แน่นอนว่าในปัจจุบันคนเราแทบจะเล่นเกมกันแทบทุกคนอยู่แล้ว ตั้งแต่ ลูกเล็กเด็กเกรียน ยัน คนเฒ่าคนแก่ ต่างคนก็ต่างเล่นเกมกันตามวัยเช่นเด็กเกรียนเล่นเกม FPS และ MMO เป็นต้นส่วนคนแก่มันจะเล่นเกมแบบใช้สมองเช่น PUZZLE แต่มันก็มีแนวเกมที่อยู่กึ่งกลางคือสามารถเล่นได้ทุกเพศทุกวัยตามความชอบ นั่นคือ อินดี้ อินดี้เกมตามความหมายของมันโดยตรงคือเกมที่ผลิตโดยไม่ขึ้นตรงต่อผู้จัดจำหน่ายครับว่าแล้วก็คือเกมที่ผลิตโดยค่ายของตัวเองอาจจะมีทีมงานหรือทำคนเดียวก็ได้ เกมโดยที่เน้นขายไอเดีย ไม่เน้นกราฟฟิคอลังการงานสร้าง ยกตัวอย่างเกม FEZ,Super Meat Boy,REUS และเกมแนวนี้ไม่ค่อยเป็นที่ต้องการของตลาดทั่วไปถ้ารุ่ง ก็พุ่งเป็นจรวด ถ้าดับก็เป็นดาวรุ่งมุ่งสู่อเวจีกันเลยทีเดียว อาจจะมีผู้จัดจำหน่ายรายใหญ่มาคอยช่วยเหลือบ้างเช่น EA Label หรือ ถ้าแย่หน่อยก็ใช้เงินทุนของตัวเองครับ
เกมอินดี้ จุดประกายค่ายเกมเล็ก
เกมอินดี้จุดเริ่มต้นไม่เป็นที่แน่ชัดแน่นักแต่เกมที่จุดประกายให้ค่ายเกมอิน ดี้โผล่ขึ้นมาราวกับดอกเห็ดผมสามารถพูดได้เต็มปากว่าเป็นกระแสจากเกม Castle Crusher และ MineCraft ครับ แนวเกมเล่นง่ายๆสบายๆอย่างไม่มีวันเบื่อเล่นได้เรื่อยๆจัดเป็นจุดขายสำคัญ สำหรับเกมอินดี้ครับ ยกตัวอย่าง MineCraft ทำรายได้ไปประมาณ 40,000,000 เหรียญสหรัฐครับ อาจจะดูไม่มากมายสำหรับยอดขายตลอดระยะเวลาที่ขายมาเมื่อเทียบกับค่ายเกมใหญ่ แต่เมื่อเทียบกับต้นทุนการผลิตจัดและผู้พัฒนาเพียง 2-6 คนจัดเป็นกำไรที่มากโขเลยแหละครับ พอที่จะสามารถเลี้ยงตนเอง ครอบครัว ค่ายเกม และเป็นต้นทุนสำหรับเกมอินดี้ใหม่ๆ อีกด้วย
Kickstarter และ steam green light พระเจ้าสำหรับค่ายเกมอินดี้
อย่างที่ได้เกรินเอาไว้แล้วว่าเกมอินดี้ส่วนใหญ่มักใช้เงินทุนของตนเองในการสร้างเกมในระหว่างการสร้างบางทีผู้สร้างเกมอาจมีปัญหาเรื่องเงินทุนในการสร้างยกตัวอย่าง Edmund McMillen และ Tommy Refenes ผู้สร้างเกม Super Meat Boy ซึ่งประสบปัญหาถังแตกระหว่างการสร้างเกมถึง 5 ครั้งเลยทีเดียว แต่สมัยนี้มีแคมเปญอย่าง Kickstarter ที่เสนอโปโปรเจกของตนเองลง Kickstarter และหาบุคคลที่สนใจมาช่วยร่วมบริจาค แค่นั้น คุณก็จะมีเงินไปบริหารการสร้างเกมของคุณ อีกปัญหาใหญ่ของ ค่ายเกมอินดี้คือการจัดจำหน่าย แน่นอนด้วยต้นทุนที่ต่ำซะจนติดดินและแทบจะกินแกลบเป็นอาหารหลักตลอดการสร้างเกมอยู่แล้ว แน่นนอนว่าไม่มีปัญญาปั๊มแผ่นขายแน่ๆจึงต้องหาช่องทางการจำหน่าย Steam green light จัดเป็นทางออกที่ง่ายที่สุดสำหรับทีมงานครับแค่เสนอเกมไป รอคนมาสนับสนุนให้ออกจำหน่ายทาง Steam แค่นั้นก็สามารถตัดปัญหาการวางจำหน่ายได้ แน่นอนว่าเป็นส่วนดีที่จะช่วยให้นักพัฒนาได้แสดงฝีมือความสามารถกัน ได้ง่ายขึ้น ผลดีก็ตกอยู่ที่ผู้บริโภคที่มีตัวเลือกมากขึ้น
อินดี้ เล่นง่ายๆเรื่อยๆเปื่อยๆ
อืม….ถ้าถามถึงแนวการเล่นเกมอินดี้แต่ละเกมค่อนข้างที่จะมีแนวทางเฉพาะตัวที่แตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่าง surgeon simulator เกมอินดี้ที่เอาแนวเกมแบบจำลองเหตุการณ์มาใช้เป็นแนวเกมผสานกับความอินดี้ส่วนตัวถึงคุณจะผ่าตัดคนไข้เคสนี้ไปแล้วแต่ก็กลับมาผ่าใหม่อีกครั้งได้ หรือ MineCraft ที่โลกกว้างมากจนสำรวจไม่หมดเล่นกันระหว่างผู้เล่นได้อย่างไม่มีวันเบื่อ ซึ่งผมคิดว่าจุดขายสำคัญของเกมอินดี้คือสามารถเล่นได้เรื่อยๆอย่างไม่มีทางเบื่อนั่นเอง
เกมอินดี้ไม่ดีจริง ขายไม่ออก
ตลาดเกมในปัจจุบันค่ายเกมใหญ่ๆมักผลิตเกมเอาใจผู้เล่นมากเป็นพิเศษ ทีมงานใหญ่ๆมีผู้ผลิตรวมกันพันๆคน ใช้เวลาหลายปี แต่สำหรับค่ายเกมอินดี้ที่มีทีมงานเพียงไม่กี่คน และผลิตเกมตามไอเดียของตนเอง แน่นอน ความแตกต่างความแหวกแนวนี้ เป็นจุดขายสำคัญของเกมอินดี้ ประสบการณ์ที่เคยเขียนเกมส์มานาน ทำให้ค่ายเกมอินดี้สามารถสร้างสินค้าแหวกแนวที่ตลาดยอมรับได้ในที่สุด ความจริงคือไม่ใช่ว่าคนส่วนใหญ่จะสนใจเล่นเกมอินดี้ แต่ตลาดเกมในปัจจุบันซึ่งค่อนข้างใหญ่พอหารายได้ให้คนเขียนเกมอิ้นดี้สามารถเลี้ยงตนเองได้ถึงกระนั้นก็อย่าลืมว่าก็ยังมีคนที่ประสบความสำเร็จและไม่ประสบความสำเร็จอีกนั่นแหละ
อินดี้ยังไงก็ขายได้เรื่อยๆ
เกมอินดี้ที่ออกมาใหม่ๆนั้นทั้งหมดไม่ใช่เกมกราฟฟิคเทพ ไม่ใช่เกมที่ถูกใจคนส่วนใหญ่ แต่สามารถขายได้เรื่อยๆเพราะเป็นเกมที่เน้นเนื้อเรื่อง และไอเดียไม่เหมือนกับเกมส่วนใหญ่ที่ขายกราฟฟิค ที่ผู้เล่นนิยมเสพย์ เมื่อภาคใหม่ๆออกมาภาคเก่าๆก็ขายไม่ได้ ตามแบบฉบับเดิม ดั้งนั้นเกมแนวอินดี้จึงสามารถครองตลาดได้ยาวนาน เท่าที่ผู้เล่นยังชอบความแปลกใหม่
เอาหล่ะถ้าคุณเป็นคนเล่นเกมธรรมดาคนหนึ่ง ที่เคยมีความคิดว่า “อยากเขียนเกมขาย ..แต่คงเป็นไปได้ยาก” อยากให้หาหนังสารคดีเรื่อง Indie Game The Movie มาชมครับ มันอาจเปลี่ยนความคิดของคุณ จนแทบกลับไปนอนคิดอีกรอบว่า “ลองดีไหม”
บทความจาก juropy.com