บอกไว้ก่อนเลยนะครับว่าการทดลองที่ผมเอามาให้ดูตรงนี้เป็นการทดลองที่เกิดขึ้นจริง และได้รับรางวัลมาแล้วจริงๆ แล้วถือเป็นการทดลองแปลกๆ ที่คิดไม่ถึงเหมือนกันว่าจะมีคิดทดลองด้วย ว่าแล้วก็มาดูกันดีกว่า ^ ^
1. การวิจัยเรื่องการกระโดดของเห็บ
โดยการทดลองนี้เพื่อเป็นการยืนยันว่าเห็บที่อยู่บนขนสุนัขกระโดดสูงกว่าเห็บที่อยู่บนขนแมว > < เห็นได้ถึงความพยายามและความสนใจของผู้วิจัยมากๆ เลย
2. การวิจัยของ บริษัท ชิเซโด ประเทศญี่ปุ่น ในสาขาแพทย์ปี 1992
พบว่าคนที่คิดว่าเท้าตัวเองเหม็นก็จะทำให้เท้าเหม็น แต่หากไม่คิดว่าเท้าตัวเองเหม็น เท้าก็จะไม่เหม็น (จิงอ่ะ)
3.การวิจัยของมหาวิทยาลัยเคโอะ สาขาจิตวิทยาปี 1995
พบว่าสามารถฝึกนกพิราบให้แยกแยะระหว่างผลงานของปิกัสโซและโมเนต์ได้ (ใครแยกไม่ได้ อายมะ)
4.ผลงานการคิดค้นของไดสุเกะ อิโนะอุเนะ สาขาสันติภาพปี 2004
พบว่า การร้องเพลงคาราโอเกะ ทำให้ผู้คนมีความอดทนต่อผู้อื่นมากขึ้น (คงเป็นเพราะต้องทนฟังเสียงที่ไม่ได้ความก็เป็นได้)
5.ผลงานการค้นคว้าของ มายุ ยามาโกโต สาขาเคมี ปี 2007
สามารถสกัดกลิ่นวานิลลาจากขี้วัวได้สำเร็จ และต่อมาได้พัฒนามาเป็นน้ำหอมและใช้ปรุงแต่งรสไอศกรีม (ก่อนจะได้มาซึ่งความอร่อย มันก็ต้องผ่านอะไรมาอย่างโชกโชน)
6.ผลงานของ เดบราห์ แอนเดอร์สัน สาขาเคมี ปี 2008
เป็นงานวิจัยที่สร้างความฮือฮาไปทั่วและมีการนำมาทดลองใช้กัน คือ การวิจัยว่าเครื่องดื่มโค้ก สามารถฆ่าสเปิร์มได้ !!!
7.ผลงานของ เอเลนา เอ็น บ็อคนาร์ สาขาสาธารณสุข ปี 2009
คิดค้นการพัฒนาเสื้อยกทรงให้สามารถแปลงเป็นหน้ากากป้องกันก๊าซพิษได้ (แบบนี้ผู้หญิงก็ไม่ต้องกลับก๊าซพิษแล้วซินะ )
8.ผลงานของศาสตราจารย์เอ็ดเวิร์ด คัซเลอร์ จากมหาวิทยาลัยมินเนโซตา คว้ารางวัลในปี 2005
คือการแข่งขันว่ายน้ำในน้ำเชื่อมและน้ำธรรมดา ว่าแบบไหนจะทำให้ว่ายน้ำได้เร็วกว่ากันสำหรับคนทั่วไป ก็คงคิดว่า ว่ายในน้ำธรรมดาเร็วกว่า เพราะมันไม่เหนียวหนืด หนึบหนับ ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์ (ขี้สงสัย) โดยทั่วไป คิดว่าผลที่ได้ไม่น่าจะต่างกัน แต่จากผลการทดลองคำตอบที่ได้คือ การว่ายน้ำในน้ำเชื่อม ทำให้ว่ายน้ำได้เร็วกว่า
ผลงานการวิจัยทั้งหมดนี้ คือ ผลงานที่คว้ารางวัลอิกโนเบล ซึ่งเป็นรางวัลล้อเลียนรางวัลโนเบล จัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเป็นประจำทุกปี โดยจัดให้มีขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1991 (อ่อนกว่าโนเบล 90 ปี) อิกโนเบล มุ่งเน้นไปที่คำจำกัดความที่ว่า วิทยาศาสตร์ที่ดีเป็นเรื่องสนุก แม้ว่างานวิจัยหลายๆ ชิ้น จะทำให้ผู้คนตลกขบขัน ออกแนวเพี้ยนๆ ไปบ้าง แต่หลายครั้งเราก็พบว่า จินตนาการสามารถสร้างสรรค์พลังอะไรได้มากมาย และการตอบสนองความสนใจใคร่รู้ ก็อาจเกิดขึ้นจากความสงสัยแม้เพียงเรื่องเล็กน้อยที่อยู่ใกล้ๆ ตัว ซึ่งมันอาจไม่ได้ยิ่งใหญ่จนนำไปสู่สุดยอดการค้นพบที่เป็นคุณูปการต่อมวลมนุษยชาติได้ แต่...มันก็เรียกรอยยิ้มและความสุขใจให้กับคนที่สงสัย และมุ่งมั่นใส่ใจที่จะแสวงหาคำตอบให้กับตัวเองขึ้นชื่อว่า “จินตนาการ” ไม่มีคำว่า “ใหญ่หรือเล็ก” จริงๆ
ขอบคุณข้อมูลจาก
www.oknation.net
การเงินธนาคาร ฉบับที่ 344