DOONEE ผู้ให้บริการวิดีโอออนดีมานด์รายแรกของไทยเข้าร่วมแนวปฏิบัติด้านเนื้อหาเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของผู้บริโภค

แชร์เรื่องนี้:
DOONEE ผู้ให้บริการวิดีโอออนดีมานด์รายแรกของไทยเข้าร่วมแนวปฏิบัติด้านเนื้อหาเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของผู้บริโภค

(จากซ้ายไปขวา)
1.    คุณสหชาติ ขำนิล จาก Fox Networks Group
2.    คุณอาทิมา สุรพงษ์ชัย จาก iflix
3.    คุณ ดาร์เรน อง จาก Netflix
4.    ผศ.ดร.ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กรรมการ กสทช
5.    คุณจตุพล สุธีสถาพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของ DOONEE
6.    6.คุณหลุยส์ บอสเวลล์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สมาคมอุตสาหกรรมวิดีโอแห่งเอเชีย

DOONEE ประกาศในวันนี้ว่า บริษัท ได้ลงนามในแนวปฏิบัติด้านเนื้อหาในอุตสาหกรรมวิดีโอออนดีมานด์แบบสมัครสมาชิกในอาเซียน (“แนวปฏิบัติฯ”) หรือ ASEAN Subscription Video-on-Demand (“SVOD”) Industry Content Code ซึ่งมีบริษัทหลายแห่งในภูมิภาคนี้ที่เข้าร่วม อาทิ ASTRO, dimsum, Fox +, HOOQ , iflix, Netflix, tonton, TVB และ The Walt Disney Company (Southeast Asia)

แนวปฏิบัติฯ นี้ เป็นกรอบการกำกับดูแลกันเองในอุตสาหกรรมวิดีโอออนดีมานด์แบบสมัครสมาชิกที่ประกาศเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมานี้ และกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้แน่ใจว่าเนื้อหามีความถูกต้อง ปราศจากคำพูดแสดงความเกลียดชัง อาชญากรรมที่กิดจากความเกลียดชัง สื่อลามกอนาจาร และเนื้อหาอื่นๆ ที่ไม่เหมาะสม โดยผู้ให้บริการเนื้อหาได้ให้คำมั่นว่าจะสร้างกลไกควบคุมเพื่อผู้บริโภคสามารถเลือกชมเนื้อหาได้อย่างเหมาะสมทั้งสำหรับตัวเองและครอบครัว แนวปฏิบัติฯ นี้ไม่เพียงแต่ช่วยให้บริการแพลตฟอร์มวิดีโอออนดีมานด์มีมาตรฐานเดียวกันเท่านั้น แต่ยังช่วยจำแนกความแตกต่างระหว่างบริการที่ถูกต้องตามกฎหมายออกจากบริการที่ผิดกฎหมายด้วย

นายจตุพลสถาพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของ DOONEE กล่าวเกี่ยวกับการลงนามในความร่วมมือครั้งนี้ว่า "เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมงานกับผู้ให้บริการรายอื่นซึ่งล้วนแต่มีชื่อเสียงในข้อตกลงร่วมกันนี้เพื่อให้มั่นใจว่าบริการของเราจะนำเสนอเนื้อหาที่ทำให้ผู้ชมมีความสุขอย่างแท้จริง เราต่างมีวัตถุประสงค์เดียวกันคือให้ผู้ชมสามารถเลือกชมเนื้อหาที่เหมาะสมกับพวกเขาและครอบครัวได้"

การลงนามดังกล่าวได้ถูกเปิดเผยขึ้นในระหว่างการจัดประชุมเชิงวิชาการระดับนานาชาติ International Symposium on Converged Technologies & Communications Disruptive - Moving Forward ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

ผศ.ดร.ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กรรมการ กสทช. ผู้เป็นสักขีพยานในการลงนาม กล่าวว่า "เรายินดีเป็นอย่างยิ่งเกี่ยวกับการประกาศนี้เพราะถือเป็นสัญญาณของการเติบโตสำหรับอุตสาหกรรมวิดีโอออนดีมานด์แบบสมัครสมาชิก เราต้องการกระตุ้นการเติบโตของอุตสาหกรรมเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่คนไทยมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขณะนี้ประเทศไทยกำลังเตรียมตัวสำหรับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4"

นายหลุยส์ บอสเวลล์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สมาคมอุตสาหกรรมวิดีโอแห่งเอเชีย หรือ Asia Video Industry Association ("AVIA") กล่าวว่า "แนวคิดนี้เกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์แบบด้วยการประกาศเข้าร่วมแนวปฏิบัติฯ ของ DOONEE ในวันนี้ ซึ่งอันที่จริง กรอบการกำกับดูแลกันเองในอุตสาหกรรมวิดีโอออนดีมานด์แบบสมัครสมาชิกได้พูดคุยกันเป็นครั้งแรกที่กรุงเทพฯ ในช่วงเดือนกันยายน พ.ศ. 2560 ที่งานเสวนาสภาผู้กำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมอาเซียน (ASEAN Telecom Regulators Council dialogue) ซึ่งเป็นการรวมตัวกันรหว่างทั้งหน่วยงานด้านกำกับดูแลและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเพื่อสร้างแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกันทั่วทั้งอาเซียน เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เห็นแรงผลักดันให้เกิดการเติบโตในภูมิภาคนี้และหวังว่าจะได้เห็นบริษัทอื่นๆ ที่เห็นด้วยและร่วมลงนามกับเราในเรื่องนี้"

หมายเหตุถึงบรรณาธิการ:
●    บริการวิดีโอออนดีมานด์แบบสมัครสมาชิก (“SVOD”) หมายถึงบริการที่ผู้ใช้บริการชำระเงินเพื่อการสมัครสมาชิกรับข้อมูลผ่านบัญชีซึ่งอนุญาตให้พวกเขาเลือกและดูเนื้อหาวิดีโอ เช่น ภาพยนตร์และรายการทีวีต่างๆ เมื่อใดก็ตามที่พวกเขาต้องการรับชมแทนที่จะเป็นการออกอากาศตามเวลาที่กำหนด

●    แนวปฏิบัติด้านเนื้อหาในอุตสาหกรรมวิดีโอออนดีมานด์แบบสมัครสมาชิกในอาเซียน (“แนวปฏิบัติฯ”) หรือ The ASEAN Subscription Video-on-Demand (“SVOD”) Industry Content Code ได้มีการประกาศในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2560 โดย ASTRO, dimsum, Fox +, HOOQ, iflix, Netflix, tonton, TVB และ The Walt Disney Company (Southeast Asia) ซึ่งเป็นกรอบการกำกับดูแลกันเองในอุตสาหกรรมวิดีโอออนดีมานด์แบบสมัครสมาชิกที่กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้แน่ใจว่าเนื้อหามีความถูกต้อง ปราศจากคำพูดแสดงความเกลียดชัง อาชญากรรมที่เกิดจากความเกลียดชัง สื่อลามกอนาจาร และเนื้อหาอื่นๆ ที่ไม่เหมาะสม ผู้ให้บริการเนื้อหายังให้คำมั่นว่าจะสร้างเครื่องมือควบคุมเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเลือกชมได้อย่างเหมาะสมทั้งสำหรับตัวเองและครอบครัว แนวปฏิบัติฯ นี้ไม่เพียงแต่ให้บริการแพลตฟอร์มวิดีโอออนดีมานด์เป็นมาตรฐานเท่านั้น แต่ยังช่วยจำแนกความแตกต่างระหว่างบริการที่ถูกต้องตามกฎหมายออกจากบริการที่ผิดกฎหมาย

เว็บไซต์ www.DOONEE.com และ แอปพลิเคชั่น DOONEE

ข่าวประชาสัมพันธ์

แชร์เรื่องนี้:

เรื่องที่คุณอาจสนใจ