เกมออนไลน์ VS บรอดแบนด์ ธุรกิจใหม่-อนาคตใหม่ของ "ทรู"

แชร์เรื่องนี้:
เกมออนไลน์ VS บรอดแบนด์ ธุรกิจใหม่-อนาคตใหม่ของ "ทรู"
[color=blue]เกมออนไลน์ VS บรอดแบนด์ ธุรกิจใหม่-อนาคตใหม่ของ "ทรู" [/color]นับตั้งแต่สามารถรอดพ้นจากวิบากกรรมทางเศรษฐกิจเมื่อ 7 ปีก่อนมาได้ อนาคตของกลุ่มทรูหรือทีเอในอดีตบนสมรภูมิธุรกิจสื่อสารไทยก็ดูจะไม่สดใสเท่าใดนัก ด้วยว่าธุรกิจที่มีอยู่ในมือเกือบทั้งหมดไม่มีตัวไหนเลยที่จัดได้ว่าเป็นดาวรุ่งพุ่งแรงโดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากอัตราการเติบโตของฐานลูกค้า ทั้งโทรศัพท์พื้นฐาน, พีซีที หรือแม้แต่เคเบิลทีวีล้วนอยู่ในสถานะแค่ประคองตัวให้รอดเท่านั้น ฝั่งโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็ไม่ดีไปกว่ากัน เพราะเนื่องจากมาทีหลังจึงต้องสู้รบปรบมือกับเจ้าสังเวียนเดิมที่แข็งแกร่งอย่างเอไอเอสและดีแทคแล้ว พันธมิตรข้ามชาติ ออเร้นจ์ เอสเอ ก็ยังมาเปิดหมวกอำลาปล่อย ทีเอ ออเร้นจ์ ให้อยู่ในความรับผิดชอบของ ทรู แต่เพียงผู้เดียวเสียอีก โชคดีที่การเป็นเจ้าของ ทีเอ ออเร้นจ์ ของ ทรู มีค่าใช้จ่ายเป็นมูลค่าเพียง 1 บาท ขณะที่ภาระหนี้สินอีก 3.4 หมื่นล้านบาทมีโอกาสยืดเวลาจากหนี้ระยะสั้นเป็นระยะยาวออกไปอีกหลายปี ทรู จึงยังพอหายใจหายคอขึ้นได้บ้าง และโชคยังดีอีกที่ในที่สุดกลุ่ม ทรู ไม่ได้มองตนเองเป็นแค่เจ้าของเครือข่ายการสื่อสารเฉยๆ แต่หันมาประสานทุกสิ่งที่มีอยู่เข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หรือ Synergy รวมถึงปรับโฟกัสธุรกิจจากการเป็นผู้ให้บริการเครือข่ายเข้าสู่การเป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นด้านการสื่อสารแบบครบวงจร การเข้าสู่ธุรกิจบรอดแบนด์โดยใช้เกมออนไลน์ และการพัฒนาคอนเทนต์ด้านความบันเทิงเป็นอีกจังหวะก้าวที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง และน่าจะเป็นอนาคตที่สดใสจริงๆ สำหรับกลุ่มทรูด้วย เพราะเครือข่ายบรอดแบนด์ความเร็วสูงที่มีประสิทธิภาพสูงสุดคือเครือข่ายแบบมีสายซึ่งทรูมีพร้อมอยู่แล้ว ขณะที่เกมออนไลน์เป็นคอนเทนต์ที่กำลังได้รับความนิยมและมีแนวโน้มที่จะเติบโตต่อไปอีกมหาศาล การตั้งบริษัท ทรู ดิจิตอล เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด เพื่อให้บริการเกมออนไลน์ และการจับมือกับยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตเกมออนไลน์ระดับโลก เอ็นซี ซอฟต์ โดยร่วมทุนตั้งบริษัท เอ็นซี ทรู จำกัด เพื่อนำเกมออนไลน์ยอดฮิต ลิเนจ II เข้ามาให้บริการในเมืองไทยของ กลุ่มทรู ถือเป็นการย่างเท้าเข้าสู่ธุรกิจดาวรุ่งเป็นรายแรกสำหรับบริษัทสื่อสารไทยอีกด้วย 6 อาทิตย์ที่แล้วผมมีโอกาสไปอเมริกา ได้ไปงาน E 3 ซึ่งเป็นงานที่ใหญ่ที่สุดในโลกเรื่องเกม นั่นเป็นครั้งที่ 2 ที่ผมไปงาน E 3 ครั้งแรกไปเมื่อปีที่แล้ว และนั่นทำให้ผมรู้จักเอ็นซี ซอฟต์เป็นครั้งแรกด้วย เอ็นซี ซอฟต์เป็นหนึ่งในไม่กี่บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลกเรื่องเกมออนไลน์ ผ่านมาปีกว่าเราจึงได้ติดต่อประสานงานและตกลงทำธุรกิจร่วมกัน ซึ่งผมเชื่อว่าเป้าหมายที่จะเป็นอันดับ 1 ในตลาดเกมออนไลน์เมืองไทยมีความเป็นไปได้จริงๆ เพราะเราต่างมีจุดแข็งที่เมื่อนำมารวมกันแล้วจะทำให้ได้เปรียบคู่แข่งทุกรายในตลาด ศุภชัย บอกว่า จำนวนผู้เล่นเกมออนไลน์ในปัจจุบันมีประมาณ 1 ล้านคน แต่คาดว่าในสิ้นปีนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 ล้านคน และมีมูลค่าตลาดรวมถึง 1 พันล้านบาท ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่น่าสนใจทีเดียว ขณะที่ตลาดบรอดแบนด์มีผู้ใช้บริการราว 50,000 ราย โดยทรูครองส่วนแบ่งตลาดอยู่ถึง 90% ตลาดบรอดแบนด์บ้านเราโตได้อีกเยอะ โดยเกมออนไลน์เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้คนเข้ามาใช้งานมากขึ้น ทรูต้องการเป็นผู้นำในการให้บริการคอนเทนต์ด้านความบันเทิง ซึ่งไม่ใช่แค่เกมอย่างเดียวจะมีแอปพลิเคชั่นอื่นๆ ตามมาอีกเยอะ ที่เน้นเรื่องฟันแอนด์เกมก็เพราะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้คนใช้เทคโนโลยีไอซีทีได้ง่ายที่สุด ถ้าลองใช้แล้วก็จะใช้งานอื่นๆ ตามมาอีกมาก หลังจากประกาศแผนร่วมทุนกับเอ็นซี ซอฟต์ได้เพียงวันเดียว ศุภชัย ก็บินไปเกาหลีทันทีเพื่อลงนามในข้อตกลงเป็นพันธมิตรร่วมกับเอสเค เทเลคอมของ ทีเอ ออเร้นจ์ โดยทั้งคู่จะร่วมมือกันพัฒนาบริการ nonvoice สำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ออเร้นจ์ ซึ่งความร่วมมือกับเอสเค เทเลคอมจะทำให้ออเร้นจ์พัฒนาบริการใหม่ๆ ได้เร็วยิ่งขึ้น เพราะเอสเค เทเลคอมเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายแถวหน้าของประเทศเกาหลี บิ๊กบอสกลุ่ม ทรู บอกด้วยว่า ตลาดบรอดแบนด์เป็นตลาดที่แสดงการเติบโตทั่วโลก และทำให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์บ้านกลับมาเติบโตได้อีกครั้ง แน่นอนว่านั่นย่อมต้องมีความสำคัญสำหรับ ทรู เช่นกัน และทรูไม่ได้เน้นเฉพาะธุรกิจบรอดแบนด์เพื่อพลิกฟื้นธุรกิจโทรศัพท์บ้านและเครือข่ายมัลติมีเดียผ่านสายไฟเบอร์ออฟติกเพียงอย่างเดียว แต่ไปกับบรอดแบนด์ไร้สายผ่านโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของทีเอ ออเร้นจ์ พร้อมๆ กันด้วย อนาคตสดใส อนาคตทรู น่าจะเป็นสโลแกนที่ ศุภชัย เจียรวนนท์ ท่องไว้ในใจอยู่ในเวลานี้. ข่าวจาก : ประชาชาติธุรกิจ
แชร์เรื่องนี้:

เรื่องที่คุณอาจสนใจ