อดีตประธาน Gainax ติงวงการอนิเมะล่ำซำ แต่อนิเมเตอร์ยังจนเหมือนเดิม

แชร์เรื่องนี้:
อดีตประธาน Gainax ติงวงการอนิเมะล่ำซำ แต่อนิเมเตอร์ยังจนเหมือนเดิม

แม้ว่าปัจจุบันวงการอนิเมชั่นญี่ปุ่นจะยังคงคึกคักและมีผลงานใหม่ ๆ ออกมาให้เราได้ชมกัน เป็นธุรกิจมูลค่าหลายพันล้านทุก ๆ ปี แต่กลุ่มคนที่เป็นผู้ปิดทองหลังพระของอนิเมะเรื่องต่าง ๆ อย่างอนิเมเตอร์นั้นยังคงมีฐานะยากลำบากอยู่ดี ซึ่งคุณ Toshio Okada อดีตประธานบริษัทของสตูดิโอ Gainax ที่เคยมีผลงานอนิเมะดังต่าง ๆ เช่น Evangelion ได้ออกมาวิพากย์วิจารณ์ถึงระบบและโครงสร้างที่ทำให้ปัญหานี้ยังคงเรื้อรังจนถึงปัจจุบัน

คุณ Okada นั้นได้วิจารณ์อุตสาหกรรมอนิเมชั่นในวิดีโอขององค์กรสนับสนุนอนิเมเตอร์ที่ไม่หวังผลกำไร ”Animator Supporters” และอธิบายสาเหตุที่อนิเมเตอร์นั้นยังมีฐานะยากลำบากแม้ว่าอุตสาหกรรมอนิเมชั่นจะเฟื่องฟู นั่นเพราะว่า Anime Production Committee หรือคณะกรรมการการผลิตอนิเมชั่นเรื่องต่าง ๆ ที่เกิดจากการรวมตัวกันของบริษัทต่าง ๆ เพื่อช่วยกันหารออกค่าใช้จ่ายในการผลิตอนิเมะเรื่องหนึ่ง ๆ นั่นเอง

ปัญหานั้นเกิดขึ้นเพราะอำนาจควบคุมลิขสิทธิ์นั้นขึ้นอยู่จำนวนเงินที่บริษัทลงทุนไป ใครที่เป็นผู้ลงทุนใหญ่สุด (ส่วนใหญ่ประมาณ 40%) ก็จะเป็นผู้ตัดสินเรื่องงบประมาณ เมื่อได้เป็นเจ้ามือแล้วก็จะพยายามกีดกันไม่ให้บุคคลภายนอก (เช่นบริษัทต่างชาติ) เข้ามาลงทุนในสัดส่วนที่ใหญ่กว่า เพื่อป้องกันไม่ให้มีอำนาจมากไปกว่าพวกตน จากนั้นจึงเอาเงินที่ลงทุนไปแบ่งทำโปรเจกต์ต่าง ๆ

โดยคุณ Okada สมมติว่าถ้ามีบริษัทจากจีนเสนอลงทุนโดยให้งบ 10 ล้านเหรียญ คณะกรรมการก็จะแบ่งการลงทุนเป็นงวด ๆ แทน เช่นงวดละ 5 หมื่นเหรียญ แล้วเอาเงินก้อนนี้ไปแบ่งใช้ในโปรเจกต์ต่าง ๆ 20 โปรเจกต์เพื่อรักษาอำนาจและให้ได้กำไรมากที่สุด บริษัทที่อยู่ในคณะกรรมการจึงมักชอบเอาเงินลงทุนจากต่างชาติที่เหลือไปกระจายลงทุนให้กับโปรเจกต์อนิเมะหลาย ๆ เรื่อง แทนที่จะเพิ่มเงินทุนให้กับเรื่อง ๆ หนึ่ง และด้วยงบประมาณของแต่ละเรื่องที่มีจำกัดมาก ๆ นี้เองผลกรรมจึงไปตกกับอนิเมเตอร์ที่ได้รับค่าจ้างน้อยมาก ๆ

เหล่าผู้แสดงความคิดเห็นนั้นก็เห็นด้วยและรู้สึกเข้าใจมากขึ้นถึงสาเหตุว่าทำไมอนิเมเตอร์ในปัจจุบันจึงยังมีฐานะยากลำบาก และคิดว่าการใช้แพลตฟอร์มระดมทุนเพื่อหาเงินทุนให้กับอนิเมะเรื่องต่าง ๆ นั้นเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการหาผู้สนับสนุนจากต่างชาติ

ทางกลุ่ม Anime Supporters เองนั้นก็มีการทำคลิปวิดีโออนิเมชั่นโปรโมทออกมาอยู่เรื่อย ๆ โดยให้ค่าตอบแทนแก่อนิมเตอร์อย่างสมน้ำสมเนื้อมากกว่ามาตรฐานถึง 2-4 เท่า และในอนาคตวางแผนว่าจะปฏิรูปโครงสร้างการจ่ายเงินค่าตอบแทนให้เป็นเงินเดือนแบบแน่นอน แทนที่จะจ่ายเป็นงาน ๆ ไปชื่อว่า ”New Anime Creation System Project Phase 2" เราก็ขอเอาใจช่วยให้วงการอนิเมะนั้นเป็นไปในทางที่ดีขึ้นครับ

แปลและเรียบเรียงจาก
Crazy for Anime Trivia


ติดตามดูอนิเมะถูกลิขสิทธิ์ ได้ที่นี่ Online Station

แชร์เรื่องนี้:
Shirosaki-han
About the Author

Shirosaki-han

นักเขียนอิสระผู้ชื่นชอบเกมและอนิเมะ

เรื่องที่คุณอาจสนใจ