Evolution of the Coalitionรูปแบบ วิวัฒนาการ และทิศทางที่ควรจะเป็นของระบบฟิสิกส์ ของเล่นชิ้นล่าสุดแห่งวงการเกมยุคใหม่

แชร์เรื่องนี้:
Evolution of the Coalitionรูปแบบ วิวัฒนาการ และทิศทางที่ควรจะเป็นของระบบฟิสิกส์ ของเล่นชิ้นล่าสุดแห่งวงการเกมยุคใหม่
[p]“นี่ๆ ดูสิ โห Crysis สุดยอดเลยอ่ะ อย่างแจ่ม รอแทบไม่ไหวแล้ว ต้องรีบไปถอย Windows Vista กับการ์ดจอมาสำรองเตรียมไว้ก่อนเลย” นี่คือประโยคโดยคร่าวๆ ที่เชื่อเหลือเกินว่าพวกเรานักเล่นเกมน่าจะเคยได้ยินจากปากของคนใกล้ตัว (หรืออาจจะออกมาจากปากของตัวเองก็ได้ใครจะรู้) ที่ชื่นชอบเกมแนว FPS ชนิดเข้าถึงแก่นซึมถึงกระดูกมาไม่น้อย แน่ล่ะ ผมเองก็ได้ยินเสียงพร่ำบอกสรรเสริญเหล่านี้เสียจนแทบแก้วหูทะลุ แต่ในใจนั้นนะหรือ…[b]เฉยเมย และชาด้านสิ้นดี…..[/b][p]โอเค ผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่ผ่านเกมแนว FPS มาในระดับหนึ่ง แม้จะไม่ได้เก่งฉกาจระดับสะบัดเมาส์เป่าทะลุศีรษะเหมือนใครต่อใคร แต่ก็เชื่อว่าไม่น้อยหน้าไปกว่ากัน ยิ่งกับ Crysis ด้วยนั้น ถ้าไม่นับเอาลูกเล่นทางระบบชุด Nanosuit สุดแหวกแนว เนื้อเรื่องที่เข้มข้นขึ้น หรือระบบ Zero-G Environment ที่เป็นตัวชูโรงหลักๆ แล้วละก็ ไอ้พวกกราฟิก ความสมจริง หรือแม้กระทั่ง ‘ระบบฟิสิกส์’ ที่ได้รับการคำนวณมาอย่างเฉียบขาดและตอบสนองได้เต็มอัตราศึกนั้น แทบจะกระดิกเอาความสนใจของผมไม่ขึ้นแม้แต่เข็มไมล์เดียว ผมก็อดไม่ได้ที่จะมีอคติ และมองมันว่าเป็นเพียง ‘น้ำตาลเคลือบกะละแมไหม้รสขม’ รสชาติซ้ำๆ ที่กินกันไปไม่รู้กี่รอบต่อกี่รอบจนพาลเอียนเลี่ยนกันเป็นแถบๆ [p]ผมคงต้องลองถามพี่ๆ เพื่อนๆ ในที่นี้กันก่อนว่า เคยหรือไม่ครับ กับการที่เราได้มาลองเล่นเกมที่มีการตอบสนองทางระบบ ‘ฟิสิกส์’ ที่ผู้พัฒนาคุยอวดเอาไว้ว่าสมจริง และสร้างความหลากหลาย แต่แล้วเรากลับจบด้วยการ ‘เล่นมันในแบบเดิมๆ’ ที่เราคุ้นเคยกัน? ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือเกมแนว FPS ที่กำลังจะวางตลาดอย่าง Crysis ที่ได้กล่าวไป ที่แม้ว่าจะมีการยืนยันว่าเกมการเล่นจะมีวิธีในการผ่าน และใช้ระบบดังกล่าวให้เป็นประโยชน์ได้อย่างอิสระ แต่เชื่อว่าหลายคน (รวมทั้งผมด้วย) เมื่อได้แรกสัมผัสมัน คงหนีไม่พ้นที่จะใช้ความเคยชินด้วยการโหลดกระสุนเข้ารังเพลิง และกราดยิงทุกสิ่งที่เคลื่อนไหวได้อยู่ร่ำไปแน่ๆ ไม่ว่าสถานการณ์จะอำนวยมากน้อยแค่ไหนก็ตาม (ไม่จำเป็นต้องใช้เทคนิคใหม่ๆ ที่เพิ่มเข้ามาก็จบเกมได้โดยไม่ยาก)[p][b]แล้วอย่างนี้ ผมจะเอาฟิสิกส์ต้นกล้วยหรือแผ่นกระดานไปทำไมกัน? [/b][p]อาจจะต้องยอมรับกันตรงนี้ว่า หลายต่อหลายครั้ง ไอ้ความเปิดกว้างและระบบฟิสิกส์ที่สามารถตอบสนองได้นั้น มันดูกลมกลืน และยากที่จะจำแนกในมาตรฐานของความเป็นนักเล่น ‘รุ่นเก่า’ ที่ยึดติดกับรูปแบบเดิมๆ ที่เต็มไปด้วยขอบเขตจำกัดทางเทคโนโลยีและเทคนิคในการเขียนเกม ซึ่งส่วนใหญ่วัตถุที่ตอบสนองได้มีเพียงไอเทม กุญแจ กระสุน และศัตรูเท่านั้น เราทำได้แค่เพียงเดินเหินโลดแล่น ยิงหรือทำลายข้าศึก และแก้ปริศนาเพื่อผ่านฉากตามที่กำหนด ไม่มากไม่น้อยไปกว่านี้ เป็นโลกที่แคบและตายตัวชัดเจน และเป็นหน้าที่ของผู้เล่นที่จะเรียนรู้และเข้าใจกฎ เพื่อที่จะอยู่รอดและเล่นมันให้จบลุล่วงไปให้ได้ (ส่วนใหญ่เกมพวกนี้จะมาพร้อมกับ Tutorial แนะนำเบื้องต้นกันเป็นส่วนมาก)[p]ทีนี้ย้อนกลับมามองดูเกมอย่าง Half-Life 2 สุดยอดเกมแนว FPS ขึ้นหิ้งอีกชิ้น ที่มีอยู่ครั้งหนึ่ง ผมได้ไปเปิดดูไฟล์วิดีโอการเล่นของเซียนผู้หนึ่ง ที่สามารถจบเกมนี้ได้ในเวลาเพียงสามชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งดูจากเทคนิคการเล่น ความว่องไว และความเจนสนามที่สัมผัสได้ ผมกล้ายืนยันว่าคนคนนี้ไม่ใช่นักเล่นเกมหน้าใหม่แน่ๆ แต่สิ่งที่ทำให้ผมประหลาดใจเสียยิ่งกว่าคือ หลายครั้ง เขาใช้ไอ้เจ้าระบบ ‘ฟิสิกส์’ ที่มีอยู่ในเกมเพื่อแก้ปริศนาที่แม้แต่ตอนที่ผมเล่น ก็นึกตามไม่ถึง เล่นเอาอ้าปากเหวอไปหลายตลบ และประหลาดใจหนักข้อเมื่อเห็นว่าสิ่งเหล่านี้ มันดำเนินไปอย่างเป็นธรรมชาติ ไร้รอยติดขัด [p][b]จากตัวอย่างที่ได้กล่าวไปนั้น มันกำลังจะบอกอะไรแก่เรา?[/b][p]ในทัศนะของผมนั้น ขอบเขตของเทคโนโลยีกำลังเดินทางมาถึงจุดสูงสุดอย่างที่ไม่เหลือคราบไคลของยุคบุกเบิกเมื่อสองทศวรรษที่แล้ว ผมไม่ปฏิเสธถึงความสวยงามขององค์ประกอบต่างๆ ที่เข้าใกล้ระดับความเป็นจริงทุกขณะ ระบบฟิสิกส์เองก็ไม่มีข้อยกเว้น แต่ขึ้นชื่อว่าเกมก็ยังคงเป็นเกม มันเป็นเพียงโลกเสมือนที่ได้รับการจำลองมา และการที่ผู้พัฒนาจะเพิ่มเติมในส่วนของการเข้าถึงได้ง่ายของการใช้ลูกเล่นระบบฟิสิกส์ด้วยการออกแบบโครงสร้างของเกมให้อำนวยต่อการใช้งานดังกล่าวได้ราวกับว่ามันเป็นสิ่งที่ออกมาอย่างเป็นธรรมชาติพร้อมทั้ง ‘ละลาย’ พฤติกรรมความเคยชินเดิมๆ ได้อย่างแนบเนียน น่าจะการใช้งานเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดนี้ได้อย่างคุ้มค่า และเป็นการกระตุ้นให้ผู้พัฒนารุ่นหลังๆ ตระหนักและใส่ใจรายละเอียดของเกมการเล่น ที่ไม่ได้มีแค่ภาพ และเสียง แต่เป็นสัมผัสของความสมจริงทางฟิสิกส์นี้ เพื่อนำไปสู่เกมที่ดียิ่งๆ ขึ้นไปในอนาคต [p]สุดท้ายก็ยังเชื่อว่าของเล่นชิ้นใหม่นี้น่าจะมีเวลาให้ได้พิสูจน์ตนเองอีกนาน เพราะอย่างที่ได้มีคนกล่าวไว้ ไม่ว่าจะสิ่งใดก็ตาม ต่างก็ต้องผ่านการกัดกร่อนและยืนหยัดมาระยะหนึ่งเสียก่อน ถึงจะประจักษ์ในคุณค่าของมันได้อย่างสมศักดิ์ศรี (เช่นเดียวกับยุคที่เมาส์ การ์ดเสียง และการ์ดจอ ผงาดขึ้นบนโลกแห่งเกมเป็นครั้งแรก) และเมื่อดูจากทิศทางของเกมที่ใช้ระบบฟิสิกส์ที่กำลังจะออกในช่วงท้ายปีนี้ (Crysis, Bioshock, Quake Wars) นั้น ผมก็คิดว่าน่าจะลองเดิมพันกับเจ้าของเล่นชิ้นใหม่นี้ดูกันสักตั้ง ก็ใครจะรู้เล่า ว่าในอนาคตข้างหน้า...[b]“วิวัฒนาการเหล่านี้ อาจจะระเบิดหัวใจของนักเล่นให้กระจายเป็นเสี่ยงๆ เลยก็เป็นได้” [/b]5 เกมที่ผมกำลังเล่นในขณะนี้ - Medieval 2: Total War- Patrician 3- Overlord - Europa Universalis 3- Knight of Honor [center][img=38567]//img.online-station.net/image_content/2020/03/default-image.jpg[/img][/center] [center]แม้เกมอย่าง Crysis จะยังไม่ถึงกำหนดวางจำหน่าย แต่มันก็น่าลุ้นอยู่ใช่ที่ ว่าเกมที่เข้าสู่วิวัฒนาการสายพันธุ์แห่งการปะทะของระบบฟิสิกส์ยุคใหม่นี้ จะก้าวไปในทิศทางที่น่าตื่นใจขนาดไหน[/center]
แชร์เรื่องนี้:

เรื่องที่คุณอาจสนใจ