ปีใหม่ ทีวีใหม่ (หรือเปล่า?) แนะวิธีการเลือกซื้อ HDTV

แชร์เรื่องนี้:
ปีใหม่ ทีวีใหม่ (หรือเปล่า?) แนะวิธีการเลือกซื้อ HDTV
[p]สวัสดีปีใหม่ครับ หลังจากที่ได้สนุกสนานกับเทศกาลปีใหม่แล้ว เชื่อว่าหลายๆ คนคงอยากจะหาซื้อความสุขให้กับตัวเองบ้าง ซึ่งหนึ่งในนั้นคงจะต้องมี HDTV เป็นแน่ แม้ว่าจะเข้ามาในตลาดบ้านเราหลายปีแล้ว แต่ HDTV ก็ยังสร้างความสับสนให้กับผู้ที่สนใจอย่างต่อเนื่อง บทความนี้จะพยายามรวมคำถามและคำตอบถึงสิ่งที่หลายๆ คนอยากจะทราบเมื่อกำลังมองทีวีรุ่นใหม่ๆ อยู่เรื่องโดย Burm [b]แอลซีดีทีวี VS. พลาสมาทีวี อะไรดีกว่ากัน? [/b][p]หนึ่งในคำถามโลกแตก ซึ่งก่อนอื่นต้องแยกข้อแตกต่างระหว่างเทคโนโลยีก่อน พลาสมาทีวีแน่นอนว่าให้ [b]Contrast[/b] และสีที่ดีกว่า แต่ในขณะเดียวกันพลาสมาทีวีก็มีอัตราการกินไฟที่สูง และสามารถที่จะเกิดการไหม้ถาวรบนหน้าจอ[b] (Burn-in) [/b]ได้ ซึ่งในพลาสมาทีวีรุ่นใหม่ๆ แม้จะมีการโฆษณาว่าไม่มีการ Burn-in แต่ก็เพียงแค่ใช้เทคนิคในการตรวจสอบภาพบนหน้าจอ และทำการเปลี่ยนแปลงการแสดงผลเป็นครั้งคราว เช่น ใส่สัญญาณกวนเล็กน้อย (Noise) หรือขยับภาพ[p]แต่อย่างไรก็ดีข้อจำกัดของทั้ง 2 เทคโนโลยีก็ได้ถูกปรับปรุงขึ้นมาก นอกจากเรื่องการ Burn-in ของพลาสมาทีวีที่มีการใช้สมองกลช่วยตรวจสอบภาพบนหน้าจอ ในส่วนของการกินไฟก็มีการกินไฟลดลงเหมือนกัน[p]ในส่วนของแอลซีดีทีวีนั้นก็มีการออกเทคโนโลยีใหม่ โดยการเปลี่ยนหลอดไฟด้านหลัง (Backlight) มาหลายแบบ จนกระทั่งล่าสุดเป็น LED แทนการใช้หลอด Fluorescent แบบดั้งเดิม แต่ยังมีราคาสูงมาก และมีจำหน่ายน้อยรุ่น ซึ่งการเปลี่ยน Backlight แต่ละครั้งนั้นจะให้ภาพที่ดีขึ้น[p]แต่อย่างไรก็ดีจอทั้ง 2 ประเภทนั้นมีข้อแตกต่างกันที่ชัดเจนอย่างหนึ่งนั่นคือ "ขนาด" เนื่องด้วยว่าเทคโนโลยีของพลาสมาทีวีนั้นสามารถทำจอเล็กๆ ได้ยาก กลับกันคือแอลซีดีทีวีนั้นหากยิ่งทำจอใหญ่ ราคาจะยิ่งสูงมาก[p]ถ้าให้ผมแนะนำ เราควรจะมองแอลซีดีทีวีและพลาสมาทีวีเป็นสินค้าประเภทเดียวกัน นั่นคือแอลซีดีทีวีนั้นเปรียบได้กับพลาสมาทีวีขนาดเล็ก และกลับกันพลาสมาทีวีก็เปรียบได้กับแอลซีดีทีวีขนาดใหญ่ แล้วทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับราคา ขนาด และความละเอียดของภาพที่ต้องการ ว่าแบบไหนที่เหมาะสมกับสภาพห้อง ความต้องการ และทุนทรัพย์ของเรา[b]HDTV จะลดราคาอีกเมื่อไหร่[/b][img]//img.online-station.net/_news/2008/0304/15068_Bravia.jpg[/img][p][b]HDTV [/b]โดยเฉพาะแอลซีดีทีวีที่มีการแข่งขันในตลาดสูงมากนั้น จะลดราคาอยู่เรื่อยๆ อยู่แล้ว โดยเฉพาะเมื่อมีจอภาพยุคใหม่ออกมา ยุคเก่าก็จะราคาตกเป็นธรรมดา แต่อย่างไรก็ดีการรอราคาลดลงนั้นอาจไม่ช่วยอะไรมากนัก เพราะรุ่นที่เก่ามากๆ สุดท้ายจะหายไปจากตลาดเอง แทนที่ราคาจะลดลงไปจนเกินจุดวิกฤติ[p]จุดวิกฤติของแอลซีดีทีวี ซึ่งหมายถึงราคาต่ำสุดที่ไม่น่าจะต่ำไปกว่านี้แล้ว ภายในปีนี้น่าจะเป็นดังนี้[b]32 นิ้ว 17,900 - 19,900 บาท[/b] (เห็นได้ว่าเมื่อรุ่นใหม่เปิดตัวมาจะอยู่ที่ราคาระดับ 30,000 บาทขึ้นไป จึงค่อนข้างชัดเจนว่า ราคาจึงไม่ควรจะต่ำลงไปกว่านี้แล้ว)[b]40 นิ้ว 29,900 - 34,900 บาท[/b] (ในกรณีของจอภาพแบบ WXGA 1366x768)[b]40 นิ้ว 1080p 44,900 - 49,900 บาท [/b](เนื่องจากว่า Full HD จะยังถูกวางเป็นสินค้าระดับสูงไปอีกพักนึง ราคานี้อาจจะได้ตอนปลายๆ ปี)[p][color=green]ทั้งหมดนี้เป็นแค่การคาดเดาของผู้เขียน ไม่ควรนำไปอ้างอิงใดๆ แต่นี่เป็นความเห็นเพื่ออย่างน้อยก็น่าจะเป็นแนวทางในการตัดสินใจของผู้อ่านครับ[/color][p]สำหรับการซื้อทีวีที่กำลังจะตกรุ่นนั้น ในบางครั้งก็อาจจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า เนื่องจากในบางกรณีสิ่งที่เพิ่มเข้ามาอาจจะไม่ใช่สิ่งที่เราต้องการจริงๆ (จะกล่าวถึงในหัวข้อถัดๆ ไป) ซึ่งหากส่วนต่างของราคามันมากพอที่จะละเว้นคุณสมบัติบางอย่าง การซื้อทีวีรุ่นเก่าๆ ก็อาจจะเป็นเรื่องที่เหมาะสม (สำหรับคุณ) ก็ได้[b]1080p จำเป็นหรือไม่? [/b][img]//img.online-station.net/_news/2008/0304/15068_FullHD.jpg[/img][p]แน่นอนว่า [b]1080p ย่อมดีกว่าจอที่มีความละเอียดภาพระดับ WXGA (1366x768)[/b] แต่ดีกว่าแบบไหน อย่างไร เราต้องมาทำความเข้าใจกัน[p]1080p เป็นมาตรฐานที่สูงที่สุดของ HDTV ซึ่งสื่อบันทึกแบบใหม่ทั้ง HD DVD และ Blu-Ray นั้นมีการตั้งมาตรฐานไว้สำหรับหนังที่จะบันทึกทั้งลงบนสื่อทั้ง 2 นี้ไว้หลายมาตรฐาน แต่แน่นอนว่าทั้ง 2 มาตรฐานนั้นเลือกที่จะบันทึกแบบที่ดีที่สุดในตอนนี้ก็คือ 1080p ซึ่งเข้ากันได้กับจอแบบ 1080p พอดิบพอดี แต่ไม่ใช่ว่าจอแบบ WXGA นั้นจะไม่สามารถรองรับภาพแบบนี้ได้ เนื่องด้วยการแสดงผลภาพของจอภาพแบบดิจิตอล (ทั้งแอลซีดีทีวีและพลาสมาทีวี) นั้นจะแสดงผลได้ที่ความละเอียดเดียว ทำให้การแสดงผลภาพใดๆ ก็ตามบนจอใดๆ จะต้องถูกเปลี่ยนให้มีความละเอียดตรงกับจอนั้นๆ เสมอ [b](Upscale/Downscale) [/b]เช่น ในกรณี 1080p ภาพทุกอย่างจะถูกอัพสเกลเป็น 1080p นั่นคือจอ WXGA นั้นจะสามารถรับภาพ 1080p ได้ แต่ข้อมูลที่แสดงผลบนหน้าจอก็จะมีแค่เท่ากับที่จอภาพแบบ WXGA จะแสดงผลได้อยู่ดี นั่นคือภาพจะไม่ได้ดีขึ้นกว่าเดิมด้วยซ้ำ แต่บางคนอาจจะสังเกตว่าภาพที่ได้นั้นนวลตาขึ้น ซึ่งนั่นเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงโดยลดความละเอียดลง (Downscale) [b]ซึ่งหากเป็นสัญญาณ 1080p จริงๆ สิ่งที่เราจะได้จะไม่ใช่ความนวลตา แต่ควรเป็นรายละเอียดที่มากกว่าจอภาพแบบ WXGA[/b][p]อย่างนั้นก็ตาม ใช่ว่าทุกคนจะเห็นความแตกต่าง เนื่องจากจุดที่เพิ่มขึ้นอาจจะไม่สามารถสังเกตได้ชัดเจนในจอขนาดเล็กก็ได้ โดยเฉพาะเมื่อดูจากระยะรับชมปกติ จึงเห็นได้ว่าจอแบบ Full HD จึงมักจะมีขนาดตั้งแต่ 40 นิ้วขึ้นไป แต่ในอนาคตก็คงมีการทำในจอขนาดเล็กๆ ด้วย ซึ่งนั่นเป็นเรื่องของการแข่งขันในตลาดมากกว่าผลลัพธ์ของผู้บริโภค[p] อย่างไรก็ดีจากที่เห็นว่าทีวีหลายๆ ยี่ห้อเริ่มทำให้ทีวีที่มีความละเอียดระดับ WXGA ของตนเองรับภาพแบบ 1080p ได้แล้ว ซึ่งแม้เท่าที่เห็นจะไม่มีการโฆษณาปะปนกันกับจอแบบ Full HD จริงๆ แต่อาจจะถูกโน้มน้าวอย่างผิดๆ โดยพนักงานขายต่างๆ ที่ไม่เข้าใจถึงข้อได้เปรียบที่แท้จริงของ 1080p เพราะแม้ทีวีที่มีความละเอียดระดับ WXGA จะรับสัญญาณ 1080p ได้ แต่มันก็จะถูกเปลี่ยนให้เป็น WXGA อยู่ดีครับ[b]แอลซีดีทีวี 100Hz จำเป็นหรือไม่? [/b][img]//img.online-station.net/_news/2008/0304/15068_100hz.jpg[/img][p]จากที่เห็นว่ามีการโฆษณาถึงจอแบบ 100Hz เข้ามาหลายยี่ห้อนั้น ต้องเข้าใจก่อนว่าแอลซีดีทีวีไม่มีการกะพริบของภาพอยู่แล้ว เนื่องจากจอภาพแบบแอลซีดีจะมีการแสดงผลแบบค้างหน้าจอทั้งหน้าจอ ต่างกับจอแก้ว (CRT) ที่การแสดงผลจะแสดงทีละเส้น โดยเส้นที่กวาดผ่านไปแล้วจะยังคงค้างอยู่ในข่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งเป็นผลให้เกิดการกะพริบ หากกวาดเส้นของภาพได้ไม่เร็วพอ ซึ่งในกรณีของจอภาพแบบแอลซีดีจะไม่เป็นเช่นนั้น[p]แล้ว 100Hz มันคืออะไรล่ะ [b]มันก็คือการแสดงผลภาพด้วยอัตรา 100 ภาพใน 1 วินาที ฟังดูดีใช่ไหม? แต่ในความเป็นจริงแล้ว สื่อต่างๆ ที่เราใช้งานกันในปัจจุบันล้วนแต่บันทึกไม่ถึง 100Hz ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น DVD, Blu-ray, HD-DVD, เกมคอนโซลต่างๆ หรือสัญญาณโทรทัศน์ก็ตาม อาจมีเพียงอย่างเดียวที่สามารถส่งสัญญาณได้ถึง 100Hz ได้ นั่นคือ PC[/b][p]แล้ว 100Hz จะมีประโยชน์อะไร? ทางผู้ผลิตแอลซีดีทีวีแบบ 100Hz จึงได้พัฒนาโปรแกรมปรับปรุงภาพ เพื่อทำการ "สร้าง" ภาพเพิ่มเติม เพื่อให้มีภาพครบทั้ง 100 ภาพ ซึ่งผลที่ได้ จะทำให้ภาพที่เบลอเพราะการเคลื่อนไหว (Motion Blur) นั้นถูกแยกออกเป็นหลายๆ ภาพแทน และภาพจะคมชัดขึ้น[p]แล้วมันดีไหม? ตรงนี้ผมว่ามันขึ้นอยู่กับรสนิยมของแต่ละคน บางคนอาจจะชอบ บางคนอาจจะรู้สึกว่ามันดูหลอกๆ แต่ที่แน่นอนที่สุด ให้เข้าใจไว้อย่างว่า การ "สร้าง" ภาพนั้นเกิดจากการคำนวณด้วยหลักการทางเรขาคณิต ซึ่งแน่นอนว่าในบางสถานการณ์อาจให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง ในบางสถานการณ์ผลลัพธ์อาจไม่ดีนัก ยังไงก็แล้วแต่ ต้องลองไปดูของจริงเอง ว่าระหว่างเปิดกับปิด ชอบแบบไหนมากกว่ากัน[p]ในอนาคต 100Hz อาจจะเป็นคุณสมบัติหลักที่มีในแอลซีดีทีวีทุกตัว เนื่องด้วยการแข่งขัน แต่ผลต่างของราคานั้นจะคุ้มค่าต่อสิ่งที่คุณได้รับหรือไม่ คุณต้องตัดสินใจเอง[b]HDMI 1.3? [/b][img]//img.online-station.net/_news/2008/0304/15068_1.3.jpg[/img][b]หลายต่อหลายคนมีความเข้าใจผิดถึงข้อได้เปรียบของ HDMI 1.3 กันมาก HDMI 1.3 นั้นพัฒนาจาก HDMI 1.2 ดังนี้ครับ[/b][b]1. เพิ่มแบนด์วิดธ์ (Bandwidth) ซึ่งก้คือความกว้างของช่องสัญญาณเป็น 340MHz หรือ 10.2 Gbit ต่อวินาที[/b] จริงอยู่ว่าแบนด์วิดธ์ที่เพิ่มขึ้นทำให้ส่งข้อมูลได้มากขึ้น แต่แบนด์วิดธ์ตามมาตรฐานเดิมของ HDMI 1.0 นั้นอยู่ที่ 4.9 Gbit ต่อวินาที ซึ่งเพียงพอต่อการส่งสัญญาณภาพแบบ 1080p ที่ 60 ภาพต่อวินาที และสัญญาณเสียงแบบไม่มีการบีบอัด (Uncompressed) ที่ 8 ช่องสัญญาณ อัตราการแซมปลิงที่ 192KHz และขนาดของข้อมูลที่ 24bit (ปัจจุบัน DVD เราดูกันอยู่ที่ 6 ช่องสัญญาณ อัตราแซมปลิงที่ 48KHz และขนาดของข้อมูลที่ 16bit ส่วน HD DVD, Blu-Ray ที่เจอแบบดีที่สุดก็ 8 ช่องสัญญาณ อัตราแซมปลิงที่ 96Khz และขนาดของข้อมูลที่ 24bit) เพราะฉะนั้นความเข้าใจที่ว่า HDMI 1.3 เท่านั้นที่รองรับ 1080p จึงเป็นเรื่องที่ "ผิด" ครับ ส่วนแบนด์วิดธ์ที่เพิ่มมานั้นเอาไปทำอะไร มันจะอยู่ในข้อต่อๆ ไป[b]2. รองรับสีแบบ 30 bit, 36 bit และ 48 bit (ไม่บังคับ) นี่คือสาเหตุที่ HDMI 1.3 ต้องการแบนด์วิดธ์เพิ่มเติม เพื่อให้สามารถส่งสัญญาณสีเพิ่มจากเดิม ซึ่งก็คือ 24 bit ได้แต่จุดที่สำคัญคือ ข้อกำหนดนี้ไม่ได้ถูกบังคับ[/b] นั่นหมายถึง แม้หากไม่มีความสามารถนี้ ก็อาจจะเรียกได้ว่าเป็นไปตามมาตรฐาน HDMI 1.3 เหมือนกัน เช่น เครื่องเล่นที่รองรับข้ออื่นๆ แต่ส่งสัญญาณภาพได้แค่ 24 bit เหมือนเดิม ก็ยังอาจเรียกว่าเป็น HDMI 1.3 ได้เหมือนกัน[p]อย่างไรก็ดี แม้แต่สื่อบันทึกรุ่นใหม่ก็ยังไม่มีตัวไหนใช้สีมากกว่า 24 bit อยู่ดี เพราะฉะนั้นข้อแตกต่างของ HDMI 1.3 ที่ว่าจะแสดงภาพได้สมจริงกว่ามากๆ นั้น จึงไม่ใช่เรื่องจริง (อนาคตอาจจะมีที่แตกต่าง แต่ตอนนี้ไม่มี)[b]3. มีการทำการปรับสัญญาณเสียงกับภาพให้ตรงกันโดยอัตโนมัติ[/b] นี่อาจจะเป็นข้อดีที่เห็นได้ชัดเพียงข้อเดียวก็ได้ ซึ่งออกมาเพื่อแก้ปัญหาเสียงไม่ตรงกับปาก (Lip-Sync) ในกรณีเครื่องเล่นกับทีวีบางตัวที่มีใน HDMI รุ่นเก่า[b]4. สามารถส่งสัญญาณเสียงแบบ Dolby TrueHD และ DTS-HD Master Audio ได้ [/b](ไม่บังคับ) แม้จะเป็น Optional เหมือนกัน แต่ข้อนี้สามารถทำได้โดยง่าย น่าจะมีทุกตัว สัญญาณเสียงแบบ Dolby TrueHD และ DTS-HD นั้นเป็นสัญญาณเสียงที่ผ่านการบีบอัดแบบไม่เสียคุณภาพสัญญาณ (Looseless Compression) ที่ถูกบันทึกในแผ่น Blu-Ray และ HD DVD โดยข้อกำหนดนี้มีขึ้นเพื่อให้เครื่องเล่นสามารถส่งสัญญาณเสียงเหล่านี้ไปยังเครื่องถอดรหัสภายนอก (เช่น AV Receiver) เพื่อทำการถอดรหัสดังกล่าวได้[p]แต่เนื่องจากว่า HDMI 1.0 นั้นอนุญาตให้ทำการส่งสัญญาณเสียงแบบไร้การบีบอัด (Uncompressed) ได้ ซึ่งหากเครื่องเล่นของคุณสามารถถอดรหัส TrueHD หรือ DTS-HD ได้ ฟังก์ชั่นนี้ก็ไม่มีประโยชน์อันใด เพราะแม้แต่เสียงที่ดีที่สุดของ Blu-Ray หรือ HD DVD ก็ยังไม่เกินที่มาตรฐาน HDMI 1.0 จะรองรับได้ และการถอดรหัสที่เครื่องเล่นนั้น ไม่มีข้อเสียอะไรเหมือนสมัยก่อน เพราะคุณส่งด้วย HDMI ซึ่งสัญญาณเสียงมันไม่ถูกลดทอนอยู่แล้ว การถอดรหัสไม่ว่าจะที่ AV Receiver หรือถอดรหัสในเครื่องเล่นเองจึงมีค่าเท่ากัน แต่อย่างไรก็ดี เครื่องเล่น Blu-Ray ส่วนมากจะไม่สามารถถอดรหัส DTS-HD ได้ จึงอาจจะต้องอาศัย HDMI 1.3 เพื่อส่งไปยัง AV Receiver ที่ทำการถอดรหัสได้ เพราะฉะนั้นคำอ้างที่ว่า[b] HDMI 1.3 จะให้คุณภาพเสียงที่เหนือกว่านั้นจึง "ไม่เป็นความจริงแม้แต่น้อย"[/b][b]5. รองรับขั้วต่อแบบเล็ก[/b] สำหรับอุปกรณ์ เช่น เครื่องบันทึกวิดีโอแบบพกพา[p]กลับมาคำถามเดิม HDMI 1.3 จำเป็นหรือไม่ บอกได้ว่า "ยัง" ไม่จำเป็น ถ้ามีสิ่งอื่นที่ควรพิจารณาในการซื้อมากกว่าเวอร์ชั่นของ HDMI ซะอีก ให้มันเป็นสิ่งสุดท้ายที่ควรจะอยู่ในหัว ในตอนเลือกซื้อทีวีละกันครับ[p]สรุปสุดท้ายนี่ผู้เขียนขออนุญาตแนะนำหลักในการเลือกซื้อ HDTV แก่ผู้อ่าน ก่อนอื่นให้กำหนดราคาที่ตนเองสามารถจ่ายได้ไว้ในใจก่อน เสร็จแล้วให้กำหนดคุณสมบัติต่างๆ ที่ต้องการ โดยให้อยู่ในหลักของเหตุและผล (การบอกว่าจะซื้อแอลซีดีทีวี 1080p 100Hz ในราคา 2 หมื่นบาทในปีหน้า ผมคงไม่รู้สึกว่ามันสมเหตุสมผลเท่าไหร่) โดยราคาและคุณสมบัตินั้นจะเป็นเพียงข้อกำหนดคร่าวๆ เท่านั้น จากนั้นจึงค่อยไปเลือกยี่ห้อกับรุ่นที่ต้องการ ซึ่งหากไม่พบทีวีที่ตรงกับที่เรากำหนดไว้ ก็ต้องเลือกที่จะยอมเพิ่มราคา หรือจะลดคุณสมบัติลง ซึ่งข้อมูลบางส่วนในบทความนี้คงจะช่วยในการตัดสินใจได้ไม่มากก็น้อย[p]และอีกอย่างหนึ่ง อย่างสุดท้าย "จงเชื่อตนเอง" ครับ สิ่งที่คนอื่นแนะนำนั้น ให้เราเอามาเป็น "ข้อมูล" ไม่ใช่ "คำสั่ง" เชื่อเหอะ สมมุติคุณเป็นสาวกยี่ห้อ A แบบเข้าไส้ แต่มีแต่คนบอกคุณว่าไปซื้อยี่ห้อ B เหอะ ยี่ห้อ A มันแพง หรือบริการไม่ดี แม้ว่าคุณจะไปซื้อยี่ห้อ B ตามเขา และไม่พบปัญหาใดๆ ก็ตาม แต่คุณก็จะอดคิดเสียดายยี่ห้อ A ไม่ได้อยู่ดี [p]ฉะนั้นให้คุณถามใจตัวเองดีๆ สิ่งที่คุณจะซื้อหามานี้จะอยู่กับคุณไปอีกนาน แต่อย่างไรก็ดีอย่าละเลย "ข้อมูล" ที่คุณได้รับจากคนอื่นด้วย นั่นคือ คุณคือคนที่ต้องคิด คุณคือคนที่จะต้องฟันธง แล้วคุณจะได้ของดีที่ถูกใจคุณจริงๆ
แชร์เรื่องนี้:

เรื่องที่คุณอาจสนใจ