วิกฤตนักพากย์ญี่ปุ่น เมื่องานกระจุกอยู่ที่มืออาชีพ จนนักพากย์หน้าใหม่แทบไม่มีงาน

ในทุกวันนี้ที่อุตสาหกรรมอนิเมะกำลังเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ภายใน 1 ปีมีการผลิตอนิเมะออกมาจำนวนมาก แน่นอนว่าเมื่อมีอนิเมะก็ต้องมีการใช้นักพากย์มาให้เสียงตัวละคร ถึงงานพากย์จะมีมากขึ้นตามจำนวนอนิเมะในแต่ละปี แต่วงการนักพากย์กลับค่อย ๆ ประสบกับวิกฤตบางอย่างที่อาจจะเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคตอันใกล้

นั่นคือการที่วงการนักพากย์จะเหลือแค่แนวหน้าที่มีไม่กี่คน และในทางกลับกันนักพากย์หน้าใหม่จะลดลงเรื่อย ๆ จนทำให้อุตสาหกรรมนักพากย์เริ่มประสบกับปัญหาขาดแคลนบุคลากรที่มีฝีมือ

นักพากย์

คุณ Nagasaki Yukio ผู้กำกับด้านเสียงที่เคยมีผลงานในอนิเมะซีรีส์ Love Live! รวมเป็นโปรดิวเซอร์ให้กับเพลงประกอบของซีรีส์ City Hunter กับมูฟวี่ Gundam Char’s counterattack ก็ได้ออกมาเผยว่าวงการนักพากย์กำลังประสบกับวิกฤตเรื่องการมีนักพากย์จำนวนที่มีฝีมือจริง ๆ ซึ่งส่วนหนึ่งก็มีผลกระทบมาจากโควิด 19 ด้วย

“จากการแพร่ระบาดของโควิด 19 ทำให้ปกติที่จะพากย์แบบกลุ่มเปลี่ยนไปเป็นพากย์แบบเดี่ยวมากขึ้น ซึ่งเมื่อเป็นแบบนี้ นักพากย์จึงเวลาในการทำงานมากขึ้น ทำให้ตารางงานของนักพากย์มืออาชีพจัดได้สะดวกมากขึ้น อนิเมะหลายเรื่องก็เลยเลือกที่จะใช้นักพากย์มืออาชีพมากกว่านักพากย์หน้าใหม่ และนั่นก็ส่งผลให้นักพากย์หน้าใหม่มีงานน้อยลง”

นักพากย์

และไม่ใช่แค่นั้น นักพากย์หน้าใหม่ยังต้องพบกับ “ระบบแรงก์” ที่มีเงินค่าตอบแทนขึ้นอยู่กับระดับนักพากย์ แน่นอนว่าเมื่อเป็นนักพากย์หน้าใหม่ ก็จะได้รับค่าตอบแทนที่ต่ำกว่านักพากย์หน้าเก่าที่อยู่ระดับสูง

“นักพากย์หน้าใหม่จะมีการเริ่มงานในระดับที่ต่ำที่สุดอย่าง ‘จูเนียร์’ ซึ่งภายใน 3 ปี พวกเขาจะได้ค่าตัวที่ต่ำมาก แต่นั่นก็ทำให้พวกเขามีการถูกจ้างไปใช้งานได้ง่าย อย่างไรก็ตามในทางกลับกัน หากโควิด 19 ยังไม่สงบลง นักพากย์ที่เดบิวต์มาแล้ว 3 ปีจะกลายเป็นจูเนียร์ที่ได้รับค่าตัวสูง (จากประสบการณ์) แทน ซึ่งนั่นหมายความว่าพวกเขามีสิทธิ์ที่จะออกจากเอเจนซี่โดยที่ไม่ได้งานดี ๆ เลย และถ้ามันเป็นอย่างนี้ไปอีก 5 ปี 10 ปี ก็จะเริ่มไม่มีนักพากย์ใหม่จนเกิดช่องว่างใหญ่ในวงการ”

นักพากย์

ถ้าหากถามว่าทำไมการที่เป็นจูเนียร์ได้รับค่าตัวที่สูงขึ้นไม่ใช่เรื่องดีและมีสิทธิ์ที่จะออกจากเอเจนซี่เนื่องจากแรงก์ไม่ขยับ นั่นเป็นเพราะเมื่อพวกนักพากย์หน้าใหม่ไม่ได้ทำงานร่วมกับนักพากย์คนอื่น ๆ จากโควิด 19 ที่ต้องอัดเสียงคนเดียว พวกเขาก็เลยไม่ได้เรียนรู้เทคนิคหรือคำแนะนำจากนักพากย์มืออาชีพที่ทำงานร่วมกัน 

ปกติแล้วนักพากย์จูเนียร์จะมีการเรียนรู้ทักษะต่าง ๆ ผ่านนักพากย์ซีเนียร์หรือทีมงานในขณะอัดเสียง แต่เมื่ออัดเดี่ยวแล้ว ทำให้โอกาสในการเรียนรู้ตรงนี้หายไป นักพากย์จูเนียร์ก็เลยแทบไม่มีโอกาสพัฒนาฝีมือตัวเอง จนส่งผลให้แรงก์ไม่ขยับ และไม่ได้งานดี ๆ อย่างงานที่ได้พากย์ตัวละครหลัก ทำให้พวกเขามีโอกาสที่จะออกจากเอเจนซี่เองหรือเอเจนซี่ไม่ต่อสัญญานั่นเอง

นักพากย์

“จะว่าไปเรื่องปัญหานักพากย์หน้าใหม่ไม่มีงาน หรือฝีมือไม่ถึงขั้น ก็นับว่าเป็นปัญหาวงการนักพากย์ทั่วโลกเหมือนกันนะ”

ที่มา: https://news.yahoo.co.jp/articles/4d9c995ee11f04bc2f517f316ea05ee18a045afe

TrunksTH

คำที่เกี่ยวข้อง

สมัครรับข่าว OS

คุณอาจสนใจเรื่องนี้