แนะวิธีการเล่นเกมการ์ดสุดมันส์ Yu-Gi-Oh!GX:Spirit Caller [Part 1]

[center][img=43604]//online-station.net/wp-content/uploads/2020/03/default-image.jpg[/img][/center][p]สวัสดีครับ (^-^) ยินดีต้อนรับเพื่อนๆ เข้าสู่ภาคการศึกษาใหม่ของ Duel Academy หรือโรงเรียนของเหล่า Duelist เพื่อเฟ้นหา King of Game คนใหม่นั่นเองครับ (^-^) และเพื่อเป็นการต้อนรับเกมภาคใหม่ล่าสุดของสุดยอดการ์ดเกม Yu-Gi-Oh! บนเครื่องเกมสุดฮอต Nintendo DS (NDS) คู่มือฉบับนี้จึงเป็นการสอนวิธีการเล่นการ์ดเกม Yu-Gi-Oh! ที่เพื่อนๆ ทุกคนสามารถใช้ได้กับการเล่นเกมทุกภาค และยังรวมถึงการเล่นการ์ดจริงด้วยเช่นกันครับ และยังมีข้อมูลพิเศษของการ์ดจากในเกมภาค Spirit Caller แบบครบ 100% เลยทีเดียวฮะ ที่บอกความสามารถพิเศษของการ์ดแต่ละใบแบบครบถ้วนเลยครับ รับรองว่าเพื่อนๆ ทั้งมือใหม่และชาว Duelist ขาประจำจะต้องแอบพกคู่มือเกม Yu-Gi-Oh! ฉบับนี้ติดตัวตลอดเวลาแน่นอนเลยครับ ขอให้สนุกกับเกมมากๆ นะฮะ บ๊ายบาย[b]1. Deck construction[/b] [img=43605]//online-station.net/wp-content/uploads/2020/03/default-image.jpg[/img][p]ก่อนอื่นใดที่เราจะสามารถไป Duel กับตัวละครอื่นๆ ในเกมได้นั้น เราต้องมีการเตรียมชุดการ์ดหรือเด็ค (Deck) ด้วยครับ ขณะเล่นเกมเราจะสามารถจัดชุดการ์ดได้ที่ห้องพักของเราใน Slifer Red Dorm โดยเลือกที่ Duel Disk ที่อยู่ตรงพื้นห้อง หรือขณะอยู่บนแผนที่ก็จะเลือกได้ที่ Duelist menu ที่มุมขวาล่างของจอ ซึ่งองค์ประกอบของแต่ละชุดการ์ดก็จะประกอบไปด้วย•[b]Deck (ชุดการ์ดหลัก)[/b] dจะสามารถใส่การ์ดลงในชุดการ์ดได้ไม่จำกัด แต่ต้องไม่น้อยไปกว่า 40 ใบ และการ์ดเดียวกันจะใส่ซ้ำกันได้ไม่เกิน 3 ใบ ยกเว้นการ์ดประเภท Forbidden และ Limited จะถูกจำกัดจำนวนต่างออกไป• [b]Side deck (ชุดการ์ดสำรอง)[/b] การ์ดในชุดนี้จะไว้สำหรับเปลี่ยนกับในชุดการ์ดหลักระหว่างการแข่งขันแบบแมตช์ เพื่อปรับเปลี่ยนชุดการ์ดหลักให้เหมาะสมกับการ Duel กับผู้เล่นคนอื่น และจะสามารถใส่การ์ดลงในชุดการ์ดสำรองได้ไม่เกิน 15 ใบเท่านั้น[b]2. Game Mat [/b][p]ในการ Duel นั้นเราจะอาศัย Game Mat หรือสนาม (Field) ในการเล่น โดยสนามจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายคือ ผู้เล่นและฝ่ายตรงข้าม และรายละเอียดของสนามในแต่ละฝ่ายก็จะเหมือนกัน ซึ่งจะประกอบไปด้วยโซนต่างๆ สำหรับวางการ์ดแต่ละชนิดให้ถูกตำแหน่ง ลองมาดูรายละเอียดของสนามกันครับ[img=43606]//online-station.net/wp-content/uploads/2020/03/default-image.jpg[/img]•[b]Monster Card Zone (ตำแหน่งที่ 1) [/b]ตำแหน่งนี้จะเป็นพื้นที่สำหรับวางการ์ดประเภทมอนสเตอร์ ซึ่งสามารถวางสูงสุดได้ถึง 5 ใบ ลักษณะการวางการ์ด (Summon หรือ Set) จะทำได้ 3 รูปแบบ คือ Face-up Attack Position (สถานะพร้อมโจมตี วางการ์ดในแนวปกติ), Face-up Defend Position (สถานะตั้งรับแบบหงายการ์ด วางการ์ดแนวขวาง) และ Face-down Defend Position (สถานะตั้งรับแบบคว่ำการ์ด วางการ์ดแนวขวาง) •[b]Spell & Trap Zone (ตำแหน่งที่ 2):[/b]ตำแหน่งนี้จะเป็นพื้นที่สำหรับวางการ์ดประเภทเวทมนตร์และกับดัก เพื่อเรียกใช้ความสามารถ (Activate) ของการ์ดทั้ง 2 ชนิด หรือสามารถวางคว่ำการ์ด (Set) เพื่อเตรียมพร้อมใช้ความสามารถได้เช่นกัน ซึ่งจะสามารถวางสูงสุดได้ถึง 5 ใบ และจะไม่สามารถใช้เวทมนตร์ได้หากการ์ดถูกวางจนเต็มพื้นที่ทั้ง 5 ใบแล้ว• [b]Graveyard (ตำแหน่งที่ 3): [/b]ระหว่างการ Duel เมื่อการ์ดมอนสเตอร์ถูกทำลาย หรือการ์ดเวทมนตร์และกับดักได้ถูกใช้แล้ว การ์ดเหล่านี้จะถูกนำมาวางที่ตำแหน่งที่ 3 หรือที่เรียกว่าสุสาน โดยผู้เล่นทั้ง 2 ฝ่ายสามารถกดคำสั่ง List ที่สุสานเพื่อดูการ์ดที่ใช้แล้วของแต่ละฝ่ายได้ตลอดการ Duel• [b]Deck Zone (ตำแหน่งที่ 4): [/b]ชุดการ์ดหลัก (Deck) หรือกองการ์ดของผู้เล่นแต่ละฝ่ายจะถูกวางที่ตำแหน่งนี้ ซึ่งมีไว้สำหรับให้ผู้เล่นหยิบการ์ด (Draw) ระหว่างการ Duel นั่นเอง และในกรณีที่มีการเลือกหยิบการ์ดจากกองได้โดยการใช้ความสามารถพิเศษระหว่างการ Duel จะต้องมีการสลับการ์ดในกองการ์ดอีกครั้งก่อนจะดำเนินการ Duel ต่อไป ซึ่งเกมจะทำการสลับการ์ดให้เองโดยอัตโนมัติ• [b]Field Card Zone (ตำแหน่งที่ 5):[/b] การ์ดเวทมนตร์สนาม (Field Spell Card) นั้นจะถูกแสดงความสามารถหลังการใช้โดยวางอยู่ในตำแหน่งนี้และจะไม่มีความเกี่ยวข้องกับจำนวนการ์ดในตำแหน่ง Spell & Trap Zone ซึ่งวางได้เพียง 5 ใบ ผู้เล่นทั้ง 2 ฝ่ายจะสามารถใช้การ์ดเวทมนตร์สนามได้เพียงครั้งละ 1 ใบเท่านั้น ดังนั้นหากมีการใช้ความสามารถของการ์ดเวทมนตร์สนามใบใหม่ การ์ดใบเดิมก็จะถูกทำลายลงในทันที• [b]Fusion Deck Zone (ตำแหน่งที่ 6):[/b] การ์ดมอนสเตอร์รวมร่าง (Fusion Monster) จะถูกแยกออกมาจากชุดการ์ดหลักและวางลงในตำแหน่งนี้ในลักษณะคว่ำการ์ด และการ์ดมอนสเตอร์เดียวกันจะใส่ได้ไม่เกิน 3 ใบ แต่จะไม่มีการจำกัดจำนวนการ์ดมอนสเตอร์รวมร่างไว้ และที่สำคัญจำนวนของการ์ดมอนสเตอร์รวมร่างจะไม่นับรวมกับจำนวนการ์ดในชุดการ์ดหลักของผู้เล่น นั่นหมายความว่าจำนวนการ์ดขั้นต่ำในชุดการ์ด 40 ใบจะไม่นับมอนสเตอร์รวมร่างนั่นเอง[b]3. Game Card[/b][p]มาทำความรู้จักกับชนิดของการ์ดทั้งหมดที่ปรากฏในเกมกันบ้างครับ ซึ่งการ์ดแต่ละชนิดก็จะมีวิธีการเรียกใช้ในแบบต่างๆ กันไป และยังมีความสามารถของการ์ดแต่ละใบที่แตกต่างกันอีกด้วย ดังนั้นการเรียนรู้เกี่ยวกับรายละเอียดของการ์ดจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยทีเดียวสำหรับเหล่า Duelist การ์ดในเกมและการเล่นจริงนั้นจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักดังต่อไปนี้ครับ[b]1. Monster Card [/b][p]การ์ดมอนสเตอร์นั้นเปรียบเหมือนการ์ดตัวละครต่างๆ ที่ใช้เป็นการ์ดพื้นฐานในการต่อสู้กับผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม นอกจากนี้การ์ดมอนสเตอร์เองก็ยังถูกแบ่งออกไปอีกหลากหลายชนิด ดังนั้นการที่การ์ดมอนสเตอร์ที่มีเพียงพลังโจมตี (ATK) หรือพลังป้องกัน (DEF) สูงเพียงอย่างเดียวจึงยังไม่เพียงพอต่อการ Duel กับผู้เล่นคนอื่นๆ เช่น การ์ดมอนสเตอร์บางใบอาจจะมีความสามารถพิเศษ (Effect) ที่รุนแรงมากถึงแม้จะมีค่าพลังโจมตีหรือป้องกันที่ต่ำมากก็ตามครับ ทำให้ความสนุกของการเล่นการ์ดเกม Yu-Gi-Oh! นั้นก็ขึ้นอยู่กับความสามารถในการจัดชุดการ์ดของ Duelist แต่ละคนนั่นเองฮะ [img=43607]//online-station.net/wp-content/uploads/2020/03/default-image.jpg[/img][b]รายละเอียดของการ์ดมอนสเตอร์[/b] [b]Card Name / ชื่อ (ตำแหน่งที่ 1)[/b] ชื่อของการ์ดคือสิ่งที่ระบุความเป็นตัวตนของการ์ดมอนสเตอร์แต่ละใบนั้นเองครับ และถึงแม้บางครั้งรูปมอนสเตอร์ที่แสดงบนการ์ดจะแตกต่างกันแต่การ์ดกลับมีชื่อเหมือนกัน ก็จะถือว่าการ์ดเหล่านี้เป็นการ์ดเดียวกันนะครับ[b] Level / ระดับ (ตำแหน่งที่ 2) [/b] ระดับของการ์ดมอนสเตอร์แต่ละใบนั้นจะสามารถนับได้จากจำนวนดาวที่แสดงอยู่บนการ์ดครับ และระดับของการ์ดมอนสเตอร์นั้นยังมีผลต่อการเรียกการ์ดมอนสเตอร์ระดับสูงๆ ด้วยเช่นกันนะ เช่น การเรียกการ์ดระดับ 5 ดาวจะต้องมีการสังเวย (Tribute) การ์ดมอนสเตอร์ 1 ใบด้วยฮะ[b]Attribute / ธาตุ (ตำแหน่งที่ 3)[/b] ในบรรดาการ์ดมอนสเตอร์แต่ละใบนั้นต่างก็มีธาตุของมอนสเตอร์อยู่ด้วยเช่นกัน โดยจะสามารถแบ่งธาตุของมอนสเตอร์ได้ทั้งหมด 6 ธาตุ ได้แก่ ความมืด (Dark), ดิน (Earth), ไฟ (Fire), แสงสว่าง (Light), น้ำ (Water) และลม (Wind) และบางครั้งธาตุของมอนสเตอร์ก็ยังมีความสำคัญต่อผลจากการใช้ความสามารถพิเศษระหว่างการ Duel อีกด้วยครับ[img=43608]//online-station.net/wp-content/uploads/2020/03/default-image.jpg[/img][b] Type / ชนิด (ตำแหน่งที่ 4)[/b] นอกจากการแบ่งการ์ดมอนสเตอร์ออกตามชนิดของธาตุแล้ว ยังมีการแบ่งออกตามชนิดของมอนสเตอร์ที่แสดงอยู่ในการ์ดแต่ละใบด้วยครับ ซึ่งการแบ่งแบบนี้จะสามารถจัดชนิดของการ์ดมอนสเตอร์ได้ถึง 20 ชนิดเลยครับ ได้แก่ Dragon / Fiend / Machine / Spellcaster / Fairy / Thunder / Zombie / Insect / Aqua / Warrior / Dinosaur / Pyro / Beast-warrior / Reptile / Rock / Beast / Fish / Plant / Wing Beast / Sea Serpent และการ์ดมอนสเตอร์แต่ละใบยังสามารถมีชนิดของการ์ดได้มากกว่า 1 ชนิดด้วยนะฮะ[b]Card Number / หมายเลขการ์ด (ตำแหน่งที่ 5) [/b]สำหรับการ์ดแต่ละใบนั้นก็จะมีหมายเลขกำกับด้วยครับ แต่ข้อมูลตรงนี้จะมีประโยชน์สำหรับเพื่อนๆ ที่เล่นการ์ด Yu-Gi-Oh! ของจริงซะมากกว่าครับ เพราะจะช่วยให้ง่ายต่อการสะสมหรือจัดเรียงตามลำดับการ์ดในแต่ละ Booster Pack เท่านั้นจ้า สำหรับ Duelist ที่เล่นเกมก็ไม่ได้ใช้ข้อมูลตรงนี้เลยฮะ[b]ATK & DEF / พลังโจมตีและพลังป้องกัน (ตำแหน่งที่ 6)[/b] การ์ดมอนสเตอร์แต่ละใบนั้นก็จะมีค่าพลังโจมตี และพลังป้องกันที่แตกต่างกันออกไปครับ สำหรับการ์ดที่มีค่าพลังเหล่านี้สูงก็จะมีประโยชน์ระหว่างการใช้โจมตีหรือป้องกันใน Battle Phase ของผู้เล่นแต่ละคน[b] Card Description / คำอธิบาย (ตำแหน่งที่ 7)[/b] หากเป็นการ์ดมอนสเตอร์ทั่วๆ ไปจะมีการแสดงคำบรรยายเกี่ยวกับข้อมูลของมอนสเตอร์บนการ์ดในช่องนี้ครับ แต่หากเป็นการ์ดมอนสเตอร์แบบมีความสามารถแล้วล่ะก็ ในช่องนี้ก็จะเป็นข้อมูลความสามารถพิเศษของการ์ดมอนสเตอร์ใบนั้น หรือวิธีการใช้ความสามารถของมอนสเตอร์แต่ละใบครับ ซึ่งโดยปกติแล้วความสามารถพิเศษของการ์ดมอนสเตอร์จะยังไม่สามารถเรียกใช้ได้หากการ์ดถูกวางคว่ำอยู่บนสนามนะประเภทของการ์ดมอนสเตอร์ •[b] Normal Monster (มอนสเตอร์ปกติ)[/b]การ์ดมอนสเตอร์ประเภทนี้คือการ์ดแบบพื้นฐานที่ไม่มีความสามารถพิเศษใดๆ อยู่เลย และปกติแล้วมักจะมีค่าพลังโจมตีและพลังป้องกันสูงกว่าการ์ดมอนสเตอร์แบบมีความสามารถ ทำให้ง่ายต่อการเรียกใช้ในทุกสถานการณ์[img]//online-station.net/wp-content/uploads/2020/03/default-image.jpg[/img]• [b]Fusion Monster (มอนสเตอร์รวมร่าง) [/b]การ์ดมอนสเตอร์รวมร่างคือการ์ดแบบพิเศษที่อยู่ใน Fusion Deck เท่านั้น (แยกออกจากชุดการ์ดหลัก) และจะสามารถเรียกใช้ได้โดยอาศัยการสังเวยการ์ดมอนสเตอร์ใบอื่นๆ ที่ปรากฏชื่ออยู่ในช่องคำอธิบาย คู่กับการใช้การ์ดเวทมนตร์รวมร่าง (Polymerization) และยังมีค่าพลังโจมตีและป้องกันที่ค่อนข้างสูง รวมถึงมอนสเตอร์รวมร่างบางใบยังมีความสามารถพิเศษอีกด้วย [img]//online-station.net/wp-content/uploads/2020/03/default-image.jpg[/img]• [b]Ritual Monster (มอนสเตอร์บูชายัญ)[/b] การ์ดมอนสเตอร์บูชายัญนั้นเป็นมอนสเตอร์ที่เรียกใช้แบบพิเศษเพราะต้องอาศัยการ์ดเวทมนตร์บูชายัญ (Ritual Spell Card) ให้ถูกต้องกับการ์ดมอนสเตอร์บูชายัญแต่ละใบ การ์ดมอนสเตอร์บูชายัญจะถูกใส่ไว้ในชุดการ์ดหลักตามปกติ และยังมีค่าพลังโจมตีและป้องกันที่ค่อนข้างสูง รวมถึงมอนสเตอร์บูชายัญบางใบยังมีความสามารถพิเศษอีกด้วย [img]//online-station.net/wp-content/uploads/2020/03/default-image.jpg[/img]• [b]Effect Monster (มอนสเตอร์ที่มีความสามารถพิเศษ)[/b] การ์ดมอนสเตอร์แบบมีความสามารถนั้นคือการ์ดมอนสเตอร์ที่มีรายละเอียดของความสามารถปรากฏอยู่ในช่องคำอธิบาย โดยการ์ดมอนสเตอร์แบบมีความสามารถนั้นยังจะสามารถแบ่งชนิดของความสามารถระหว่างการเล่นได้อีก 5 แบบ คือ [img]//online-station.net/wp-content/uploads/2020/03/default-image.jpg[/img][b]Flip Effect[/b]: ความสามารถของการ์ดจะถูกใช้ก็ต่อเมื่อผู้เล่นได้หงายการ์ดใบดังกล่าวจากสถานะ Face-down อยู่บนสนาม หรือจากการหงายการ์ดเมื่อถูกผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามโจมตีใน Battle Phase หรือการหงายการ์ดจากความสามารถพิเศษของการ์ดใบอื่น โดยการ์ดแบบนี้จะมีคำว่า Flip ปรากฏอยู่บนการ์ด[b]Continuous Effect[/b]: ความสามารถของการ์ดจะถูกใช้ทันทีเมื่อการ์ดดังกล่าว Face-up อยู่บนสนาม และผลของความสามารถจะยังคงมีอยู่ตราบเท่าที่การ์ดใบนี้ยังหงายหน้าอยู่บนสนาม ดังนั้นเมื่อการ์ดใบนี้ถูกทำลายลงไป หรือกลับคืนสู่สถานะ Face-down ความสามารถของการ์ดก็จะหายไป[b]Ignition Effect[/b]: ความสามารถของการ์ดจะถูกใช้ก็ต่อเมื่อผู้เล่นได้ทำการประกาศใช้ความสามารถของการ์ดตามเงื่อนไขที่มีอยู่ในช่องคำอธิบายในระหว่าง Main Phase เท่านั้น ซึ่งการ์ดเหล่านี้มักจะมีความสามารถเด่นๆ และคุ้มค่าต่อการใช้ความสามารถเพื่อสร้าง Combo ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี[b]Trigger Effect[/b]: ความสามารถของการ์ดจะถูกใช้ในทันทีเมื่อเกิดการกระทำจากผู้เล่นฝ่ายใดก็ได้ ที่ตรงตามเงื่อนไขที่ปรากฏอยู่บนการ์ด เช่น “เมื่อการ์ดใบนี้ถูกทำลายจะสามารถ…” เป็นต้น ซึ่งมักจะเป็นความสามารถพิเศษที่ดี แต่ก็ง่ายต่อการที่ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามจะระวังและขัดขวางการใช้ความสามารถได้เช่นกัน[b]Multi-Trigger Effect[/b]: ความสามารถของการ์ดจะถูกใช้ในทันทีเมื่อเกิดการกระทำจากผู้เล่นฝ่ายใดก็ได้ ที่ตรงตามเงื่อนไขที่ปรากฏอยู่บนการ์ด แต่ความสามารถที่แตกต่างจากการ์ดมอนสเตอร์แบบ Trigger Effect ก็คือ จะสามารถใช้ความสามารถในระหว่างการทำ Chain Link ได้ด้วย ซึ่งปกติแล้วการ์ดมอนสเตอร์แบบมีความสามารถพิเศษทั่วๆ ไปทำไม่ได้ [b]2. Spell & Trap Card[/b] นอกจากการใช้การ์ดมอนสเตอร์ในการต่อสู้กันใน Battle Phase แล้ว การชิงไหวชิงพริบระหว่างการ Duel ก็จะสามารถเพิ่มความสนุกได้ด้วยการใช้ การ์ดเวทมนตร์ (Magic Card) และ การ์ดกับดัก (Trap Card) ระหว่างการเล่นครับ ซึ่งถึงแม้การเล่นในเกมจะเป็นเพียงการจำลองจากการ Duel ของการ์ดเกมจริงก็ตาม แต่ความไวต่อการตอบสนองในการใช้การ์ดทั้ง 2 ประเภทนั้นกลับทำออกมาได้ชนิดที่เรียกว่าเหมือนการเล่นเกมจริงเลยทีเดียวครับ ดังนั้นความสนุกของเกมจึงไม่ได้ลดน้อยลงไปจากการเล่นจริงเลยฮะ [img=43613]//online-station.net/wp-content/uploads/2020/03/default-image.jpg[/img][b]รายละเอียดของการ์ดเวทมนตร์และกับดัก [/b][b] Card Name / ชื่อ (ตำแหน่งที่ 1) [/b]เช่นเดียวกับการ์ดมอนสเตอร์ ชื่อของการ์ดเวทมนตร์หรือกับดักคือสิ่งที่ระบุความเป็นตัวตนของการ์ดแต่ละใบนั่นเองครับ และถึงแม้บางครั้งรูปที่แสดงบนการ์ดจะแตกต่างกันแต่การ์ดกลับมีชื่อเหมือนกัน ก็จะถือว่าการ์ดเหล่านี้เป็นการ์ดเวทมนตร์หรือกับดักใบเดียวกันนะครับ[b]Type / ชนิด (ตำแหน่งที่ 2) [/b]การ์ดเวทมนตร์หรือกับดักจะถูกแสดงด้วยสัญลักษณ์เพื่อระบุว่าเป็นการ์ดชนิดใดนั่นเอง ซึ่งจะแตกต่างจากการ์ดมอนสเตอร์ที่แสดงธาตุของมอนสเตอร์บนการ์ดที่ตำแหน่งนี้[b] Icon / เครื่องหมาย (ตำแหน่งที่ 3) [/b] เครื่องหมายที่ปรากฏอยู่บนการ์ดเวทมนตร์หรือกับดักนั้นแบ่งออกได้ทั้งหมด 6 ชนิด ได้แก่ Equip / Field / Quick-Play / Ritual / Continuous / Counter เพื่อแสดงคุณสมบัติของการ์ดเวทมนตร์และกับดักแต่ละใบว่าทำหน้าที่พิเศษแตกต่างกันอย่างไร ดังนั้นการ์ดที่ไม่มีเครื่องหมายจึงแสดงถึงความเป็นการ์ดเวทมนตร์หรือกับดักแบบทั่วไปเท่านั้น[b] Card Description / คำอธิบาย (ตำแหน่งที่ 4)[/b] ความสามารถของการ์ดเวทมนตร์หรือกับดักแต่ละใบนั้นจะถูกกำหนดด้วยเงื่อนไขที่ปรากฏอยู่ในช่องคำอธิบายนี้ ดังนั้นจึงควรที่จะอ่านรายละเอียดของการ์ดอย่างระมัดระวังด้วยนะครับ[b] Card Number / หมายเลขการ์ด (ตำแหน่งที่ 5)[/b] สำหรับการ์ดแต่ละใบนั้นก็จะมีหมายเลขกำกับด้วยครับ แต่ข้อมูลตรงนี้จะมีประโยชน์สำหรับเพื่อนๆ ที่เล่นการ์ด Yu-Gi-Oh! ของจริงซะมากกว่าครับ เพราะจะช่วยให้ง่ายต่อการสะสมหรือจัดเรียงตามลำดับการ์ดในแต่ละ Booster Pack เท่านั้นจ้า สำหรับ Duelist ที่เล่นเกมก็ไม่ได้ใช้ข้อมูลตรงนี้เลยฮะ

คำที่เกี่ยวข้อง

สมัครรับข่าว OS

คุณอาจสนใจเรื่องนี้