เถื่อน vs แท้ และการต่อสู้เพื่อเอาตัวรอดของผู้พัฒนาเกม

แชร์เรื่องนี้:
เถื่อน vs แท้ และการต่อสู้เพื่อเอาตัวรอดของผู้พัฒนาเกม

จากบทความเรื่อง ระบบ Season Pass ที่ผมได้เขียนลงไว้เมื่อวานนี้ เป็นการนำเสนอการตลาดที่ตัวผู้บริโภครู้สึกถึงความไม่เป็นธรรม ในมุมมองของผู้บริโภคเอง  ซึ่งสำหรับเกมเมอร์อย่างเราๆ ที่เป็นผู้บริโภค จะมีความคิดแบบนั้นก็ไม่ผิดครับ แต่ใช่้ว่าผู้พัฒนาเกมทุกค่ายจะเป็นเหมือนกันหมด ซึ่งวันนี้ผมก็อยากมาลองเสนอมุมมองสำหรับทางผู้พัฒนาเกมเองบ้าง กับเหตุผลที่ว่า เพราะอะไรการตลาดของวงการเกมถึงเปลี่ยนไปเช่นนี้

ผู้พัฒนาเกม และ ตัวแทนจำหน่าย
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับผู้พัฒนาเกม (Developer / Studio) และตัวแทนจำหน่าย (Publisher) กันก่อนนะครับ  

- ผู้พัฒนาเกม : เป็นกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก รวมไปถึงนักเขียบท นักพากย์ ฯลฯ หรือพูดง่ายๆ ก็คือ เป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการผลิตเกมนั้นๆ ออกมาให้พวกเราเล่นกัน จะคนมาก คนน้อย ก็แล้วแต่ขนาดขององค์กร (ดูได้จาก Credit หลังจากเล่นเกมจบ) หน้าที่หลักของคนกลุ่มนี้คือการสร้างเกมออกมา แต่เกมที่พวกเขาสร้างนั้นก็ต้องผ่านการนำเสนอ และทำสัญญากับบริษัทเครื่องเกมต่างๆ ก่อนด้วย

- ตัวแทนจำหน่าย : เป็นกลุ่มคนที่มีความรู้ด้านการตลาด สามารถกระจายสินค้า และบริการจากผู้พัฒนาถึงมือผู้บริโภค ได้อย่างทั่วถึง ตัวแทนจำหน่ายบางแห่งก็มีทีมงานพัฒนาเกมเป็นของตัวเอง หน้าที่หลักของพวกเขาคือการวางแผนการตลาด และกระจายสินค้า หรือทำการขายให้ได้ดีที่สุด ซึ่งตัวแทนจำหน่ายรายใหญ่อย่าง Sony หรือ Microsoft ก็จะมีเครื่องคอนโซลเป็นของตัวเองด้วย

     ผู้พัฒนาเกมบางค่าย ที่่มีผลงานดี มีชื่อเสียง ส่วนใหญ่ก็มักจะถูกซื้อตัวไว้ทำเกมให้กับบริษัทอย่างเช่น Sucker Punch ที่ถูกทาง Sony ซื้อตัวเพื่อทำเกม Exclusive สำหรับเครื่อง Playstation เป็นต้น

     ส่วนบางค่ายก็ถูกซื้อตัวเหมือนกัน แต่ถ้าไม่ใช่ตัวแทนบริษัทที่มีเครื่องคอนโซล อย่าง Visceral Game ที่อยู่ในสังกัดของ EA ที่ไม่มีเครื่องคอนโซลเป็นของตัวเอง จึงสามารถทำเกมสำหรับเครื่องคอนโซลต่างๆ รวมไปถึง PC ได้

     และบางค่าย อาจจะอินดี้ไม่มีสังกัดเป็นของตัวเอง อย่างเช่น Crytek ที่มีเกมซีรี่ส์ใหญ่ๆ 2 เกมอย่าง FarCry ที่มี Ubisoft เป็นตัวแทนจำหน่าย และ Crysis ที่มี EA เป็นตัวแทนจำหน่าย เป็นต้น

เกมเถื่อน ภัยร้ายของผู้พัฒนาเกม
เกมเืถื่อน เป็นคำรวมๆ ที่หมายถึง แผ่นผี และ พวกปล่อยโหลดฟรี ที่ผิดกฏหมาย มีอยู่หลายคนที่ให้ความสนใจกับเกมเถื่อนมากกว่าเกมแท้เพราะมีัราคาถูกกว่า ยิ่งพวกโหลดก็โหลดเล่นกันฟรีๆ ไม่ต้่องจ่ายเงินเลยเสียด้วยซ้ำ ผลที่ตามมาก็คือ ยอดจำหน่ายที่ตกต่ำลงเรื่อยๆ นั่นเอง และเมื่อยอดขายตกต่ำลง สินค้าก็ถูกตีกลับมายังตัวแทนจำหน่าย และความซวยจะดีดกลับมาหาผู้พัฒนาในที่สุด...

 

ผู้พัฒนาซวยยังไง ?

ซวยชั้นที่ 1
ผลการขายที่ตกต่ำมีผลกระทบต่อเงินรายได้แน่นอนครับ สำหรับผู้พัฒนาบางค่ายที่อยู่ในสังกัดของคัวแทนจำหน่าย ก็ยังสามารถหันไปซบอกในอ้อมกอดของตัวแทนจำหน่ายนั้นๆ ได้ เพราะยังไงรายได้ของพวกเขาก็อยู่ที่เงินเดือนจากตัวแทนจำหน่าย แต่สำหรับค่ายเกมอินดี้ หรือเกมที่ไม่มีสังกัด อาจจะต้องเครียดหน่อย

ซวยชั้นที่ 2
บางที เกมกระแสดี ออกจะถึงขั้นเป็นเ้กมดังด้วยซ้ำ แต่กลับขายไม่ดี มีความเสี่ยงสูงที่จะถูกพิจารณาดรอปหากมีการเสนอโปรเจ็กต์ภาคต่อไป เคยสงสัยไหมครับ บางเกมเจ๋งโคตร แต่กลับไม่มีภาคต่อ.. (เหตุผลอาจจะมาจากผู้พัฒนาต้องการสร้างภาคเดียวอยู่แล้วก็ได้อย่างเช่น Vanquish ของ สตูดิโอ Platinum Games เป็นต้น)

ซวยชั้นที่ 3
เมื่อยอดขายไม่กระเตื้อง ขุนให้ตายยังไงก็ไม่ขึ้น สตูดิโอนั้นๆ อาจจะถูกเลิกถอนสัญญาจ้าง หรือพูดง่ายๆ ก็คือ โดนไล่ออกยกก๊วนนั่นเอง ซึ่งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีสตูดิโอหลายแห่งปิดตัวไป ซึ่งบางที่พวกเราก็ไม่รู้ บางสตูดิโอตัวแทนจำหน่ายเองก็พยายามข่วย ซึ่งสำหรับข่าวการเจ๊งที่ใหญ่ใหญ่สุดๆ ในวงการเกมเลยก็คือตัวแทนจำหน่ายชื่อดังอย่าง THQ และพลพรรคในสังกัดทั้งหลาย ที่ล้มละลายแบบสุดๆ เพราะเป็นหนี้กว่า 50 ล้านเหรียญ และไม่สามารถรักษาสมดุลย์ทางการเงินได้อีกต่อไป จึงเป็นที่มาของเหตุการ "THQ ตัวแตก" เหล่าผู้พัฒนาค่ายต่างๆ ที่อยู่ในสังกัดต่างกระจัดกระจายไปคนละทิศละทาง ค่ายที่มีฝีมือหน่อยก็ถูกตัวแทนจำหน่ายอื่นซื้อตัวไป ส่วนระดัีบล่างๆ ก็ตกงานกันเป็นทิวแถว

โดยสรุปแล้ว ทีมผู้พัฒนาเกม เป็นอาชีพที่โดนได้ทั้งขึ้นทั้งร่องเพราะต่อให้เกมดังแค่ไหน ระบบดียังไง ใช้เวลากี่สิบปีในการพัฒนา แต่ถ้าทำยอดขายไม่ได้ ผลงานของพวกเขาจะถูกทางตัวแทนจำหน่ายมองว่าเป็นงาน "ไร้คุณภาพ" ทันที นั่นถือว่าเป็นความเจ็บปวดสูงสุดของผู้สร้างผลงานเลยล่ะครับ

ดังนั้นผู้ที่จะช่วยให้กลุ่มผู้พัฒนาสามารถคงอยู่ได้ก็คือ ตัวแทนจำหน่าย ครับ

เทคนิคทางการตลาด แสงสว่าง และ ความมืด

ด้วยสาเหตุต่างๆ ข้างต้นทำให้ตัวแทนจำหน่าย ต้องกอบกู้หาเทคนิคทางการตลาดต่างๆ มากระตุ้นยอดขายของเกมในสังกัดตัวเอง ให้บริษัทและค่ายในสังกัดอยู่รอดปลอดภัย แต่ทุกแผนการตลาดที่ออกมา มักจะถูกนำไปใช้ลอกเลียนแบบจนเป็นอารยธรรมไปในแต่ละยุคของการตลาดเกม ซึ่งก็มีทั้งเลียนแบบเพื่อกระตุ้นยอดขาย และเลียนแบบเพื่อหวังกอบโกยกำไร ซึ่งถ้าแบ่งเป็นยุคต่างๆ ก็สามารถแบ่งได้ดังนี้ครับ

- ก็เริ่มยุคแรกๆ คือการเพิ่มของสมนาคุณต่างๆ สำหรับผู้ซื้อแผ่นแท้ เช่นพวงกุญแจ หรือสติ๊กเกอร์ เล็กๆ น้อยๆ เพราะยุคนั้นยังไม่มีการซื้อคอนเท้นผ่านระบบดิจิตอลเหมือนทุกวันนี้ตัวแทนจำหน่าย จึงทำของแถมแจกให้พ่อค้าคนกลางในร้านขายเกม เอาไปแจกให้กับผู้ซื้อเกมแท้กันอีกที

- วันเวลาผ่านไป เมื่อระบบการเพิ่มของแถมเล็กๆ น้อยๆ มีผลมากขึ้น ระบบของแถมเล็กๆ น้อยๆ แบบเดิมหมดไป กลายเป็นการเพิ่มของชิ้นใหญ่ลงไปแทนแล้วเพิ่มมูลค่าขึ้นไปอีก เป็นการจำหน่ายแบบ Limited Edition เพิ่มความน่าสนใจให้แก่ผู้บริโภค ที่เลือกได้ว่าจะซื้อแบบชุดปกติ หรือ Limited Edition ก็ได้ สำหรับพวกคนที่เล่นเืถื่อนจะหมดสิทธิ์ในส่วนนี้ แต่ก็ไม่ได้ช่วยอะไรมาก เพราะคนจะเล่นเถื่อนส่วนใหญ่ไม่ได้สนใจไอเทมเหล่านี้อยู่แล้ว อย่างมากก็ได้เงินเพิ่มจากเกมเมอร์ที่ซื้อ Limited ไปนิดๆ หน่อยๆ พอเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง

- เมื่อยุคดิจิตอลมาถึง เกมสามารถทำดาวน์โหลดคอนเท้นได้ จึงทำให้ทางผู้พัฒนาเริ่มมีการสร้าง DLC ส่วนเสริมออกมาให้กับเกมเดิมที่เคยออกไปแล้ว มีทั้งการเพิ่มเนื้อเรื่อง เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ ระบบใหม่ๆ มาเพิ่มยอดขายเสริมอีกนิดๆ หน่อยๆ แฟนๆ ที่ชอบเกมนั้นๆ ก็มีสิทธิ์เลือกว่าสามารถโหลดคอนเท้นไหนได้บ้าง แต่แล้วก็ไม่พ้นเงื้อมมือของเหล่านักเล่นเถื่อน เพราะยิ่งเป็นคอนเท้นดิจิตอล ยิ่งดึงมาง่ายไปใหญ่

บางทีอาจจะเป็นจุดสูงสุดในการอดทนแล้ว ของทางผู้พัฒนาและตัวแทนจำหน่ายก็เป็นได้ เนื่องจากการเล่นเถื่อนนั้นมีอย่างแพร่หลาย แถมเป็นสังคมซ่อนเร้นบนอินเตอร์เนตที่ไม่สามารถเ้ข้าไปตรวจสอบอะไรได้ สิ่งเดียวที่จะทำให้บริษัทและผู้พัฒนาในสังกัดอยู่รอดได้ ก็คงจะเหลือแต่ทำคอนเท้นใหม่ๆ หรือทำอะไรก็ตามที่ช่วยสร้างเม็ดเงินเข้าบริษัท ซึ่งในจุดนี้ ก็เป็นไปได้ทั้ง 2 แบบก็คือ ทำเพื่อให้ตัวเองอยู่รอด และทำเพื่อให้ตัวเองโกยกำไรได้มากขึ้นจนออกมาเป็นเทคนิคการตลาดแบบต่างๆ ที่ผู้บริโภคต่างไม่พอใจ และร้องยี้ใส่ไปตามๆ กัน

 

 

สิ่งที่ผมอยากจะฝากไว้สำหรับบทความนี้ก็คือ การเริ่มต้นของทุกอย่างมันมีเหตุผลครับ และบางทีการทำการตลาดอะไรแบบที่ผู้บริโภครู้สึกว่าโดนเอาเปรียบ แต่ความจริงแล้ว พวกผู้ผลิตเองอาจกำลังต่อสู้กับความชั่วร้ายของเกมเถื่อนอยู่ก็เป็นได้ครับ แต่จำใจต้องใช้วิธีแบบนี้เพื่อเอาตัวรอด เพื่อปากท้อง ในยุคดิจิตอล ที่คอนเท้นต่างๆ ที่พวกเขาตั้งใจสร้าง ถูกโขมยไปใช้ประโยชน์อย่างง่ายดายแบบนี้

 

เมื่อเห็นแบบนี้แล้ว... วงการเกมเถื่อน หรือ ผู้พัฒนาเกม ใครที่สมควรได้รับการสนับสนุน ?
ผมเชื่อว่าคำตอบอยู่ในใจเพื่อนๆ ทุกคนดีอยู่แล้วล่ะครับ ^^

 

ซื้อแท้กันเถอะครับ เพื่อให้มีเกมดีๆ ออกมาให้พวกเราเล่นต่อไปครับ ^^

แชร์เรื่องนี้:

เรื่องที่คุณอาจสนใจ