ไขข้อข้องใจ ดราม่าเหล่าผู้พัฒนาอยากปรับราคาเกมขึ้นอีก 10 เหรียญ

แชร์เรื่องนี้:
ไขข้อข้องใจ ดราม่าเหล่าผู้พัฒนาอยากปรับราคาเกมขึ้นอีก 10 เหรียญ

ไขข้อข้องใจ ดราม่าเหล่าผู้พัฒนาอยากปรับราคาเกมขึ้นอีก 10 เหรียญ

ช่วงไม่กี่วันมานี้ ได้มีดราม่าเกิดขึ้นในวงการเกมที่ประเทศสหรัฐอเมริกาครับ โดยบรรดาผู้พัฒนาเกมรวมถึงตัวแทนจากสตูดิโอพัฒนาเกมบางแห่งได้ออกมาเสนอความเห็นกันว่าราคาของซอฟต์แวร์เกมใหม่ ที่จะลงให้กับแพลตฟอร์มเจเนอเรชั่นถัดไป (PS5, Xbox Series X) ควรได้รับปรับขึ้น จากราคากลางเดิมที่ 60 เหรียญสหรัฐฯ เป็น 70 เหรียญสหรัฐฯ พร้อมกับให้เหตุผลว่าต้นทุนของการพัฒนาเกมในยุคปัจจุบันนั้นสูงขึ้นมาก ไม่ว่าจะทั้งเงินเดือนของเหล่าผู้พัฒนาเกม ค่าใช้จ่ายในกระบวนการผลิต ตลอดจนงบประมาณในด้านการตลาด ทว่าก็มีผู้บริโภคจำนวนหนึ่งมองว่าราคาเกมที่เรต 70 เหรียญสหรัฐฯ นั้นแพงเกินไป

หากว่ากันในมุมของผู้เล่น การขึ้นราคามา 10 เหรียญ คงไม่แปลกที่ด้านความรู้สึกผู้คนจะเทไปในทิศทางนั้น แต่ในข้อเท็จจริงเรื่องประวัติศาสตร์การตั้งราคาเกม นับตั้งแต่ยุคเครื่อง Famicom เมื่อปี 1986 จนถึงปัจจุบัน มันแพงขึ้นจริงรึเปล่า? เราจะมาไขข้อข้องใจตรงประเด็นนี้กันครับ


สำหรับประเด็นเรื่องราคาซอฟต์แวร์เกมในยุคต่าง ๆ ทางนิตยสาร Electronic Gaming Monthly (EGM) ฉบับที่ 243 ประจำเดือนมกราคม 2011 เคยมีทำสกู๊ปเรื่องนี้มาก่อนแล้ว โดยเป็นการลิสต์ราคาขายของซอฟต์แวร์เกมในแต่ละแพลตฟอร์มมาให้ดู ดังต่อไปนี้

(ล่าง) ปกนิตยสาร EGM ฉบับ 243 ประจำเดือน 2011 ที่มีสกู๊ปเรื่องราคาซอฟต์แวร์เกมตามยุคสมัย

ไขข้อข้องใจ ดราม่าเหล่าผู้พัฒนาอยากปรับราคาเกมขึ้นอีก 10 เหรียญ

NES (1986)

  • ราคาตลับเกมขณะนั้นจะอยู่ที่ระหว่าง $29.99 - $49.99
  • ถ้าแปลงค่าเงินเป็นของปี 2020 โดยคำนวณอิงความผันแปรเรื่องเงินเฟ้อ (คำนวณผ่านเว็บ https://www.dollartimes.com/inflation/inflation.php?) จะมีมูลค่าเท่ากับ $70.51 - $117.53

ไขข้อข้องใจ ดราม่าเหล่าผู้พัฒนาอยากปรับราคาเกมขึ้นอีก 10 เหรียญ

SNES (1991)

  • ราคาตลับเกมขณะนั้นจะอยู่ที่ระหว่าง $49.99 - $59.99
  • ถ้าแปลงค่าเงินเป็นของปี 2020 โดยคำนวณอิงความผันแปรเรื่องเงินเฟ้อ (คำนวณผ่านเว็บ https://www.dollartimes.com/inflation/inflation.php?) จะมีมูลค่าเท่ากับ $96.01 - $115.22

ไขข้อข้องใจ ดราม่าเหล่าผู้พัฒนาอยากปรับราคาเกมขึ้นอีก 10 เหรียญ

PS2 (2000)

  • ราคาแผ่นเกมขณะนั้นจะอยู่ที่ประมาณ $49.99
  • ถ้าแปลงค่าเงินเป็นของปี 2020 โดยคำนวณอิงความผันแปรเรื่องเงินเฟ้อ (คำนวณผ่านเว็บ https://www.dollartimes.com/inflation/inflation.php?) จะมีมูลค่าเท่ากับ $76.33

ไขข้อข้องใจ ดราม่าเหล่าผู้พัฒนาอยากปรับราคาเกมขึ้นอีก 10 เหรียญ

Xbox 360 (2005)

  • ราคาแผ่นเกมขณะนั้นจะอยู่ที่ประมาณ $59.99
  • ถ้าแปลงค่าเงินเป็นของปี 2020 โดยอิงความผันแปรเรื่องเงินเฟ้อ (คำนวณผ่านเว็บ https://www.dollartimes.com/inflation/inflation.php?) จะมีมูลค่าเท่ากับ $81.01

ไขข้อข้องใจ ดราม่าเหล่าผู้พัฒนาอยากปรับราคาเกมขึ้นอีก 10 เหรียญ

ข้อมูลข้างต้นนี้ยังไม่ได้คำนวณเทียบกับค่าครองชีพของแต่ละยุคนะครับ กล่าวคือเป็นการคำนวณโดยแปลงมูลค่าค่าเงินตามอัตราเงินเฟ้อเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม อัตราค่าครองชีพทั่วโลกตลอดระยะเวลาที่ผ่านมามีการถีบตัวสูงขึ้นมากกว่าการปรับขึ้นราคาของซอฟต์แวร์เกมอยู่พอสมควร ด้วยเหตุนี้จึงอาจดูไม่ค่อยเป็นธรรมนักถ้าเราจะพุ่งเป้าไปโจมตีผู้พัฒนาเกมว่าพวกเขาหิวเงิน หรือไม่แคร์ผู้บริโภค นั่นก็เพราะอุตสาหกรรมการพัฒนาเกมทุกวันนี้มีค่าใช้จ่ายสูงในทุก ๆ ด้าน อีกทั้งเกมเองก็เป็นสินค้าฟุ่มเฟือยประเภทหนึ่ง ดังนั้นรัฐบาลของทุกประเทศจึงไม่มีความจำเป็นต้องลงไปควบคุมราคาเหมือนกับสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในชีวิตประจำวันด้วย

และอีกประเด็นก็คือ ผู้เล่นจำนวนไม่น้อยยังยึดถือเอาความยาวของเกมมาชี้วัดว่าเกมนั้นเกมนี้เหมาะสมกับราคาที่ตั้งไว้หรือไม่ ทว่าในความเป็นจริงแล้ว เกมเกมนึงจะคุ้มไม่คุ้ม มันขึ้นอยู่กับความสนุกและความพึงพอใจของแต่ละคนล้วน ๆ เกมที่คนอื่นมองว่าไม่คุ้มกับราคานี้ แต่ถ้าเราเล่นแล้วรู้สึกว่าสนุกและโอเคกับมัน ก็ย่อมไม่ผิดที่จะเห็นต่างกันได้ ไม่เช่นนั้นแล้วถ้าเอาความยาวของเกมมาเป็นเกณฑ์กันหมด เกม RPG หรือเกมที่เน้น Replay Value เยอะ ๆ คงได้เปรียบเกมแนวอื่น ๆ ไปหมดแล้วนั่นเอง

True Super Fiber Gamer Pro Pack

ไขข้อข้องใจ ดราม่าเหล่าผู้พัฒนาอยากปรับราคาเกมขึ้นอีก 10 เหรียญ

PS5
แชร์เรื่องนี้:
Vesper
About the Author

Vesper

เหนื่อยจากเกมก็ลองหยุดพัก แต่ถ้าเหนื่อยจากรักก็จงหยุดเถอะ

เรื่องที่คุณอาจสนใจ