เกมเป็นสื่อรูปแบบหนึ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่ใช้มันเพื่อสร้างความบันเทิง แต่ในปัจจุบันเกมนอกจากจะให้ความเพลิดเพลินและความบันเทิงแล้วยังถูกนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการแพทย์อีกด้วย ซึ่งการใช้เกมในการรักษาโรคนั้นในอเมริกาหรือแถบยุโรปได้มีการพัฒนาเรื่องนี้มาหลายปีแล้ว และยังพบว่าการใช้เกมในการรักษาโรคนั้นประสบความสำเร็จอีกด้วยเช่น เกม SPARX ที่ใช้ในการรักษาโรคซึมเศร้าในวัยรุ่น โดยในเกมจะให้ผู้ป่วยได้สัมผัสกับความคิดเชิงลบที่เป็นอุปสรรคสำคัญที่คนเป็นโรคซึมเศร้าปฏิเสธการเข้าสังคม เพราะติดกับดักความคิดที่ว่า ใครๆ ก็เกลียดฉัน ฉันมันไอ้ขี้แพ้ ผลการรักษาจากอาสาสมัคร 168 พบว่า 44% หายจากอาการซึมเศร้า เมื่อเทียบกับการรักษาแบบเดิมๆ มีเพียง 26% เท่านั้นที่หาย และ 81% รู้สึกดีกับเนื้อหาภายในเกม
เกม SPARX
ผู้เข้าร่วมการทดสอบ
หรือ การใช้เกมในรูปแบบ VR ในการรักษาโรค PTSD ซึ่งเป็นโรคหวาดระแวงสงครามของทหารสหรัฐที่ไปรบใน อีรัก และ อัฟกานิสถาน โดยการใช้ Virtual Iraq และ Virtual Afghanistan ได้ถูกพัฒนามาจากเกม X-Box ชื่อ Full Spectrum Warrior โดยจะใช้ร่วมกับจอภาพแบบสวมหัวซึ่งจะช่วยผลักดันผู้ป่วยให้กลับไปยังประสบการณ์กลางสนามรบของอิรักและอัฟกานิสถาน และกระตุ้นประสบการณ์สะเทือนใจของทหารออกมาอีกครั้ง ทำให้แพทย์สามารถกระตุ้นผู้ป่วยให้ระบายและถ่ายทอดประสบการณ์สะเทือนใจของพวกเค้าออกมาได้ง่ายกว่ามากซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยลดอาการวิตกกังวลและอาการ PTSD ได้ ผลการรักษา ทหาร 20 นาย พบว่า 16 นายมีอาการที่ดีขึ้นและหายขาดในที่สุด
อาการ PTSD หรือ โรคหวาดระแวงสงคราม
เข้ารับการรักษาด้วย Virtual Iraq
ต้นแบบเกมที่นำมาใช้ในการรักษาโรค
ประเทศไทยได้คิดค้นเกมเพื่อใช้ในการรักษาโรคด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นการประสบความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศไทย คือทีมแพทย์ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสามารถคิดค้นเกมเพื่อใช้รักษาโรคสมาธิสั้นในเด็กครั้งแรกในเอเชีย และรักษาโรคอัลไซเมอร์ในผู้ใหญ่ครั้งแรกของโลก
เมื่อไม่นานมานี้ทีมแพทย์จากจุฬาฯ ประกาศว่าได้คิดค้นเกมในการรักษาโรคได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของเอเชียและของโลกทั้งนี้ยังสามารถคว้าเหรียญทองนวัตกรรมทางสมองระดับโลกจากการประกวดสิ่งประดิษฐ์ที่นิทรรศการประกวดสิ่งประดิษฐ์นานาชาติครั้งที่ 44 ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ถือว่าเป็นความสำเร็จอีกก้าวหนึ่งของวงการแพทย์ของไทย และทำให้เห็นว่าผู้ใหญ่ในประเทศไทยไม่ได้มองเกมเป็นสิ่งไม่ดีเพียงอย่างเดียว
พญ.โสฬพัทธ์ เหมรัญชโรจน์ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายนวัตกรรมการศึกษาและสารสนเทศคณะแพทยศาสตร์จุฬฯ กล่าวว่า เกมคลื่นสมองที่ร่วมกันพัฒนาเป็นนวัตกรรมนำมาใช้ในทางการแพทย์มี 2 ส่วนคือ
พญ.โสฬพัทธ์ เหมรัญชโรจน์
1. ระบบฟื้นฟูระดับความรู้คิดด้วยคลื่นสมองแบบป้อนกลับสำหรับผู้สูงอายุโดยใช้ในการป้องกันและชะลอภาวะสมองเสื่อมโรคอัลไซเมอร์
2. ระบบฝึกสมาธิจดจ่อด้วยคลื่นสมองแบบป้อนกลับในเด็กสมาธิสั้น
โดยเกมที่ใช้ในการรักษามีถึง 6 เกมด้วยกันโดยลักษณะการเล่นก็จะคล้ายๆ กัน ผลการทดลองปรากฎว่า เด็กระดับประถมศึกษาจำนวน 30 คน เป็นเด็กสมาธิดี 15 คน และสมาธิสั้น 15 คน พบว่ากลุ่มเด็กที่สมาธิสั้นมีสมาธิจดจ่อได้มากขึ้นและมีความจำได้ดีขึ้นอย่างชัดเจนกลุ่มเด็กที่มีสมาธิดีอยู่แล้วพบว่ามีความจำดีขึ้นโดยให้เด็กเล่นเกมนี้ 12 ครั้ง ครั้งละอย่างน้อย 5-10 นาทีขึ้นไป ตัวอย่างเช่น เกมชู๊ตลูกบาสเป็นเกมที่พัฒนาขึ้นสำหรับผู้สูงอายุเพื่อชะลอโรคอัลไซเมอร์เมื่อผู้เล่นเกมไม่มีสมาธิก็จะไม่สามารถชู๊ตลูกบาสเข้าแป้นได้ หรือ เกมหมีเก็บเหรียญถ้าผู้เล่นไม่มีสมาธิคลื่นสมองก็จะไม่สามารถบังคับให้หมีเดินไปเก็บเหรียญได้แต่หากมีสมาธิดีก็จะทำให้หมีวิ่งได้เร็วซึ่งทั้งหมดบังคับด้วยคลื่นสมองของผู้เล่นที่ส่งผ่านตัวรับสัญญาณที่สวมไว้บนหัว แต่ทั้งนี้เกมที่ใช้ในการรักษาในปัจจุบันยังไม่เป็นที่แพร่หลายแต่ในอนาคตจะทำให้มีมากขึ้นตามโรงพยาบาลต่างๆ และการรักษาด้วยเกมนั้นยังมีราคาค่อนข้างสูงอยู่ โดยการรักษา 1 ครั้งต้องเสียค่าใช้จ่าย 200 บาท เล่นได้นาน 30 นาที
เกมหมีเก็บเหรียญใช้รักษาโรคสมาธิสั้นและอัลไซเมอร์
จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันเกมได้ถูกนำไปใช้ในทางการแพทย์มากขึ้น ซึ่งเกมสามารถทำการรักษาได้ดีเลยทีเดียว จากผลการวิจัยมากมาย ที่พบว่าการใช้เกมในการรักษานั้นประสบความสำเร็จในเปอร์เซ็นที่ค่อนข้างสูง และหวังว่าในอนาคตนั้นจะมีการใช้เกมในรักษาโรคต่างๆ ให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น และราคาที่ถูกลง ผู้ป่วยที่ไม่ได้มีฐานะสูงสามารถเอื้อมถึงได้
เรียบเรียงจาก
http://www.wongkarnpat.com/viewpat.php?id=2166#.WK-QHlXyjIU
http://healthland.time.com/2012/04/20/study-playing-a-video-game-helps-teens-beat-depression/
https://medicalxpress.com/news/2011-01-doctors-x-box-game-ptsd-therapy.html