Happy Christmas จ๊ะครูน้อยมาทีไรต้องมีอะไรดีๆมาฝากเสมอ นี้ก็ใกล้Christmasมาเต็มทีแล้วดังนั้นครูน้อยเลยเอาเนื้อเรื่อง กำเนิด christmas แต่ไม่ใช้ให้เข้ามาอ่านกันเฉยๆ แล้วไม่มีอะไรมาแจก ถ้าไม่มีอะไรมาแจกก็ไม่ใช่ครูน้อยแล้ว ซึ่งครูน้อยก็มีชุดซานต้าสวยๆมาแจกกันวันละ 6 รางวัล [ซานต้า(ชาย) 3 ชุด ซานตี้ (หญิง) 3 ชุด] เริ่มตั้งแต่วันที่ 22-25 ธันวาคม 2548 กติกาก็มีอยู่ว่า จะมีทีมงาน หรือGM จะตั้งคำถามเกี่ยวกับวันChristmas ในเกมหากใครที่รู้คำตอบก็สามารถตอบด้วยโทรโข่ง หากใครที่ตอบได้และถูกต้องก็รับชุดซานต้าสวยๆจากGmกันไปเลย GM จะมีคำถามให้เวลา 20.00 น. ทุก Server ใน Ch.0 เท่านั้นนะจ๊ะ อ่านกันแล้วจำกันให้แม่น
ประวัติวันคริสต์มาส (Christmas History)คริสต์มาส คือการฉลองการบังเกิดของพระเยซูที่เราเฉลิมฉลองกันใน วันที่ 25 ธันวาคม คำว่า ?คริสต์มาส? เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ Christmas ซึ่งมาจากคำภาษาอังกฤษโบราณว่า Christes Maesse ที่แปลว่า บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า เพราะการร่วมพิธีมิสซา เป็น ประเพณีสำคัญที่สุดที่ชาวคริสต์ถือปฏิบัติกันในวันคริสต์มาส คำว่า Christes Maesse พบครั้งแรกในเอกสารโบราณเป็นภาษาอังกฤษ ในปี 1038 และ คำนี้ก็ได้แปรเปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas ในภาษาไทย ?คริสต์มาส? ก็มีความหมายเช่นกัน คำว่า มาส แปลว่า เดือน เทศกาลคริสต์มาส จึงเป็นเดือนที่เราระลึกถึงพระเยซูคริสตเจ้าเป็นพิเศษ อีกความหมายหนึ่งของคำว่า มาส คือ ดวงจันทร์ ฉะนั้นจึงตีความหมายเป็นภาษาไทยได้อีกอย่างหนึ่งคือพระเยซูทรงเป็นความสว่างของโลก เหมือนดวงจันทร์เป็นความสว่างในตอนกลางคืน
............คำทักทาย ที่เราได้ฟังบ่อย ๆ ในเทศกาลนี้คือ Merry X? mas คำว่า Merry ในภาษาอังกฤษโบราณแปลว่า สันติสุข และความสงบทางใจ เพราะฉะนั้น คำนี้จึงเป็นคำที่ใช้อวยพรคนอื่น ขอให้เขาได้รับสันติสุขและความสงบทางใจ เนื่องในโอกาสเทศกาลคริสต์มาส
ความเป็นมาของเทศกาลคริสต์มาส
ชาวไทยฉลอง ?เฉลิมพระชนม์พรรษา? ในวันที่ 5 ธันวาคม เพื่อระลึกถึง พระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ทุกปี ในสมัยโบราณก็มีประเพณีเช่นเดียวกัน ชาวโรมันมีการระลึกถึงการสมภพของพระเจ้าจักรพรรดิ คนท้องถิ่นอื่นก็ระลึกถึงและเฉลิมฉลองวันเกิดของกษัตริย์ หรือผู้ปกครองบ้านเมืองของตนด้วยความยินดี แม้แต่ชาวยิวในสมัยของพระเยซูเอง ก็ฉลองการเกิดของกษัตริย์เฮรอดเช่นเดียวกัน (มธ. 14: 16) เพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องธรรมดา ที่ชาวคริสต์สมัยโบราณถือเอาประเพณีของขนในท้องถิ่นนั้น มาประยุกต์เข้ากับศาสนา โดยจัดให้มีการฉลองเพื่อระลึกถึงการบังเกิดของพระเยซู ที่เขายกย่องเหมือนกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งสากลโลกผู้ทรงเกียรติเลอเลิศ ประเพณีนี้ได้เริ่มมาจากกรุงโรมในศตวรรษที่ 4 และค่อย ๆ เผยแพร่ไปทุกทวีป
วิวัฒนาการแห่งการฉลองวันคริสต์มาส
การฉลองคริสต์มาสแพร่มาจากกรุงโรม ไปยังทุกประเทศพร้อมกับศาสนาคริสต์ที่ค่อย ๆ แผ่ขยายไปในที่ต่าง ๆ จนในปี ค.ศ. 1100 ประชาชนก็เป็นคริสตชนทั้งหมดทั่วยุโรป และก็ได้พบว่า มีการฉลองวันคริสต์มาสพร้อมกันในยุโรป เพราะถือว่า เป็นวันสำคัญวันหนึ่งในศาสนา
เราสามารถแบ่งวิวัฒนาการ ของการฉลองวันคริสต์มาสเป็น 4 ช่วงคือ
ค.ศ. 330-1100 ช่วงนี้เป็นช่วงแห่งการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ทีละเล็กทีละน้อยก็มีการฉลองวันคริสต์มาส และก็มีการเริ่มเทศกาล เตรียมรับเสด็จพระเยซูเป็นเวลา 4 สัปดาห์ก่อนคริสต์มาสเป็นเวลาเตรียมตัวโดยการใช้โทษบาป อดอาหารและภาวนาเป็นพิเศษ
ค.ศ. 1100-ศตวรรษที่ 16 ช่วงนี้มีการพัฒนาประเพณีต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการฉลองคริสต์มาส เช่นการแต่งเพลงคริสต์มาส การทำถ้าพระกุมาร ทำต้นคริสต์มาส
ศตวรรษที่ 16-19 ระยะนี้มีการแตกแยกในคริสตศาสนา เกิดมีนิกายบางนิกายขึ้นมา ซึ่งบางนิกายไม่สนับสนุนให้มีการฉลองวันคริสต์มาส ด้วยเหตุผลที่ว่าคริสต์มาสเป็นวันที่มนุษย์เลือกเอาเองโดยได้รับอิทธิพลจากชาวโรมัน ที่ฉลองดวงอาทิตย์คล้ายเป็นพระเจ้าของเขา และชาวบ้านก็ให้ความสำคัญแก่วันนี้มากกว่าวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันที่พระเจ้ากำหนดให้เป็นวันศักดิ์สิทธิ์ แต่อย่างไรก็ตามชาวคาทอลิกพร้อมกับคริสตศาสนาหลาย ๆ นิกาย เช่น Lutheran เป็นต้น ยังรักษาการฉลองนี้ไว้ด้วยความอบอุ่น และศรัทธาจนถึงปัจจุบัน
ศตวรรษที่ 19- ปัจจุบัน เริ่มมีประเพณีอื่นทางโลกแทรกเข้ามาซึ่งมีอิทธิพลต่อการฉลองนี้มาก เช่นเรื่องซานตาคลอสให้ของขวัญ การส่งบัตรอวยพรคริสต์มาสซึ่งร้านต่าง ๆ ยินดีสนับสนุน เพราะเป็นโอกาสดีที่จะขายสินค้า ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจให้ดีขึ้นไปในตัว ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านทั่วไปก็อาจจะลืมความสำคัญ หรือความหมายที่แท้จริงของคริสต์มาส โดยหันมาเพิ่มความสนใจในสิ่งภายนอกมากว่า
การทำ ถ้าพระกุมาร
ตามความในพระคัมภีร์พระเยซูเกิดในรางหญ้า (ลก. 2: 7) ซึ่งเราไม่แน่ใจว่าอยู่ตรงไหน แต่เนื่องจากในแถบเบธเลเฮม มีถ้าอยู่มากมาย ที่พวกดูแลฝูงแกะใช้เป็นที่พักของสัตว์ (รางหญ้า) และตัวเอง เป็นความคิดของชาวคริสต์ธรรมดาว่า รางหญ้าที่พระวรสารอ้างถึงนั้น คงอยู่ในถ้าแห่งหนึ่งในเบธเลเฮม ประเพณีการทำถ้านั้น มาจากอิตาลีโดยนักบุญฟรังซิส อัสซีซี เป็นผู้เริ่ม โดยในวันคริสต์มาสปี ค.ศ. 1223 นักบุญฟรังซิสชวนให้ชาวบ้านทุกคนในหมู่บ้านที่ Greccio ที่ท่านอยู่ ร่วมแสดงละคร มีการเตรียมถ้าพระกุมารและใช้สัตว์จริง ๆ เช่น วัวและลา อยู่ในถ้าด้วย (การที่ใช้วัวและลา เพราะเป็นสัตว์ที่ชาวบ้านใช้เป็นประจำ) จากนั้น ก็จุดเทียนมายืนรอบ ๆ ถ้าที่ทำขึ้น ร้องเพลงสรรเสริญพระเจ้าจนถึงสว่างและฟังมิสซาด้วยกันตั้งแต่นั้นมา ประเพณีทำถ้าพระกุมารทั้งในวัดและในบ้านก็แพร่หลายไปทั่วทุกหนแห่ง
ตอบคำถามกับครูน้อยคอยแนะชิงชุดแซนต้า ใน Ran Online
แชร์เรื่องนี้:
แชร์เรื่องนี้:
About the Author