ภาพความประทับใจ ที่สร้างความรู้สึกดีๆ จาก พาราลิมปิกเกมส์ 2012

แชร์เรื่องนี้:
ภาพความประทับใจ ที่สร้างความรู้สึกดีๆ จาก พาราลิมปิกเกมส์ 2012

           หลังจากจบการแข่งขันพาราลิมปิก 2012 ไปเรียบร้อยแล้ว เมื่อก่อนผมเองก็ไม่ได้เป็นคนที่ติดตามดูกีฬาตลอด ปีนี้มีโอกาสได้ดูมากขึ้น ทำให้เพิ่งทราบเหมือนกันว่าพาราลิมปิกเป็นการแข่งขันกีฬาคนพิการระดับโลกที่มีการแข่งขันกีฬาหลายชนิด และจะจัดขึ้นหลังจากจบการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก โดยเจ้าภาพก็จะเป็นเจ้าภาพเดียวกับโอลิมปิก  ในวันที่ผมดูการถ่ายทอดทางทีวี ผมรู้สึกประทับใจกับคนที่มาแข่งขันกีฬาต่างๆ ถ้าไม่มีความพยายามอย่างมาก ไม่มีกำลังใจ ใจไม่สู้ คงไม่สามารถมายืนอยู่จุดนี้ได้อย่างแน่นอน สำหรับวันนี้ผมก็มีภาพประทับใจในการแข่งขันพาราลิมปิก 2012 มาให้เพื่อนๆ ได้รับชมกัน น่าจะสร้างความปราบปลื้มใจได้ ไม่มากก็น้อย พร้อมประวัติการจัดแข่งพาราลิมปิกเกมส์

"นิโคล เทย์เลอร์ - เดวิด แวกเนอร์" นักกีฬาจากอเมริกา หลังจากคว้าเหรียญทองกีฬาเทนนิสประเภทคู่มาครอง 
 "เจมส์ โอเชีย" นักกีฬาจากสหราชอาณาจักร กำลังกระโดดน้ำลงแข่งว่ายน้ำประเภทชาย 100 เมตร
"เยรี่ เยเซค" นักกีฬาจากสาธารณรัฐเชค ดีใจจนถึงกับหลั่งน้ำตาหลังจากชนะเลิศจักรยานชายเดี่ยว

 
Katherine Downie, Ellie Cole and Maddison Elliot of Australia celebrate as teamate Jacqueline Freney wins them the gold medal in the Women's 4x100m Freestyle.
"แคเธอรีน ดาวนี่, เอลลา โคล, แมดดิสัน เอลเลียต" กับอาการดีใจหลังจากที่ "แจกเกอลีน ฟรีนีย์" เพื่อนร่วมทีมการแข่งขันว่ายน้ำฟรีสไตล์ 4x100 เมตรหญิง สามารถว่ายถึงฝั่งก่อนเป็นคนแรกและคว้าเหรียญทองมาได้
"แมทท์ สตุ๊ทซ์แมน" นักกีฬายิงธนูจากอเมริกา กำลังแข่งขันในกีฬายิงธนูประเภทชายเดี่ยว
"แอนดี้ อเวลลาน่า" นักกีฬาจากฟิลิปปินส์ กำลังกระโดดข้ามไม้พาดในการแข่งขันกระโดดสูงชาย
"จอนนี่ พีค็อก" นักกีฬากรีฑาจากอังกฤษ แสดงท่าทางดีใจหลังจากชนะในประเภทวิ่งชาย 100 เมตร
นักกีฬาว่ายน้ำจากจีน "เหอ จุนฉ่วน" ใช้ปากกัดผ้าขนหนูเพื่อค้ำยันร่างก่อนทิ้งตัวลงแข่งในการแข่งขันว่ายน้ำชายกรรเชียง 50 เมตร
ภาพของ "กีลเลอมี โซอาเรส ดี ซานตาน่า" ไกด์ในการวิ่งแข่งของ "เทเรซีนฮา กีลีเออมิน่า" นักกีฬาจากบราซิล แสดงความดีใจหลังจากชนะประเภทหญิง 100 เมตร ในขณะที่เจ้าตัวนักกีฬายังไม่รู้ว่าตนเองชนะ

  Iliesa Delana from Fiji celebrates winning the men's High Jump Final F42.
"อิลลิซ่า เดลาน่า" นักกีฬาจากฟิจิ โบกธงชาติแสดงความดีใจหลังจากชนะการกระโดดสูง

ประวัติพาราลิมปิกเกมส์

ในปี ค.ศ. 1948 ดอกเตอร์ลุดวิก กูทมัน ศัลยแพทย์ประจำโรงพยาบาลสโตก แมนเดวิลล์ ได้มีแนวคิดจัดการแข่งขันกีฬาขึ้น เพื่อเป็นการเสริมสร้างฟื้นฟูสมรรถภาพกายและใจ ของทหารผ่านศึกชาวอังกฤษ จากสงครามโลกครั้งที่ 2 และจัดแข่งขันอีกครั้งในปี ค.ศ. 1952 ที่อังกฤษเช่นกัน แต่ครั้งนี้มีทหารผ่านศึกชาวดัตช์ เข้าร่วมการแข่งขันด้วย ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เป็นการแข่งขันกีฬาคนพิการ ในระดับนานาชาติครั้งแรกของโลก

นับแต่นั้นมา ก็มีการแข่งขันระดับนานาชาติ เป็นกิจจะลักษณะต่างกรรมต่างวาระ มาเป็นระยะๆ จนถึงปี ค.ศ. 1960 ที่กรุงโรมของอิตาลี กีฬาคนพิการนานาชาติ ก็ปรับระบบเข้ามาสู่การเป็น “กีฬาโอลิมปิกคนพิการ” ด้วยการจัดในเมืองเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ในปีเดียวกันเป็นครั้งแรก แต่แนวความคิดดังกล่าวก็ประสบปัญหามากมาย โดยเฉพาะปัญหาค่าใช้จ่ายบานปลายของเมืองเจ้าภาพโอลิมปิก ทำให้กีฬาคนพิการนานาชาติ ต้องแยกไปแข่งขันเองต่างหาก ตามหัวเมืองอื่นๆ ที่มีความพร้อม และเป็นไปได้มากกว่า

จนถึงปี ค.ศ. 1988 แนวความคิดดังกล่าวก็บรรลุวัตถุประสงค์ในที่สุด เมื่อคณะกรรมการโอลิมปิกสากล และสหพันธ์กีฬาคนพิการนานาชาติ (ปัจจุบันคือ คณะกรรมการพาราลิมปิกสากล) ร่วมกันขอความร่วมมือให้เจ้าภาพกีฬาโอลิมปิก รับหน้าที่เป็นเจ้าภาพกีฬาพาราลิมปิก ควบคู่ไปในปีเดียวกัน ทั้งเกมฤดูร้อน ทั้งเกมฤดูหนาว กล่าวได้ว่า กีฬาพาราลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 8 ที่กรุงโซลของเกาหลีใต้ เมื่อปี ค.ศ. 1988 เป็นการเริ่มต้นกีฬาพาราลิมปิกอย่างเป็นทางการ

ขอบคุณ teenee.com

แชร์เรื่องนี้:

เรื่องที่คุณอาจสนใจ