Otoshidama เป็นเงินแต๊ะเอียที่พ่อแม่ หรือปู่ย่าตายายญี่ปุ่นจะให้กับลูกหลานในวันขึ้นปีใหม่ แต่หากลูกหลานอายุยังน้อย ที่ยังไม่สามารถจัดการบริหารเงินได้เอง หน้าที่รับฝากเงิน ก็ตกเป็นของพ่อแม่ หรือผู้ปกครอง แต่…ว่ากันว่าหากพ่อแม่จะเอาเงินของลูกไปใช้ มันจะเป็นการผิดกฎหมายในญี่ปุ่น !? จริงเท็จอย่างไร คุณ Makino Kazuo ทนายความของสำนักงานกฎหมาย Shibasogo มีคำตอบให้กับเรื่องนี้

โดยเงินแต๊ะเอียที่เด็กได้รับมาจากญาติผู้ใหญ่ เมื่อเด็กได้รับ เด็กจะ ถือกรรมสิทธิ์ในการครอบครอง โดยทันที หากพ่อแม่นำเงินของเด็กไปใช้เพื่อความบันเทิงส่วนตัว กฎหมายถือว่าเป็นความผิดฐานฉ้อโกง แต่หากเป็นการกระทำผิดระหว่างญาติกันจะได้รับการยกเว้นโทษ ซึ่งถ้าหากเด็กมีการร้องขอละก็ พ่อแม่ต้องคืนเงินให้กับเด็กทั้งหมด

ในทางกลับกัน หากพ่อแม่นำเงินของลูกไปใช้เพื่อ ผลประโยชน์ของลูกโดยตรง เช่น การศึกษา หรือจ่ายค่าเทอม กฎหมายจะไม่ถือว่าพ่อแม่กระทำผิด และไม่มีภาระผูกพันในการคืนเงินให้กับลูกด้วย และถ้าหากวันหนึ่ง เกิดกรณี ลูกมาทวงเงินที่เคยฝากพ่อแม่เอาไว้ ซึ่งหากมีการทวงเงินมาจากสถาบันการเงิน พ่อแม่ก็จำเป็นต้องคืนยอดเงินให้ แต่คดีจะมีอายุความตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่ง อย่างเช่น 5 ปีหลังจากได้รับฝากเงินปีใหม่ หรือ 6 เดือนหลังจากลูกบรรลุวัยสมควรครอบครองเงิน แล้วแต่เป็นกรณีไป

เพราะฉะนั้น ต่อให้เป็นพ่อแม่ลูกกัน พ่อแม่ที่รับฝากเงินจากลูก จำเป็นจะ ต้องบันทึกจำนวนเงินที่ได้เป็นลายลักษณ์อักษร และควรพูดความจริงกับเด็ก พร้อมด้วยหลักฐาน จะได้ไม่ถูกโยงเข้าไปมีความผิดในเชิงกฎหมายกันนะ !
ที่มา : https://news.livedoor.com/article/detail/21448244/
