ICT ประกาศ ออกกฎเหล็ก ร้านเน็ตต้องตีทะเบียน

แชร์เรื่องนี้:
ICT ประกาศ ออกกฎเหล็ก ร้านเน็ตต้องตีทะเบียน
[color=#0036ff][p]กระทรวงไอซีที ไล่เฉ่ง "เน็ตคาเฟ่" ผนึกมหาดไทยออกกฎกระทรวงให้ร้านเน็ตคาเฟ่ 5,600 แห่งขึ้นทะเบียน คาดชง ครม.อนุมัติได้อย่างช้า 1-2 สัปดาห์นี้ "หมอเลี้ยบ"ประกาศกร้าวร้านใดฝ่าฝืนสั่งปิดทันที ส่วนผู้นำเข้าเกมออนไลน์ย้ำชัด ต้องบล็อกเวลาห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีเล่นเกิน 3 ชั่วโมง ใครฝ่าผืนจัดการขั้นเด็ดขาด ขณะที่สมาพันธ์ร้านเน็ต โวยแค่เกมสร้างกระแสหาคะแนนเสียงก่อนถึงเลือกตั้งใหญ่[p]จากสภาพปัญหากระแสเกมออนไลน์ฟรีเวอร์ ส่งผลให้เยาวชนติดเกมออนไลน์กันงอมแงม[p]ที่น่าติดตามคืออาจทำให้เกิดปัญหาสังคมตามมาอีกสารพัด โดยที่ผู้ปกครองมิอาจจะรู้ได้เลย จนมีผลกระทบต่อการเรียน ที่สำคัญยิ่งมีข่าวโด่งดังว่าผู้ปกครองถึงขั้นล่ามโซ่ลูกไม่ให้ออกไปเล่นเกม จากเหตุการณ์ดังกล่าวนี้เองผู้ปกครองต้องออกมาร้องเรียนให้ภาครัฐหามาตรการควบคุม โดยเฉพาะกระทรวงไอซีที ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง[p]-ไอซีทีเดินหน้าตีทะเบียนร้านเน็ต[p]ต่อเรื่องนี้น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ขณะนี้ทางกระทรวงไอซีทีและมหาดไทยเตรียมออกร่างกฏกระทรวงควบคุมร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ โดยอาศัย พ.ร.บ.วัสดุเทปโทรทัศน์ ของกระทรวงมหาดไทยมอบอำนาจให้กระทรวงที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน อาทิ ด้านภาพยนตร์ และ วีซีดี ให้กระทรวงวัฒนธรรม เป็นผู้ดำเนินการรับผิดชอบ [p]ขณะที่ร้านเกม,คอมพิวเตอร์ และ อินเตอร์เน็ตคาเฟ่ มอบหมายให้กระทรวงไอซีทีเป็นผู้รับผิดชอบ โดยให้เจ้าหน้าที่กระทรวงทำหน้าที่ในการจดทะเบียนร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ ในขณะที่พื้นที่ต่างจังหวัดนั้นจะมอบหมายให้สถิติจังหวัดเป็นนายทะเบียนของร้านอินเตอร์เน็ต ซึ่งต่อไปสถิติจังหวัดจะทำหน้าที่เหมือนกับซีไอโอ (CIO) ของแต่ละจังหวัด [p]"เมื่อมีหลักการอย่างนี้ เราจะเดินหน้าเต็มตัว ซึ่งบางคนสงสัยว่าทำไมกระทรวงไอซีทีเพิ่งมาทำเพราะเราเพิ่งได้รับอำนาจเพราะก่อนหน้านี้อำนาจไม่ได้อยู่ที่กระทรวงฯ ทางกระทรวงไอซีทีาอยากลงทะเบียนขึ้นทะเบียนร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่มาตั้งนานแล้ว อย่างไรก็ดีขณะที่ผมได้ทำหนังสือออกไปแล้ว และคาดว่าจะนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบได้ภายใน 1-2 สัปดาห์นี้" [p]-"เลียบ"เอาจริงใครดื้อแพ่งสั่งปิดทันที[p]น.พ.สุรพงษ์ กล่าวว่า เมื่อกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวผ่านมติครม.แล้ว ร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ จำนวน 5,600 แห่งจดทะเบียนให้เหมือนกับจดทะเบียนร้านขายยา และ คลีนิค ที่ต้องขึ้นทะเบียนกับสาธารณสุขจังหวัด อย่างไรก็ตาม ดังนั้นต่อไป หากร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ ใด ไม่มาจดทะเบียนกับทางกระทรวงไอซีที ถือว่าผิดกฏหมาย และทางกระทรวงก็จะจะดำเนินการสั่ง "ปิด"ร้านเน็ต ร้านนั้นในทันที[p]"ที่ผ่านมาเราขอความร่วมมือ แต่ตอนนี้ไม่ใช่ถ้าใครทำผิดระเบียบที่กำหนดไว้ก็สั่ง "ปิด" เหมือนกระทรวงสาธารณสุขสั่งปิดคลีนิคถ้าคลีนิคไหนมีหมอเถื่อนก็สั่งปิดได้เลย"[p]นอกจากนี้สำหรับ เกมออนไลน์ นั้นจะดำเนินการควบคุมทั้ง 2 ทาง คือ 1.ทั้งส่วนคนนำเข้าเกมต้องให้กระทรวงตรวจพิจารณาใหม่ และ2.จากเดิม เกมออนไลน์ ที่เข้ามาในประเทศไทยเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นผู้ตรวจสอบ แต่กระทรวงไอซีที จะเรียกกลับมาตั้งเป็นกฏกติกาเพิ่มผู้นำเข้าเกมออนไลน์จะต้องให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีเล่นเกมออนไลน์ได้ไม่เกิน 3 ชั่วโมง โดยผู้นำเข้าเกมออนไลน์จะต้องไปตั้งโปรแกรมบล็อกเวลาด้วย[p]"จะมีคำถามว่าที่ผ่านกระทรวงไอซีทีกำหนดไว้ว่าห้ามเด็กเล่นเกิน 22.00 น.ก็ยังเล่นอยู่เลยผู้ปกครองต้องดูแลบุตรด้วยเช่นกันเพราะเราไม่สามารถควบคุมถึงบ้านพักอาศัยได้ แต่ถ้าหากเด็กเล่นเกมเกิน 3 ชั่วโมงสามารถแจ้งมาที่กระทรวงไอซีทีเราจะดำเนินการสั่งปิดบัญชีใช้บริการ( Account) นั้น ๆ หรือ แม้กระทั่งร้านอินเตอร์เน็ตเมื่อเด็กเข้ามาแล้วห้ามเจ้าของร้านเข้าสู่โปรแกรมเล่นเกมออนไลน์แทนเด็ก หากผู้ปกครองมีการฟ้องร้องร้านนี้ให้เด็กเล่นเกิน 3 ชั่วโมงจะปิดทันทีเอากันให้จริงๆไปเลย"[p]-ร้านเน็ตขานรับรัฐออกกฎคุมเข้ม[p]ด้านนายเฉลิมศักดิ์ เลิศลบราตรี ประธานชมรมผู้ประกอบการร้านอินเตอร์เน็ต กล่าวว่าชมรมฯ เห็นด้วยกับการขึ้นทะเบียนร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ โดยอยากให้เกิดนานแล้ว เนื่องจากที่ผ่านมาแต่ละพื้นที่มีการรับจดทะเบียนที่แตกต่างกัน อีกทั้งมีระยะเวลาการเปิด-ปิดบริการที่แตกต่างกัน ดังนั้นถ้าสามารถดำเนินการภายใต้มาตรฐานเดียวกันได้ก็ถือเป็นเรื่องดีสำหรับธุรกิจร้านอินเตอร์เน็ตในบ้านเรา [p]ส่วนมาตรการห้ามเด็กอายุต่ำกว่าอายุ 18 ปี เล่นเกมเกินระยะเวลา 3 ชั่วโมงนั้นมองว่าไม่น่าส่งผลกระทบกับรายได้ของร้านอินเตอร์เน็ต เพราะเป้าหมายการหารายได้หลักของร้านอินเตอร์เน็ตภายใต้ชมรมฯ ไม่เน้นไปยังกลุ่มเยาวชน แต่รู้สึกสิ่งที่เป็นห่วงเกี่ยวกับมาตรการดังกล่าวคือ หากกำหนดระยะเวลาเล่นไม่เกิน 3 ชั่วโมง เป็นไปได้หรือไม่ที่เด็กจะเข้ามาเล่นในช่วงเช้า ซึ่งมองว่าหากเป็นอย่างนั้นก็จะทำให้เด็กเสียการเรียน หรืออาจหนีไปเล่นเกมเครื่องแม่ข่ายหรือเซิร์ฟเวอร์ให้บริการเถื่อน ดังนั้นเห็นว่าควรนำเอามาตรการของร้านกู๊ดเน็ตมาใช้ โดยใช้วิธีกำหนดช่วงเวลาการเล่นเกมตั้งแต่ 14.00-22.00 น. มาใช้ เพราะเด็กไม่สามารถเล่นเกมช่วงเช้า หรือช่วงพักกลางวันได้ อีกทั้งยังเชื่อว่าเด็กส่วนใหญ่จะไม่เล่นเกมนาน 4-5 ชั่วโมง เพราะด้วยข้อจำกัดเรื่องงบค่าใช้จ่าย[p]-สมาพันธ์เน็ตชี้แค่สร้างกระแสหาเสียง[p]ขณะที่นายชวพงษ์ นัยนะแพทย์ ที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมายสมาพันธ์ผู้ประกอบการอินเทอร์เน็ตแห่งประเทศไทย กล่าวว่ากลุ่มผู้ประกอบการร้านอินเตอร์เน็ตภายใต้สมาพันธ์ เห็นด้วยกับการออกกฎระเบียบต่างๆ มาใช้ควบคุมร้านอินเตอร์เน็ตอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการขึ้นทะเบียนร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ หรือ ห้ามเด็กต่ำกว่าอายุ 18 ปี เล่นเกมเกินระยะเวลาที่กำหนด แต่มองว่ากฎระเบียบต่างๆ ควรมีมาตรฐานและมีการดำเนินการอย่างจริงจัง ไม่ใช่ดำเนินการตามกระแส หรือตามความพอใจ หรือทำเพื่อเป็นการหาเสียงเท่านั้น [p]ที่สำคัญนั้นเมื่อภาครัฐมีกฎระเบียบควบคุมร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ออกมาแล้วควรมีมาตรการดูแลร้านอินเตอร์เน็ตด้วย เนื่องจากที่ผ่านมาผู้ประกอบการร้านอินเตอร์เน็ตในประเทศส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการรายย่อย ถ้าภาครัฐไม่เข้ามาดูแลหรือปกป้องสุดท้ายก็ต้องปิดตัวลงไป เนื่องจากขณะนี้มีแฟรนไชส์ร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่เข้ามาเปิดให้บริการในประเทศไทยมากขึ้น[p]-ผู้ให้บริการเกมชี้เกาไม่ถูกที่คัน[p]ขณะที่นายสุกิจ พันธ์วิศวาส ประธานบริหารด้านการเงิน บริษัท วินเนอร์ ออนไลน์ จำกัด ผู้ให้บริการเกมออนไลน์ภายใต้ชื่อ "ริสก์ ยัวร์ ไลฟ์"(Risk Your Life) กล่าวให้ความเห็นต่อเรื่องนี้ว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ถูกวิธี และอาจส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมการเล่นในจำนวนที่มากขึ้น เนื่องจากนโยบายที่ออกมานั้นเปรียบเสมือนมาตรการบังคับ ซี่งอาจทำให้เด็กที่เล่นเกมอาจจะเกิดพฤติกรรมการต่อต้าน รวมถึงการเพิ่มจำนวนการเล่นเกมของเด็กมากขึ้น [p]อย่างไรก็ดี เมื่อมาตราการดังกล่าวมีผลบังคับใช้ออกมาเป็นรูปธรรมเมื่อไร เชื่อว่าจะก่อให้เกิดปัญหากับผู้ให้บริการเกมออนไลน์ทุกค่าย เนื่องจากจะต้องมีการปรับเปลี่ยน รวมถึงแก้โปรแกรมในการให้บริการเพื่อให้รองรับกับมาตราการดังกล่าว ซี่งเป็นเรื่องที่ยุ่งยากมากในการดำเนินการแก้ไขโปรแกรม ซึ่งตั้งมาแล้วตั้งแต่เริ่มต้นจากประเทศที่ซื้อลิขสิทธิ์เข้ามาทำตลาด นอกจากนี้ผู้ให้บริการเกมส่วนใหญ่มีลิขสิทธิ์เกมที่เปิดให้บริการอยู่มากว่า 1 เกม ดังนั้นเมื่อมีมาตราการดังกล่าวออกมา จึงเปรียบเสมือนการเพิ่มภาระให้กับผู้ให้บริการมากขึ้น[p]ขณะที่นายอิศร์ เตาลานนท์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท ทรู ดิจิตอล เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด ผู้ให้บริการเกมออนไลน์ "พริสตันเทล" กล่าวในทำนองเดียวกันกับในเบื้องต้นว่า หากทางกระทรวงไอซีทีต้องการแก้ปัญหาดังกล่าวให้ได้ผลตามที่หวังไว้นั้น น่าจะหันมามุ่งเน้นที่การส่งเสริมไปที่สถาบันครอบครัวมากกว่า การออกมาตราการบังคับขึ้นมา เนื่องจากธรรมชาติของเด็กส่วนใหญ่ไม่ชอบวิธีการบังคับ ดังนั้นการแก้ไขปัญหาดังกล่าวในประเทศไทยให้ได้ผลมากที่สุด เชื่อว่าสถาบันครอบครัวน่าจะเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด [p]-วัยโจ๋ชี้ส่งผลให้เด็กเล่นเกมมากขึ้น[p]เด็กนักเรียนจากโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรีซึ่งมีอายุต่ำกว่า 18 ปี กลุ่มหนึ่ง กล่าวให้ความเห็นว่า 3 ชั่วโมงสำหรับเล่นเกมออนไลน์ต่อวันนั้น น่าจะไม่เพียงพอกับผู้เล่นซึ่งเป็นผู้ที่เล่นเกมจริงๆ โดยถ้าพูดกันตามความเป็นจริงแล้วเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ก็ไม่ค่อยมีเวลาในการเล่นเกมอยู่แล้ว โดยส่วนใหญ่มักจะใช้เวลาในช่วงที่เป็นวันหยุด หรือเวลาว่างเท่านั้นในการเล่นเกมเพื่อเป็นการผ่อนคลาย ซึ่งก็จะใช้เวลาในการเล่นประมาณ 6 ชั่วโมง ดังนั้นเมื่อมีมาตราการดังกล่าวออกมาก็จะทำให้เด็กหันมาเล่นเกมมากขึ้น ไม่ได้เล่นเฉพาะวันหยุด หรือในเวลาว่างเหมือนที่ผ่านมา เนื่องจากถูกจำกัดระยะเวลาในการเล่น จึงต้องหันมาเล่นเกมมากขึ้นเพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ของตัวเองในการเล่นเกมออนไลน์ [/color]
แชร์เรื่องนี้:

เรื่องที่คุณอาจสนใจ