มารู้จักเกมที่พัฒนาโดยเด็กไทยในรูปแบบ Startup Game Production กัน
แม้ว่าธุรกิจเกมในปัจจุบัน หรือกีฬา eSports กำลังได้รับความนิยมในประเทศไทย แต่อาชีพหนึ่งที่บอกได้ถึงคุณภาพของเยาวชนที่เต็มไปด้วยองค์ความรู้ นั่นคือ นักพัฒนาเกม แต่เดิม Game Production หรือบริษัทที่รับพัฒนาเกมในประเทศไทยนั้นมีการผลักดันให้เกิดเป็นรูปแบบอุตสาหกรรมการผลิตประเภทหนึ่งมาโดยตลอด โดยบทบาทของนักพัฒนาชาวไทยล้วนเป็นรูปแบบของ Out source ให้กับต่างประเทศเสียส่วนใหญ่
ช่วงหลังมานี้แนวทางการประกอบธุรกิจ Startup เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น Startup ที่เป็นรูปแบบ Tech Startup ในกลุ่มของ Digital Content นั้นคือ Game Production ซึ่งตอนนี้กลายเป็นเทรนด์ที่ นักศึกษา ในมหาวิทยาลัย และสถาบันการศึกษาเริ่มจับตลาดส่วนนี้มากขึ้น โดยมีการยกระดับของ เกมคนไทย ให้มีคุณภาพ จึงเกิดเป็น Startup Game Production หน้าใหม่ในนาม ANT DPU ซึ่งกลุ่มของนักพัฒนากลุ่มนี้ล้วนเป็นนักศึกษาที่ยังศึกษา และใกล้จบการศึกษามารวมกลุ่มในมหาวิทยาลัยสร้างเกมขึ้นมาทั้งรูปแบบของการนำเสนอให้นายทุน และ รับงานพัฒนาเกมเพื่อการเรียนรู้ให้กับหน่วยงานราชการในรูปแบบของบริษัท โดยมีมหาวิทยาลัยสาขาที่นักศึกษากลุ่มนี้สังกัดอยู่คอยเป็นที่ปรึกษา
มาดูกันดีว่า Startup ธุรกิจรูปแบบ Game Production ของเด็กๆ กลุ่มนี้มีเกมอะไรบ้าง:
What Da Yak [PC, Android, iOS]
ผลงานของนายณัฏฐพัชร์ เชื้อสุวรรณ ที่ใช้นามแฝงว่า Tonrer ภายใต้การกำกับการดูแล ผ่านที่ปรึกษาตัวงานโดย อาจารย์ บัญญพนต์ พูลสวัสดิ์ กับแนวทางการออกแบบเกมที่เอาแนวเกมยุค 90 อย่างเกมแนว Beat Em Up อย่าง (Rushing Beat, Final Fight) มาพัฒนาใหม่ โดยเล่าเรื่องเกี่ยวกับโลกแฟนตาซีที่เอาตัวละครในวรรณคดีไทยอย่าง ยักษ์ ที่โผล่ในแนวของจักรๆ วงศ์ๆ ให้มาผสมผสานกับวัฒนธรรมสมัยใหม่อย่าง พังค์ ได้อย่างลงตัวกับกราฟิกแนวหลุดๆ ที่มีแนวทางชัดเจน สามารถเล่นเกมผ่านการบังคับด้วย แป้นพิมพ์คีย์บอร์ด หรือต่อ Joystick USB บนเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ได้ แน่นอนว่า What da Yak นั้นยังถูกพัฒนาลงบนระบบปฏิบัติการ Android และ iOS อีกด้วย ใครสนใจก็ https://antdpu.itch.io/what-da-yak
Know More Thai [PC]
ผลงานการพัฒนาเกมโดยนายสมรักษ์ โพธิสาร์ ภายใต้การกับการดูแลผ่านที่ปรึกษาโครงงานโดย อาจารย์กรุณา แย้มพราย เป็นหนึ่งงานพัฒนาขึ้นมาเพื่อรับทุนวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยในประเทศจีน
โดยรูปแบบของเกมเป็นแนว Arcade และ Simulation Adventure รับบทเป็นนายตำรวจหน้าพระราชวัง ที่คอยคุมกฏนักท่องเที่ยวที่เข้าเยี่ยมชมสถานสำคัญของประเทศไทย เช่น วัดพระแก้ว หรือ สถานที่ทางประวัติศาสตร์ภายในประเทศไทย ภายใต้กราฟิกแนว Cartoon Shade ที่สดใส และสวยงาม แผงบทเรียนสำหรับสอน และนำเสนอระเบียบให้กับนักท่องเที่ยวที่ต้องการเยี่ยมชมสถานที่เที่ยวในประเทศไทย เพื่อให้เรียนรู้ข้อห้าม และข้อกำหนด ต่างๆ ไปในตัว หากใครที่อยากลองเล่นเกมน่ารักๆ สนุกๆ ผลงานของนักศึกษาไทย ตอนนี้ตัวเกมสามารถเข้าไปเล่นได้แล้วผ่าน Demo เกมที่ เว็บไซต์ https://antdpu.itch.io/know-more-thai
Sword art Siam [PC]
เกม Action-RPG มุมมองบุคคลที่สาม กับเรื่องราวของการหยิบศึกประวัติศาสตร์มานำเสนอในรูปแบบตัวละคร SD พร้อมเรื่องราว Story ที่น่าติดตาม ผลลงานของนายยศนันทน์ ปัตตพงศ์ โดยระบบของเกมโดดเด่นที่การคำนวณพฤติกรรม และทางเลือกของตัวละครที่น่าสนใจ ผ่านระบบการตัดสินใจเมื่อต้องนำทัพเดินหน้าไปจัดการป้อมของศัตรู ระดับกำลังและความฮึกเหิมของขบวนทัพของผู้เล่นที่ นำโดยตัวละครหลัก การควบคุมเกม Sword Art Siam นั้นใช้ แป้นคีย์บอร์ดควบคุม และ เมาส์สำหรับโจมตี และสั่งการตัวละคร แน่นอนว่า เนื้อเรื่องเกมนี้ก็น่าสนใจไม่แพ้ระบบเลย สามารถดาวน์โหลดเกมนี้บน PC ได้ที่: https://antdpu.itch.io/sword-art-siam
A Song of Odyssey [PC]
เกม Physics Action มุมมองบุคคลที่สาม ที่เป็นผลงานคละชั้นปีของนักศึกษาทั้งหมดตั้งแต่ สมรักษ์ โพธิสาร์, อัฎชานุกร ทองบุญสง และ อาจารย์บัญญพนต์ พูลสวัสดิ์ โดยเป็นโปรเจ็คเสนอทุนผ่าน CrowdFunding (การระดมทุนออนไลน์) โดยในช่วงแรกก่อนจะอยู่ในรูป Startup Game Production นั้น โครงการนี้ระดมทุนเพื่อช่วยเหลือทุนการศึกษาของมหาชิกในทีมมาก่อน ระบบของเกมเน้นการผสมผสานวัฒนธรรมอาเซียนเข้าไป ตัวละครจึงมีความหลากหลาย ทั้งไทย เวียดนาม กัมพูชา และเมียนม่า พร้อมกับจุดเด่นของระบบฟิสิกส์การควบคุมแบบ Realistic พร้อมเปิด Demo ให้เล่นได้แล้วก่อนจะพัฒนาต่อได้ที่: https://www.facebook.com/daydevthailand/posts/1495401257170964
ทั้งหมดนี้เป็นผลงานเกมจากนักศึกษาปัจจุบัน และนักศึกษาที่กำลังจะจบการศึกษา รวมตัวกันสร้างทีมพัฒนาเกมในรูปแบบ Startup นอกเหนือจากผลงานข้างต้น ทีมนี้ยังมีโครงการในอนาคตร่วมกับหน่วยงานราชการอย่างเช่นกรมศิลปากร ในรูปแบบสื่อดิจิทัล เพื่อทำการอนุรักษ์ และเผยแพร่วัฒนธรรมไทยผ่านสื่อที่ตรงใจกับเยาวชน อย่างเช่นเกมรามเกียรติ์ ซึ่งผู้เล่นจะได้เรียนรู้วรรณกรรมที่จะถูกยกระดับให้เป็นวรรณกรรมอาเซียนแบบไม่รู้ตัวผ่านการเล่นเกม
ข่าวประชาสัมพันธ์จาก College of Creative Design and Entertain Technology