Spore:Chapter 5-1 การออกแบบสร้างยานอวกาศ

การออกแบบสร้างยานอวกาศ

เมื่อมาตรวัดความก้าวหน้าในช่วงอารยธรรมถูกเติมเต็มแล้ว เมื่อคลิกที่ปุ่ม “พัฒนาสู่ช่วงท่องอวกาศ” ก็จะเป็นการนำคุณสู่การเล่นในช่วงท่องอวกาศ แต่สิ่งแรกที่คุณจะต้องทำคือการออกแบบสร้างยานอวกาศ การออกแบบสร้างยานอวกาศนั้นจะเหมือนกับการสร้างพาหนะแบบต่างๆ ในช่วงอารยธรรม ที่จริงจะมีชิ้นส่วนต่างๆ ของพาหนะในช่วงอารยธรรมทุกประเภทให้เลือกใช้ด้วย และที่เพิ่มมาให้คุณได้เลือกใช้คือชิ้นส่วนประเภท “อวกาศ”

Note
แม้ว่าชิ้นส่วนทั้งหมดที่มีให้เลือกใช้ในการออกแบบสร้างยานอวกาศจะมีหลากหลายและมีราคาแต้มวัสดุแตกต่างกันไป แต่ทุกชิ้นต่างก็ไม่มีค่าสถานะหรือส่งผลต่อสมรรถนะของยานแต่อย่างใด ดังนั้นคุณสามารถออกแบบสร้างยานอวกาศของคุณให้มีรูปร่างอย่างไรก็ได้ตามใจชอบ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็มีเพียงแต้มวัสดุและมาตรวัดความซับซ้อนเท่านั้น

Star Clumper
เช่นเดียวกับพาหนะทั้งหลายของเผ่าพันธุ์ Clumpy ที่ผ่านมาจนเมื่อมาถึงยุคอวกาศ Star Clumper ก็ยังคงถูกออกแบบให้สะท้อนถึงเอกลักษณ์ของชนชาติ Clumpy เพราะมันจะถูกใช้เป็นตัวแทนในการติดต่อสื่อสารกับสิ่งมีชีวิตที่มีสติปัญญาบนดาวดวงอื่น

ท็อปควาร์ก
มีเทคโนโลยีชั้นสูงมากมายถูกบรรจุไว้ในชิ้นส่วนนี้ เราจะอธิบายถึงมันก็ได้แต่คงจะทำให้คุณปวดหัวเสียเปล่าๆ

กอนโดล่า
ส่วนห้องควบคุมยาน และห้องโดยสารของลูกเรือ

แอสโตรเคอร์เนล
องค์ประกอบที่ส่วนท้ายของตัวยาน บางทีอาจเป็นที่บรรจุเชื้อเพลิงและกลไกขับเคลื่อน

ฟิวชั่นคอยล์
อุปกรณ์ที่ใช้ขับเคลื่อน Star Clumper

โกลว์สแตทท์
อุปกรณ์ส่องสว่างตกแต่งหน้าลำตัวยาน

เดอะโกลว์พอร์ท x 5
อุปกรณ์ส่องสว่างตกแต่งด้านข้างลำตัวยาน

วาคูมม์คัปส์
ชิ้นส่วนที่อยู่ใต้ห้องบังคับการ อาจใช้เพื่อเก็บชิ้นส่วนตัวอย่างต่างๆ

วาคูมม์สปาตูล่า
เสารับสัญญาณเพื่อใช้ติดต่อทั้งกับฝ่ายเดียวกันและสิ่งมีชีวิตบนดาวดวงอื่น

โซนิครีดิวเซอร์
ปีกด้านบนของยาน ที่ทำให้ดูคล้ายกระบอกตาของ Clumpy

แอสตรอยด์เบลเตอร์
อาวุธป้องกันตัวสำหรับกรณีที่วิถีทางสันติอาจไม่ได้ผล

พลาสม่าเลทท์
ติดท่ส่วนปลายของปีกบนตัวยาน ให้ดูคล้ายลูกตาของ Clumpy

ขั้นตอนการสร้าง Star Clumper
ขอย้ำอีกครั้งว่าชิ้นส่วนที่คุณเลือกใช้ประกอบเป็นยานอวกาศไม่มีค่าสถานะใดๆ ที่จะส่งผลต่อสมรรถนะของยาน ดังนั้นยานทุกลำไม่ว่าจะมีรูปร่างหรือชิ้นส่วนแบบใดก็จะมีความสามารถในการปฏิบัติการเท่าเทียมกัน (ไม่เกี่ยวกับเครื่องมือต่างๆ ที่จะได้มาในช่วงท่องอวกาศ) ข้อจำกัดในการสร้างจึงอยู่ที่แต้มวัสดุที่มีให้ 10,000 แต้ม กับมาตรวัดความซับซ้อนเท่านั้น

1. เราเริ่มต้นด้วยการเลือกชิ้นส่วนท็อปควาร์กเป็นส่วนลำตัวยาน และปรับเปลี่ยนให้ปีกด้านข้างเห็นชัดเจนยิ่งขึ้น

2. ติดตั้งชิ้นส่วนกอนโดล่าไว้ด้านล่างเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของลูกเรือ

3. ติดตั้งชิ้นส่วนแอสโตรเคอร์เนลไว้ด้านท้ายรวมถึงฟิวชั่นคอยล์ที่เป็นไอพ่นขับเคลื่อน

4. ติดโกลว์สแตทท์ไว้ด้านหน้าตัวยาน และเดอะโกลว์พอร์ทห้าชิ้นตามแนวด้านข้าง

5. ใช้แอสตรอยด์เบลเตอร์ไว้ใต้ปีกทั้งสองข้าง

6. ติดวาคูมม์คัปส์ใต้ห้องโดยสารใต้ลำตัวยานเพื่อใช้เก็บชิ้นส่วนตัวอย่างที่สนใจ

7. ติดวาคูมม์สปาตูล่าไว้ด้านบนของส่วนท้ายลำตัวยาน

8. วางโซนิครีดิวเซอร์ด้านบนเพื่อให้ดูคล้ายกระบอกตาของ Clumpy

9. ปิดท้ายด้วยพลาสม่าเลทท์ให้ดูคล้ายเป็นลูกตา เป็นอันเสร็จสิ้น

โปรแกรมสร้างยานอวกาศ

ทันทีที่เริ่มเข้าสู่ช่วงท่องอวกาศสิ่งที่เกมจะให้คุณทำเป็นสิ่งแรกก็คือการออกแบบสร้างยานอวกาศของคุณ เพราะทันทีที่เข้าสู่การเล่นในช่วงท่องอวกาศ ยานอวกาศจะเป็นพาหนะหลักที่สำคัญที่สุดที่คุณจะต้องควบคุมมันเพื่อทำภารกิจต่างๆ รวมถึงใช้ในการติดต่อกับสิ่งมีชีวิตต่างดาวที่คุณได้พบ โปรแกรมสร้างยานอวกาศจะทำงานในแบบเดียวกับโปรแกรมสร้างพาหนะแบบต่างๆ ที่คุณเคยใช้มาแล้วในช่วงอารยธรรม ดังนั้นอ้างอิงถึงวิธีการใช้งานโดยละเอียดได้ในบทที่ 4

ชิ้นส่วนประเภทยานอวกาศ

ชิ้นส่วนต่างๆ ทั้งหมดสำหรับพาหนะทุกแบบในช่วงอารยธรรมจะถูกนำมาให้คุณเลือกใช้ในการออกแบบสร้างยานอวกาศด้วย และที่เพิ่มเติมมาใหม่คือชิ้นส่วนประเภทยานอวกาศอีก 20 ชิ้น

ชิ้นส่วนยานอวกาศ
แอสโตรแกร๊บเบอร์ (400) เอ็กโซอาร์ม (400) วาคูมม์คัปส์ (400) ยูทิลิตี้คลาสเปอร์ (400) ไกด์ทรัสท์ (1,000) พลาสมาเจ็ท (1,000) พาร์ติเคิลไดรฟ์ (1,000)

ฟิวชั่นคอยล์ (1,000) วาคูมม์สปาตูล่า (25) เซติแจมเมอร์ (25) ฟังก์ชั่นเพลท (25) แรบบิทเอียร์ส (25) ร็อคเก็ทฟาคาดด์ (1,000) ครัสตาเซียเนาท์ (1,000)

โซนิครีดิวเซอร์ (1,000) บลาสท์วิงส์ (1,000) แลนดิ้งเกียร์ (1,000) แลนดิ้งคิวชั่น (1,000) เทร๊ดไลท์ลี่ (1,000) ฮาร์ดแลนดิ้ง (1,000)

คำแนะนำ: ชิ้นส่วนประเภทอวกาศนั้นเหมือนกับชิ้นส่วนประเภทเอฟเฟกต์และส่วนปลีกย่อย พวกมันมีราคาค่อนข้างสูงและต้องวางเพื่อเชื่อมต่อกับชิ้นส่วนหลักที่มีอยู่แล้วเท่านั้น เมื่อติดเยื้องออกจากแนวแกนกลางออกไปทางด้านข้างของยานมันจะปรากฏขึ้นทั้งสองข้างเพื่อให้เกิดความสมมาตร นอกจากนั้นยังมีค่าความซับซ้อนค่อนข้างสูงจึงต้องพิจารณาเลือกใช้อย่างเหมาะสม

ตัวอย่างยานอวกาศ
ต่อไปนี้คือตัวอย่างยานอวกาศสามแบบที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โปรแกรมสร้างยานอวกาศยินยอมให้คุณปรับเปลี่ยนผสมผสานทุกชิ้นส่วนได้เช่นเดียวกับโปรแกรมสร้างพาหนะ ดังนั้นปลดปล่อยจินตนาการของคุณให้เต็มที่

The Trekenberry
แอฟท์บัสเตอร์
โกสท์ร็อคเก็ท
เทเปอร์บัลก์
โซนิครีดิวเซอร์
พลาสม่าเลทท์
แคล๊กซอน
อัลตร้าไวด์แบนด์

เราก็เชื่อว่าคุณน่าจะรู้สึกคุ้นตากับรูปร่างของยานอวกาศลำนี้เป็นอย่างดี มันคือตัวอย่างชั้นดีซึ่งแสดงให้เห็นว่าด้วยชิ้นส่วนเรียบง่ายเพียงไม่กี่ชิ้นหากนำมารวมตัวกันอย่างเหมาะสมก็สามารถออกมาเป็นผลงานที่โดดเด่นได้ ส่วนหลักของลำตัวยานอวกาศคือชิ้นส่วนโกสท์ร็อคเก็ทต่อกับแอฟท์บัสเตอร์ด้วยเทเปอร์บริ๊ค ประดับด้วยพลาสม่าเลทท์และอัลตร้าไวด์แบนด์ ส่วนขับเคลื่อนที่ทำให้รูปร่างสมบูรณ์คือโซนิครีดิวเซอร์

Spacestacean
สกีฟฟี่สกีฟf
เบิร์ดออฟเพรย์
ฟลายคัสปิด
วาคูมม์สปาตูล่า
ไกด์ทรัสท์
สปินเน๊คเกอร์
สม๊อกไลท์
ร็อคเก็ทฟาคาดด์
แลนดิ้งคิวชั่น
ครัสตาเซียเนาท์

แม้ในอวกาศจะไม่มีแรงเสียดทานจากอากาศ แต่การออกแบบให้มันมีรูปทรงคล้ายเรือก็เป็นเสน่ห์อีกแบบ เมื่อเติมชิ้นส่วนประเภทอวกาศเข้าไปรอบๆ ก็ทำให้มันดูคล้ายสิ่งมีชีวิตและน่าเกรงขามขึ้นในเวลาเดียวกัน นอกจากนั้นยังสามารถใช้เป็นอุปกรณ์ขับเคลื่อนบนพื้นดวงดาวได้ด้วย

Whoodoo
ทิวบ์ x 2
เอ็กสปอราโทเรียม
คาริสม่าเนสท์
เดอะโกลว์พอร์ท x 12
พลาสม่าดั๊คท์ x 12

อย่าเข้าใจผิดนี่ไม่ใช่กระปุกเกลือหรือกระปุกโรลออนแต่อย่างใด แม้จะมีรูปร่างที่ไม่ชวนให้นึกไปถึงยาวอวกาศเลยแต่มันก็มีสมรรถนะไม่ต่างจากยานอวกาศสองแบบแรกที่เรายกตัวอย่างไป เพื่อใช้ยืนยันว่าคุณสามารถออกแบบให้ยานอวกาศของคุณให้มีรูปร่างอย่างไรก็ได้ตราบเท่าที่ไม่เกินงบแต้มวัสดุที่มีให้ และตราบเท่าที่มาตรวัดความซับซ้อนยังไม่เต็ม

คำแนะนำการเต้นตลอดช่วงท่องอวกาศ
พรมแดนสุดท้ายของเผ่าพันธุ์
เมื่อคุณสามารถแผ่ขยายอำนาจครอบครองทั้งพิภพได้แล้ว ก็ดูเหมือนจะไม่มีดินแดนแห่งใดให้ยึดครองอีกแล้ว แต่หากเพียงแค่คุณได้แหงนหน้ามองขึ้นไปบนท้องฟ้ายามค่ำคืนคุณก็จะรู้ว่ายังมีดินแดนอีกแห่งที่คุณยังไม่เคยก้าวย่างไปสำรวจ และตอนนี้คุณก็พร้อมแล้วทั้งทรัพยากรและเทคโนโลยีจึงถึงเวลาแล้วที่คุณจะออกไปสำรวจในอวกาศซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรอันไร้ขอบเขต ทั้งยังมีโอกาสที่จะไปตั้งอาณานิคมแห่งใหม่บนดาวดวงอื่นเพื่อเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ หรือได้ติดต่อกับสิ่งมีชีวิตที่มีสติปัญญาจากดาวดวงอื่น ในช่วงท่องอวกาศนี้คุณจะค่อยๆ ได้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในรูปของเครื่องมือต่างๆ ที่จะช่วยเพิ่มความสามารถให้กับยาวอวกาศของคุณทำให้สามารถสำรวจลึกเข้ายังใจกลางกาแล็กซี่ได้ แต่การผจญภัยของคุณไม่สิ้นสุดเพียงเท่านั้นเพราะภารกิจในช่วงท่องอวกาศจะเปิดกว้างไม่มีสิ้นสุด ดังนั้นการเดินทางของคุณจึงไม่มีวันสิ้นสุดลงอย่างแท้จริง

คุณสมบัติพื้นฐานในช่วงท่องอวกาศ
ขอบเขตที่แตกต่าง
สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปจากช่วงอารยธรรมอย่างมากก็คือขอบเขตการสำรวจของคุณ จากดวงดาวที่แสนกว้างใหญ่ที่เคยเป็นแหล่งต้นกำเนิดซึ่งสิ่งมีชีวิตของคุณถือกำเนิดขึ้นมาจากช่วงจุลชีพ และกว่าที่จะสามารถวิวัฒนาการไปสู่เผ่าพันธุ์ที่มีสติปัญญาและสำรวจจนสามารถยึดครองทั้งดวงดาวซึ่งต้องใช้เวลาเป็นร้อยๆ ล้านปีนั้น ที่จริงเป็นเพียงแค่เศษธุลีเล็กๆ ของจักรวาลอันไรพรมแดนเท่านั้น

Note
คุณสามารถปรับเปลี่ยนมุมมองจากระดับพื้นผิวดาวเคราะห์ไปสู่มุมมองระบบดวงดาวไปจนถึงมุมมองกาแล็กซี่ ได้ด้วยการใช้ล้อหมุนบนเมาส์หรือปุ่ม +, – บนคีย์บอร์ด (เป็นการเพิ่มหรือลดระดับการบินของยานอวกาศในเวลาเดียวกันด้วย)

มุมมองพื้นผิวดาวเคราะห์
สภาพพื้นผิวดาวเคราะห์ในช่วงท่องอวกาศนั้นดูคล้ายคลึงกับในช่วงอารยธรรม ที่แปลกไปเล็กน้อยคือคุณจะได้เห็นมันผ่านมุมมองการบินจากยานอวกาศของคุณ และที่มุมซ้ายล่างของหน้าจอยังคงมีแผนที่ขนาดเล็กซึ่งแสดงข้อมูลในแบบเดียวกันกับช่วงอารยธรรมให้ทราบ

พื้นที่ส่วนที่ใช้แสดงแผนที่ขนาดเล็กนั้นจะสามารถใช้แสดงข้อมูลสภาพบรรยากาศและระบบนิเวศน์ของดวงดาวได้ด้วย คลิกที่ไอคอนลูกโลกที่ด้านขวาบนของแผนที่ขนาดเล็กจะเป็นการสลับเปลี่ยนไปดูข้อมูลบรรยากาศและระบบนิเวศน์ รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลในส่วนนี้จะอธิบายอย่างละเอียดในภายหลัง

เมื่อคุณอยู่ในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ในมุมมองพื้นผิวดาวคุณสามารถทำการสแกนพืชและสิ่งมีชีวิตใหม่ๆ เพื่อเก็บข้อมูลเข้าสู่ Sporepedia, หรือจับตัวอย่างที่ต้องการขึ้นยานได้ด้วยเครื่องมือลำแสงลักพา, เปลี่ยนแปลงสภาพบรรยากาศและจัดการเรื่องระบบนิเวศน์, ค้นหาและเก็บวัตถุหรือเครื่องมืออันมีค่า, โจมตีเมืองอาณานิคมและยานของศัตรู

มุมมองระบบดาว
เมื่อยานอวกาศของคุณบินสูงขึ้นจนออกจากชั้นบรรยากาศของดวงดาว มุมมองก็จะเปลี่ยนเป็นมุมมองระบบดาว ที่มุมมองนี้คุณจะสามารถเห็นดาวเคราะห์ต่างๆ ในระบบดาวที่คุณอยู่กำลังโคจรรอบดาวฤกษ์ที่อยู่ใจกลางระบบดาว คุณจะเห็นยานอวกาศของคุณว่ากำลังอยู่บนวงโคจรของดาวเคราะห์ดวงไหนในระบบดาว คุณสามารถบินไปยังวงโคจรของดาวเคราะห์ที่ต้องการได้โดยการคลิกที่ดาวเป้าหมาย ถ้าคุณต้องการติดต่อสื่อสารกับสิ่งมีชีวิตที่มีสติปัญญาบนดาวดวงใด คุณต้องอยู่ในวงโคจรของดาวดวงนั้นก่อน (หรือเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของดาวดวงนั้นก็ได้)

เพื่อติดต่อกับสิ่งมีชีวิตบนดาวให้คลิกที่ปุ่ม “เริ่มการติดต่อ” สีฟ้า ที่อยู่เหนือภาพของสิ่งมีชีวิตที่มีสติปัญญาบนดาวดวงนั้น ถ้าดาวดวงไหนยังไม่มีสิ่งมีชีวิตที่มีเทคโนโลยีสูงพอก็จะไม่ปรากฏปุ่มนี้ให้เลือก เมื่อทำการติดต่อแล้วคุณจะมีทางเลือกดังต่อไปนี้

ค้าขาย: ทำการติดต่อซื้อขายกับสิ่งมีชีวิตบนดวงดาวนี้ คุณสามารถขายวัตถุที่เก็บอยู่ในห้องสัมภาระของยาน หรือซื้อไอเทมที่ต้องการได้

ซ่อม: ซ่อมความเสียหายที่เกิดขึ้นกับยาน ปกติจะมีการคิดค่าใช้จ่ายนอกจากว่าจะเป็นดาวบ้านเกิดของคุณเอง

เติมพลัง: ทำการเติมพลังงานให้กับยานอวกาศ ปกติจะมีการคิดค่าใช้จ่ายนอกจากว่าจะเป็นดาวบ้านเกิดของคุณเอง

ภารกิจ: สอบถามเพื่อขอทำภารกิจที่สิ่งมีชีวิตบนดาวดวงนั้นอาจมอบหมายให้ทำ

เจรจาการทูต: คล้ายคลึงกับการติดต่อกับประเทศอื่นในช่วงอารยธรรม คุณสามารถที่จะให้ของขวัญ, ขอเปิดเส้นทางการค้า, ขอเป็นพันธมิตรและอื่นๆ ตัวเลือกที่มีให้ในการเจรจาการทูตนั้นจะขึ้นอยู่กับระดับความสัมพันธ์ที่มีต่อกัน

ในมุมมองระบบดาวคุณสามารถสังเกตว่าดาวเคราะห์ดวงใดมีไอเทมหายากหรือวัตถุมีค่าให้เก็บได้จากการที่มันมีคลื่นรังสีสีเหลืองแผ่ออกมา มันคุ้มค่าที่คุณจะบินเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของดาวดวงนั้นเพื่อตามหาวัตถุมีค่า

Caution
ระบบดาวแต่ละระบบอาจมีสิ่งมีชีวิตที่มีสติปัญญาปกครองอยู่ หากคุณไม่ได้ทำการติดต่อและแสดงเจตจำนงที่ดีพวกเขาอาจไม่พอใจที่คุณรุกล้ำเข้าระบบดาวของพวกเขาและเปิดฉากโจมตียานของคุณก็เป็นได้

Note
สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับชนิดของเครื่องเทศที่มีให้เก็บเกี่ยวบนดาวเคราะห์แต่ละดวงนั้น ดูเนื้อหาในหัวข้อ “เครื่องเทศบนดาวเคราะห์” ที่อยู่ในส่วนภาคผนวกท้ายบทที่ 5

สีของเส้นทางวงโคจรของดาวเคราะห์แต่ละดวงและสีของดาวฤกษ์ใจกลางระบบดาวจะบอกให้คุณทราบถึงระดับความเหมาะสมต่อการดำรงชีพบนดาวเคราะห์แต่ละดวงรวมถึงประเภทของเครื่องเทศที่คุณจะได้พบบนดาวเคราะห์ดวงนั้น

 

คำที่เกี่ยวข้อง

สมัครรับข่าว OS

คุณอาจสนใจเรื่องนี้