอ่านแล้วได้แต่ทึ่งว่าทำได้ไง ตอนที่อ่านจบ นอกจากความรู้สึกอิ่มเอมใจยังได้ข้อคิดดีๆ [i]"ความพิการคือความไม่สะดวก แต่ไม่ใช่ความไม่สบาย"[/i]สุดท้าย โอโตทาเกะอยากฝากผู้อ่านไว้ว่า [color=blue] [b]"ถึงแม้ผมจะเกิดมาไม่มีแขนมีขา แต่ผมก็มีความสุขที่สุดในโลกเลยครับ".[/b][/color]
แชร์เรื่องนี้:
por_kk
About the Author

por_kk

ที่นี่คือใคร? ฉันเป็นที่ไหน?

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

Online Station