10 อันดับเมฆหาดูได้ยาก

เมฆก็คือเมฆเหมือนทุกวันที่เราเห็นนี่แหล่ะ แต่เมฆที่เราจะแนะนำต่อไปนี้ เป็นเมฆที่อาจจะหาดูได้ยาก ใครเคยเจอเมฆแบบไหนใน 10 อันดับนี้ ก็บอกเล่ากันบ้างนะ

อันดับที่ 10 : Altocumulus Castelanus

เมฆกลุ่มนี้คือจะเป็นพุ่มๆเหมือนแมงกะพรุน เกิดจากลมที่ชื้นๆจากกระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีม มาเจอกับอากาศแห้งๆ

อันดับที่ 9 : Nacreous

เรียกได้ว่าเป็นไข่มุกแห่งเมฆาเลยทีเดียว เพราะสีนวลตาและหลากสี ทำให้เพลินตาดี ซึ่งจะพบได้ ที่แถบใกล้ๆขั้วโลกเช่นสแกนดิเนเวียตอนช่วงหน้าหนาว เวลาเย็นๆที่แสงอาทิตย์ส่องผ่าน เป็นเวลา 2 ชั่วโมงเท่านั้นที่เราจะเห็นแบบชัดๆ

อันดับที่ 8 : Mammatus Clouds

เมฆ ลักษณะแบบเป็นกระเปาะยื่นลงมา คนทั่วไปมักจะนึกว่าเดี๋ยวจะมีพายุเข้ามารึเปล่าหว่า จริงๆแล้ว เมฆนี้ไม่ใช่สัญญาณเตือนอันตรายแต่อย่างใด แต่มักเกิดขึ้นหลังจากที่พายุทอร์นาโดพ้นผ่านไปแล้วต่างหาก

อันดับที่ 7 : Mushroom Clouds

เมฆแบบนี้คงไม่ใช่อะไรที่จะดีเท่าไหร่ เพราะมันเกิดจากการระเบิดอย่างแรง ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะ เชื่อมโยงกับระเบิดนิวเคลียร์

อันดับที่ 6 : Noctilucent Clouds

ตามชื่อ คือ เกิดขึ้นในช่วงกลางคืนแต่เรืองแสง ซึ่งเกิดที่บริเวณใกล้ขั้วโลกโดยแสงอาทิตย์ จากอีกฟากส่องมาปะทะกับเมฆ จึงเห็นเหมือนกับเรืองแสงได้

อันดับที่ 5 : Cirrus Kelvin-Helmholtz

เป็น เมฆม้วนเป็นเกลียว โอกาสเกิดขึ้นยากมาก และเกิดขึ้นเป็นเวลา 2-3 นาที แล้วจากนั้นก็เละ เรียกว่า เป็นความบังเอิญจริงๆ

อันดับที่ 4 : Lenticular Clouds

เกิดจากหลายองค์ประกอบ ทั้งลมและความชื้น ทำให้รวมกลุ่มกลายเป็นเลนส์ได้(แต่บางครั้ง ก็เหมือน U F O นะ หรือว่า…..!??)

อันดับที่ 3 : Roll Clouds

เป็นเมฆฝนถึงขั้นที่จะเกิดพายุ แต่เป็นเมฆก้อนใหญ่บวกกับความดันอากาศ ความร้อนและเย็น ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของเมฆเป็นการม้วน เลยดูเหมือนคลื่นขนาดใหญ่

อันดับที่ 2 : Shelf Clouds

ลักษณะ คล้ายๆกับอันดับ 3  แต่อันนี้ไม่ได้เป็นการม้วน แต่เป็นชั้นๆเหมือนที่กำบัง(บ้างก็ว่าเหมือนลิ้นชัก) และจะมาเป็นแนวตั้ง นอกจากนี้มันยังคล้อยตัวต่ำจนน่ากลัว และเขาบอกว่าถ้าเข้าไปอยู่ในนั้นนี่ อย่างกับในหนังเลย พายุกระหน่ำรวมทั้งอุณหภูมิที่ร้อนมากๆและการหมุนของ พายุที่น่าสะพรึงกลัว

อันดับที่ 1 : Stratocumulus Clouds

เมฆ แบบนี้เกิดขึ้นได้ยาก ลักษณะมันก็เหมือนกับเอาดินน้ำมันมานวดๆๆๆๆๆๆ เลยออกมาเป็นเส้นยาวๆ และเผอิญว่าเส้นยาวๆจะแบ่งเป็นช่วงๆซะด้วย ทฤษฎีว่าด้วยเรื่องของการเกาะกลุ่ม

จาก http://writer.dek-d.com/AngelTVXQ/story/viewlongc.php?id=373655&chapter=360
(จริงๆ อันนี้เป็นฟอร์เวิร์ดเมลล์ซึ่งที่มาไม่ทราบแน่ชัด แต่ขอเอาลิงค์ของที่ por_kk เห็นครั้งแรกมาแปะล่ะกัน เขาให้เครดิตมติชน แต่มติชนให้เครดิต ฟอร์เวิร์ดเมลล์ เอิ๊กกกก)

คำที่เกี่ยวข้อง

สมัครรับข่าว OS

คุณอาจสนใจเรื่องนี้