เทคนิค ROTCG การเลือกการ์ดให้เหมาะกับ Deck

แชร์เรื่องนี้:
เทคนิค ROTCG การเลือกการ์ดให้เหมาะกับ Deck

เทคนิคการเลือกการ์ดให้เหมาะกับ Deck

การเล่นการ์ดนั้น ไม่ยากอย่างที่คิด แต่ก็ไม่ง่ายอย่างที่หวังเช่นกัน เวลาเล่นก็ง่ายดีหรอกครับ แต่การจัดสำรับ (Deck) นี่สิ เป็นตัวบ่งบอกถึงประสบการณ์ของผู้เล่นได้เป็นอย่างดี ถ้าจับหลักการเลือกการ์ดได้บ้าง ก็จะทำให้ออกแบบ Deck ที่เล่นได้ง่ายขึ้นมาก เมื่อเลือกการ์ดที่เหมาะสมเป็นแล้ว ก็ยังส่งผลทำให้จัด Deck แบบต่างๆ ในรูปแบบที่เราต้องการได้อีก นับเป็นจุดที่สนุกที่ไม่น้อยไปกว่าการเล่นการ์ดเช่นกัน ในตอนนี้จะมาพิจารณาจากสำรับแรกที่เราได้รับตอนเริ่มเกม แล้วนำมาปรับแต่งใหม่ให้เหมาะสมมากขึ้นครับ

 

Deck เบื้องต้น

การ์ดชุดเริ่มต้น

Monster Card : 15 ใบ

แถว 1 : Poring 3 ใบ, Lunatic 3 ใบ, Roda Frog 3 ใบ

แถว 2 : Hornet 1 ใบ, Spore 2 ใบ, Rocker 2 ใบ

แถว 3 : Familiar 1 ใบ

 

Monster Card อื่นๆ

Fabre

Thief Bug

Chonchon

 

การ์ดที่ไม่มีในสำรับเริ่มต้น คือ Fabre, Thief Bug, Chonchon ส่วน Hornet, Spore, Rocker, Familiar ก็มีไม่เต็ม 3 ใบ

สำหรับ Fabre, Thief Bug และ Chonchon ต่างมีพลังโจมตีแบบ Pow 1 (ขั้นสูง) ที่สูงกว่าการ์ดเริ่มต้นใบอื่น แต่ HP และ Pow 2 (ขั้นต่ำ) จะค่อนข้างต่ำ

 

 

Item Card : 6 ใบ

แถว 1 : Knife 1 ใบ, Potato 1 ใบ, Cotton Shirt 2 ใบ

แถว 2 : Novice Amulet 2 ใบ

 

Item Card อื่นๆ

เหมือนในสำรับเริ่มต้นทุกใบ

 

Skill Card : 9 ใบ

แถว 1 : Power Up 3 ใบ, Heal 2 ใบ, Red Gem 2 ใบ

แถว 2 : Poison 2 ใบ

 

Power UP เพิ่มพลัง Pow 1 อีก 600 หน่วย มีผลกับมอนสเตอร์ฝ่ายเราทุกตัว

Heal ฟื้น HP 1,500 หน่วย ให้มอนสเตอร์ฝ่ายเราได้ 1 ตัว (ไม่เกิน HP สูงสุด)

Red Gem ทำให้ได้ SP เพิ่ม 3 หน่วยใน Turn เราถัดไป มีผลครั้งเดียว

Poison ทำให้ศัตรู 1 ตัวติดพิษ ลดเทิร์นละ 600 HP มีผลนาน 4 Turn

 

Skill Card อื่นๆ

Napalm Beat

Hiding

 

ใบใหม่ที่มีจะมี Napalm Beat และ Hiding ความสามารถของ Napalm Beat คือ ยิง 1,000 หน่วยใส่มอนสเตอร์ 1 ตัวเมื่อเราเป็นฝ่ายโจมตี ส่วน Hiding เป็นการทำให้ลูกเต๋าที่ค่ามากที่สุดและน้อยที่สุดของมอนสเตอร์หายไป ซึ่งถ้าทอยลูกเต๋าได้ในส่วนที่หายไปจะทำให้โจมตีพลาด ใช้ได้ในช่วงป้องกัน

 

วิธีเลือกการ์ดมอนสเตอร์

สัดส่วนจำนวนการ์ดมอนสเตอร์ 15 ใบใน Deck ก็ประมาณนี้ อาจจะพลิกแพลงบ้างตามความชอบของแต่ละบุคคล พิจารณาจากค่า NSP ทางมุมซ้ายบนเป็นหลักครับ (NSP = ค่าร่ายที่ใช้นำการ์ดจากบนมือ มาสู่สนาม)

NSP 1 และ 2 รวมประมาณ 8 ใบ

NSP 3 ขึ้นไป รวมประมาณ 7 ใบ

แนะนำค่าร่าย 1 ประมาณ 6 และ 2 ประมาณ 3 ครับ แม้ว่าค่าร่าย 2 จะมีประสิทธิภาพมากกว่าค่าร่าย 1 แต่ถ้าไม่มีการ์ดค่าร่าย 1 ก็อาจจะถูกโจมตีต่อเนื่องได้ง่าย บางครั้งอาจถึงกับแพ้ในช่วงต้นเกมได้เช่นกัน แต่เป็นเพียงความเป็นไปได้อย่างหนึ่งเท่านั้นครับ เพราะเท่าที่ลองมาหลายครั้ง คนที่ไม่เล่นตัวค่าร่าย 1 จะสามารถตั้งตัวได้ทัน แถมยังจำกัดมอนสเตอร์ได้แค่ 3 ตัวเท่านั้น ดังนั้นอาจเปลี่ยนเป็นเน้นค่าร่าย 2 ขึ้นไปแทนก็ย่อมได้ อย่างไรก็ตาม ไม่ควรจัดแบบไม่มีมอนสเตอร์ค่าร่าย 1 หรือ 2 เลยนะครับ อย่าลืมว่า Concept หนึ่งของเกมนี้ คือ สามารถจั่วได้จนเต็มมือ ยิ่งลงการ์ดก็ยิ่งได้จั่วมาก

มอนสเตอร์ที่พ่วงค่า CSP (SP ที่ต้องจ่ายทุกเทิร์น) มาด้วย จะเก่งกว่าตัวปกติที่มีค่าร่ายเพื่อลงมาในสนาม (NSP) แต่ต้องจ่าย SP ให้แก่มอนสเตอร์ทีเรียกมาทุกเทิร์น ในเกมระยะยาวอาจมีปัญหาด้าน SP ที่ใช้งานได้ และยังทำให้เกมเริ่มค่อนข้างช้าอีกต่างหาก แต่การปฏิเสธมอนสเตอร์ที่มีค่า CSP เลยนั้นเป็นไปได้ยาก อีกทั้งช่วงท้ายเกมยังพอมี SP พอสมควรอีก ดังนั้นการใช้มอนสเตอร์ที่มีค่า CSP จึงควรเลือกแต่พอเหมาะครับ และควรเลือกตัวที่ค่าร่าย 3 4 ขึ้นไป ที่มีค่า CSP นะครับ อาจจะมีค่าร่าย 1/1, 2/1 ปนอยู่ในสำรับบ้างก็ได้

สำหรับเรื่องธาตุและชนิดของการ์ด จะไม่ค่อยมีผล แต่จะมีการ์ดสกิลบางใบมีผล เช่น Holy Light จะสร้างความเสียหายมอนสเตอร์ที่ไม่ใช่ธาตุศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น สำหรับการจัดธาตุและชนิดจะแตกต่างจากมอนสเตอร์จากในเกม Ragnarok Online นะครับ

การเลือกมอนสเตอร์ควรเลือกให้เหมาะสมกับแนวทาง Deck ที่จะเล่นด้วยนะครับ เป็นไปได้ยากที่จะมีมอนสเตอร์ตามสเป็คที่เราต้องการ ถ้าเลือดมากก็มักโจมตีเบา หรือสุ่มโจมตีแรงได้บ่อย แต่ส่วนมากพลังชีวิตน้อย จำเป็นต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ในช่วงแรกอาจจะตัดสินลำบาก ยิ่งตัวที่ดีที่สุดนี่ ไม่มีหรอกครับ แต่ถ้าเล่นไปเรื่อยๆ ก็จะพบตัวที่เราต้องการเอง โดยเฉพาะแข่งกับคนที่เล่นจนเลเวลสูง

ที่จริงถ้าไม่ซีเรียสเรื่องแพ้ชนะมาก ก็จัดแนวตลกๆ สวยงามไว้เล่นขำขันบ้างก็ได้ เช่น ตระกูล Poring หรือ Mini Boss ล้วน ยังไงแพ้ก็ยังได้ Zeny เรื่องของความรู้สึกนี่สิสำคัญยิ่งกว่า

 

วิธีเลือกการ์ดไอเทม

การ์ดประเภทต้องแปะบนการ์ดอีกใบหนึ่ง เวลาจะใช้ก็ต้องคิดดีๆ หน่อยนะครับ เพราะถ้าผลลัพธ์ไม่ดีเท่าที่ควรก็จะไม่คุ้มเท่าเพิ่มการ์ดมอนสเตอร์ค่าร่ายสูงสักใบหนึ่งแทน แถมถ้ามอนสเตอร์ที่แปะไอเทมอยู่ โดนกำจัดไปก็จะเท่ากับเสียการ์ดถึง 2 ใบทีเดียว ในทางกลับกันถ้าค่าร่ายสูงเกินไปก็จะใช้ได้ยาก ปกติจะใช้ไอเทมการ์ด ค่าร่าย 2-3 ประมาณ 4-6 ใบ อาจจะปนค่าร่าย 4 เข้ามาบ้าง

การ์ดไอเทมก็มีค่า CSP (จ่าย SP ทุกเทิร์น) อยู่บางใบ ซึ่งประสิทธิภาพค่อนข้างดีหลายใบ ถ้าไม่สนมอนสเตอร์ที่มีค่า CSP ก็อาจใช้การ์ดไอเทมที่มีค่านี้แทนก็ดีครับ

หลักการเลือกก็คล้ายมอนสเตอร์การ์ดอยู่บ้าง คือ เน้นเพิ่ม HP หรือพลังโจมตี หรืออาจจะเพิ่มอย่างละนิดอย่างละหน่อย แต่จะมีหลักการเลือกที่น่าปวดหัวกว่านิดหน่อย

- การ์ดไอเทมที่เพิ่ม HP สูงสุด จะช่วยให้สามารถตอบโต้ในยามป้องกันดีขึ้น (ปกติฝ่ายตั้งรับจะโดนโจมตีก่อน ถ้า HP น้อยหรือบาดเจ็บอยู่ ก็อาจตายก่อนได้ส่วนกลับ) และทนทานต่อการ์ดยิงมอนสเตอร์โดยตรง

- การ์ดเพิ่มพลังโจมตี จะช่วยได้ดีเมื่อโจมตี ให้กำจัดมอนสเตอร์ที่มาตั้งรับได้ดีขึ้นโดยเฉพาะพวกค่าร่ายเยอะกว่า บางครั้งค่าร่ายมอนสเตอร์เพียง 1 หน่วยก็สามารถจัดการมอนสเตอร์ระดับค่าร่าย 5 6 ได้เหมือนกัน

ถ้าจำแนกเป็นย่อยๆ ก็แบ่งได้อีกเยอะครับ มีแบบเพิ่ม HP อย่างเดียว หรือเพิ่ม HP กับ AC แล้วยังมีแบบเพิ่มพลังโจมตีเน้น Pow 1 หรือ Pow 2 บ้างก็เน้นสมดุลเพิ่มทั้ง Pow 1 และ 2 แถมยังมีไอเทมที่ใช้ลดความสามารถคู่ต่อสู้ได้อีกด้วย

แชร์เรื่องนี้:

เรื่องที่คุณอาจสนใจ