-
หน้าแรก
-
PC CONSOLE GAME
- เอเอ็มดีชิงแจ้งเกิดเทคโนโลยีดูอัล-คอร์ แซงหน้าอินเทล
เอเอ็มดีชิงแจ้งเกิดเทคโนโลยีดูอัล-คอร์ แซงหน้าอินเทล
เอเอ็มดี รุกคืบแผนชิงตำแหน่งเจ้าตลาดชิพ ล่าสุดประกาศเปิดตัวเทคโนโลยี "ดูอัล-คอร์" แซงหน้ายักษ์ใหญ่อันดับหนึ่ง ระบุช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการประมวลผล เทียบเท่าชิพ 2 ตัว พร้อมเชื่อเป็นมาตรฐานการแข่งขันใหม่ แทนความเร็วประมวลผล ด้านอินเทล ได้ฤกษ์เปิดตัว "โนโคน่า" หนุนซอฟต์แวร์ 32/64 บิตตัวแรก หนังสือพิมพ์ เดอะ วอลล์สตรีท เจอร์นัล รายงานแถลงการณ์ของบริษัทแอดวานซ์ ไมโคร ดีไวซ์ อิงค์. (Advanced Micro Devices Inc.) หรือเอเอ็มดี ซึ่งระบุว่า ทางบริษัทมีกำหนดวางจำหน่ายชิพ ประมวลผลเดี่ยว (single chip) ที่มีกำลังประมวลผลเทียบเท่าชิพ 2 ตัว ในช่วงกลางปี 2548 โดยกำหนดการดังกล่าว อาจทำให้ผู้ผลิตชิพหมายเลข 2 สามารถแซงหน้าคู่แข่ง อย่าง อินเทล ในด้านเทคโนโลยีชิพประมวลผลได้อีกครั้งผู้เชี่ยวชาญ เปิดเผยว่า เทคโนโลยีชิพดังกล่าว หรือที่เรียกว่า "ชิพดูอัลคอร์" (Dual-core chips) กำลังเป็นมาตรฐานใหม่ ของการแข่งขันในอุตสาหกรรมการประมวลผล หลังจากที่ผู้ผลิต เริ่มเล็งเห็นว่า การแข่งขันกันพัฒนาความเร็วประมวลผลรอบเข็มนาฬิกา (clock speeds) ซึ่งมีหน่วยเป็นกิกะเฮิร์ตซ์นั้น ให้ผลตอบแทนทางธุรกิจลดลง ส่งผลให้ผู้ผลิตชิพหลายราย หันมาอาศัยเทคนิคการบรรจุหน่วยประมวลผลอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 2 ตัวขึ้นไป ลงบนชิพแผ่นเดียวกัน ซึ่งจะช่วยให้ชิพมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ขณะที่มีต้นทุนต่ำลงทั้งนี้ บริษัทไอบีเอ็ม คอร์ป.และบริษัท ซัน ไมโครซิสเต็มส์ อิงค์. ถือเป็นผู้ผลิตกลุ่มแรก ที่สนับสนุนเทคโนโลยีชิพดูอัล-คอร์ ขณะที่ในเดือนที่แล้ว ยักษ์ใหญ่อินเทล ก็ออกมาประกาศเลื่อนกำหนดเปิดตัวชิพดูอัล-คอร์ ของตัวเอง จากปี 2548 เป็นปี 2549ประเดิมตลาดดูอัล-คอร์รายแรกตัวแทนบริษัทเอเอ็มดี เปิดเผยว่า ทางบริษัทประสบความสำเร็จ ในการออกแบบชิพดูอัล-คอร์ตัวแรกแล้ว โดยชิพดังกล่าว จะเป็นการขยายผลิตภัณฑ์ตระกูล "แฮมเมอร์" และเอเอ็มดี คาดว่า จะสามารถวางจำหน่ายชิพดูอัล-คอร์ สำหรับเครื่องแม่ข่ายได้ ในช่วงกลางปีหน้า และจะวางจำหน่ายชิพดังกล่าวสำหรับคอมพิวเตอร์ เดสก์ทอป ก่อนสิ้นปีหน้านักวิเคราะห์ ให้ความเห็นว่า ในช่วงที่ผ่านมา บริษัทเอเอ็มดี ซึ่งมักได้ชื่อว่าเป็นผู้ตามรอยเทคโนโลยีอินเทล เริ่มสร้างแรงกดดันให้แก่คู่แข่งยักษ์ใหญ่ของตนได้บ้างแล้ว อาทิ ทางบริษัท ได้เปิดตัวชิพตระกูล "แฮมเมอร์" ซึ่งกลายเป็นชิพตัวแรก ที่ช่วยให้เทคโนโลยี 32 บิต อันเป็นมาตรฐานชิพในปัจจุบัน สามารถรองรับซอฟต์แวร์ 64 บิตได้ โดยชิพตระกูลนี้ ประกอบด้วยชิพออพเตอรอน (Opteron) สำหรับแม่ข่าย และชิพแอธลอน 64 สำหรับเดสก์ทอป ส่งผลให้เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ค่ายชิพเบอร์ 1 อย่าง อินเทล ต้องประกาศเปลี่ยนแผนการทุ่มพัฒนาชิพ "ไอทาเนียม" (Itanium) ซึ่งเป็นชิพสายตระกูล 64 บิตของตน มาเป็นการพัฒนาศักยภาพของชิพซีออน และเพนเทียม ขนาด 32 บิต ให้สามารถรองรับซอฟต์แวร์ 64 บิตได้ ซึ่งเป็นการเลียนแบบเทคโนโลยีของเอเอ็มดีเชื่อแซงหน้ายักษ์ใหญ่อินเทลด้านนายมาร์ตี้ ซีเยอร์ รองประธาน และผู้จัดการทั่วไป แผนกธุรกิจชิพประมวลผล ของเอเอ็มดี คาดการณ์ว่า บริษัทจะมีชัยชนะเหนืออินเทล ในตลาดชิพ ดูอัล-คอร์ ได้เช่นกัน "ผมคิดว่า การเปิดตัวครั้งนี้จะทำให้หลายคนประหลาดใจ" เขากล่าว ขณะเดียวกัน บริษัท อินเทล คอร์ป. ได้ออกมาประกาศว่า ตนมีแผนเปิดตัวชิพ "โนโคน่า" (Nocona) ชิพตัวแรกของบริษัทที่รันทั้งซอฟต์แวร์ 32 บิต และ 64 บิตได้ ในช่วงปลายเดือนนี้ ซึ่งจะช่วยให้อินเทล สามารถแข่งขันกับชิพออพเตอรอนของเอเอ็มดี ที่กำลังได้รับความนิยมในตลาดแม่ข่ายได้นายเควิน เครเวลล์ หัวหน้ากองบรรณาธิการของไมโครโพรเซสเซอร์ รีพอร์ต เปิดเผยว่า ชิพดังกล่าวอาจมีความเร็ว 3.4-3.6 กิกะเฮิรตซ์ เนื่องจากใช้เทคโนโลยีเดียวกับชิพเพรสค็อตต์ (Prescott) ชิพประมวลผลเดสก์ทอปของอินเทล ที่เปิดตัวไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา "นี่เป็นเพียงชิพเพรสค็อตต์ เวอร์ชั่นที่ดีขึ้นเล็กน้อยเท่านั้น" เขากล่าวจับตาแชมป์ตลาดชิพขณะที่ นายทอม ฮาล์ฟฮิลล์ นักวิเคราะห์รายหนึ่ง ตั้งข้อสังเกตว่า ฟังก์ชันประมวลผลขนาด 32/64 บิต ของชิพโนโคน่า และออพเตอรอน มีลักษณะคล้ายคลึงกัน พร้อมทั้งเชื่อว่า อินเทลลอกแบบเทคโนโลยีบางส่วนมาจากเอเอ็มดี อย่างไรก็ตาม ชิพทั้งสองมีคุณสมบัติบางอย่างแตกต่างกัน โดยชิพออพเตอรอน จะติดตั้งหน่วยควบคุมความจำเอาไว้ในตัว และเชื่อมต่อกับส่วนอื่นๆของเครื่อง ผ่านทาง "ไฮเปอร์ทรานสปอร์ต" (HyperTransport) โดยเอเอ็มดีอ้างว่า เทคนิคดังกล่าว ช่วยให้ชิพมีประสิทธิภาพการประมวลผลเพิ่มขึ้นราว 10-15%ขณะที่ชิพแม่ข่ายของอินเทล จะใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า "ไฮเปอร์เทรดดิ้ง" (hyperthreading) ที่ช่วยให้โพรเซสเซอร์ สามารถรันแอพพลิเคชั่น 2 ตัว ได้ในเวลาเดียวกัน โดยที่เอเอ็มดี ไม่มีเทคโนโลยีที่ว่านี้