หลังจากที่ประสบความสำเร็จกับ Hokuto no Ken และ ความต้องการขายความรู้สึกคิดถึงกับ Dragon Ball ทำให้คุณ Uchiyama มีไฟในการทำเกมต่อ ซึ่งตรงนี้ผู้ที่เป็นลูกน้องย่อมรู้ดีว่าถ้าทำเกมหนึ่งให้ฮิตแล้ว ก็จะมีโอกาสทำเกมให้ฮิตต่อประมาณ 5 เกมติด หากหมดพลังแล้วก็จะกลายเป็นคนธรรมดา แต่ถ้าทำได้ดีก็อาจจะเป็นผู้บริหารแบบคุณ Uchiyama
ความเดิมจากตอนที่แล้ว
Torishima
ผมนึกขึ้นมาได้นิดหน่อย จากคำพูดที่ว่า “Hoku no Ken ฮิตเพราะมีตัวละครที่น่าคิดถึงก็เลยจะทำเกม Dragon Ball” ทำให้รู้เลยว่า Bandai แสดงความแย่ออกมาเยอะขนาดไหน ในตอนนั้น Dragon Ball ไม่ได้ฉายตามทีวีและมังงะก็ไม่ได้ตีพิมพ์แล้ว หมายความว่ามันเป็น “ตัวละครที่จบไปแล้ว”
ผมเลยมีมุมมองที่ว่า “Bandai จะเอามันมาสานต่อให้” แถมยังบอกผมว่า “ถ้าขายได้ก็โอเคใช่มั้ย?” ดังนั้นพวกเขาเลยเอามาให้ผมดู แต่ผลลัพธ์ที่ได้จากการเห็นแว่บแรกคือรู้เลยว่าไม่มีการค้นคว้าเกี่ยวกับการสร้างตัวละคร การอ่านต้นฉบับ และข้อมูลอื่น ๆ เลย

มันเป็นไปไม่ได้ที่ผมจะไม่คุยกับเหล่าบรรณาธิการของ Shonen Jump ที่เคยดูแลต้นฉบับ Dragon Ball การที่เหล่าบรรณาธิการไม่โอเค เป็นเพราะ Bandai พยายามจะปล่อยเกมในขั้นตอนที่ยังไม่ได้พูดคุยกับผู้เขียนต้นฉบับอย่างอาจารย์ Toriyama Akira ถ้าจะให้พูดชัดๆ ในทางบรรณาธิการมันก็คือ “ของเถื่อน” ตอนถูกถามว่า “ให้เราปล่อยของเถื่อนออกไปเถอะ” มันไม่มีทางที่จะตอบโอเคอยู่แล้ว
Unozawa
การพัฒนา Dragon Ball Z บนเครื่อง PS2 มีค่าพัฒนาที่สูงมาก เป็นมูลค่ากว่า 5 ร้อยล้านเยน (ประมาณ 150 ล้านบาท) ของ Bandai เนี่ย ในตอนนั้นมันไม่เคยมีมาก่อนเลย เพราะที่ญี่ปุ่นไม่สามารถจ่ายค่าพัฒนาได้สูงขนาดนี้ ถ้าพูดในเชิงที่มันเป็นผลงานที่ขายได้ในต่างประเทศแล้ว Dragon Ball ก็เป็นผลงานได้รับความนิยมในต่างประเทศ ที่ฝรั่งเศสเองก็กำลังฉายอยู่ เราเลยตกลงทำ Dragon Ball กัน
ตอนที่ Bandai เป็นสปอนเซอร์ให้กับอนิเมะ ทาง Bandai มีหน้าที่แค่จ่ายเงินให้เอเจนซี่โฆษณาเท่านั้น เพราะในกรณีของ “Dragon Ball” คนที่ต้องติดต่อคือ Toei Animation ดังนั้นเรื่องลิขสิทธิ์ของ Dragon Ball ทาง Toei Animation จะเป็นผู้ดูแล

แต่ว่าเมื่อเป็นเกม มันไม่ใช่การทำให้ตัวละครมีการขยับและมีเสียงเหมือนกับอนิเมะเป๊ะ ๆ เพราะถ้าทำแบบนั้นผู้กำกับจะค่อนข้างลำบากเพราะไม่สามารถดูแลได้ทั้งหมด แต่มันก็จำเป็นต้องทำ ตอนที่เราเอาเรื่องไปคุยกับ Toei Animation เราก็เอาไปคุยกับบรรณาธิการของ Shonen Jump เหมือนกัน
Uchiyama
จากนั้นทีมพัฒนาเลยตั้งใจทำกันมาก โดยการเน้นให้เหมือนอนิเมะทุกระเบียดนิ้วยันเงา กว่าจะผ่านความเห็นของคุณ Torishima เพื่อให้ไปต่อนั้นเรียกได้ว่าลากเลือดเลยทีเดียว

Torishima
ในช่วงที่ต้นฉบับกับอนิเมะ Dragon Ball จบไปแล้ว ถ้าปล่อยของแย่ ๆ ออกไปจะเป็นกลายเป็นการ “ทำลายแบรนด์” สำหรับเด็ก ๆ แล้ว Dragon Ball คือเรื่องราวของ Goku ที่ชื่นชอบตลอดกาล การปล่อยสิ่งที่มันไม่ใช่จึงกลายเป็นปัญหา แม้ว่าผู้จัดจำหน่ายจะเป็น Bandai แต่ผู้ที่โดนร้องเรียนคือ Shonen Jump
ตอนบ่าย 3 กว่า ๆ มีเด็กเคยโทรศัพท์มาหาแล้วบอกว่า “เกมนี้ตัวละครไม่เหมือนเลย” ฝ่ายบรรณาธิการอย่างเราเลยต้องเข้มงวด เพราะตราบใดที่เรายังแบกผู้เขียนต้นฉบับไว้บนบ่าอยู่ คนตัดสินใจลำดับสุดท้ายคือฝ่ายบรรณาธิการ
แต่จากการที่ทาง Bandai เป็นสปอนเซอร์ผู้ดูแลอนิเมะในเครือ Shonen Jump ทำให้เราต้องให้ความสำคัญกับพวกเขา ตอนที่ Shueisha ออกหนังสือ Dragon Ball ฉบับสมบูรณ์ในเดือนธันวาคม ตอนนั้นทาง Bandai ก็วางจำหน่ายเกมเดือนธันวาคมพอดี ทาง Shueisha เลยต้องมีการจัดแคมเปญร่วมกัน และทาง Bandai ก็ตกลง

Uchiyama
ไม่ใช่แค่เกม แต่สินค้าอื่น ๆ ของ Dragon Ball อย่าง DVD ก็วางจำหน่ายในช่วงนั้น เป็นอะไรที่พอดีตามที่คาดการณ์ไว้เป๊ะ จะเรียกว่าเป็นจังหวะเทพเลยก็ว่าได้ที่ทำให้เกมขายดีเป็นเทน้ำเทท่า ต้องขอบคุณจริงๆ ครับ
Torishima
แต่ตอนนั้นเหมือนจะผลิตออกมาไม่ทันใช่ไหม? จำได้ว่าขายแป๊ปเดียวก็ขาดตลาดแล้ว
Uchiyama
ใช่ครับ ผมจำได้ดีเลย เพราะเราทำของแถมเป็นลูกแก้วหนึ่งดาว ทำให้มียอดจองรอบแรกมากกว่า 1.8 แสนชุดเลย พอผมเอาไปเล่าให้คุณ Torishima ฟังว่า “มียอดจองถึง 1.8 แสนชุดเลยนะครับ” คุณ Torishima กลับตอบมาว่า “ถ้าทำได้ไม่ถึง 5 แสนชุดไม่ต้องมาคุย ทาง Bandai ไม่ได้เตรียมใจไว้ใช่ไหมล่ะ” (หัวเราะ) แต่พอลองขายดูก็ขายในประเทศได้มากถึง 5.5 แสนชุดเลยครับ เป็นไปตามตัวเลขที่คุณ Torishima พูดไว้เป๊ะเลย แล้วก็จริงที่ว่าของขาดตลาดครับ ขอโทษจริงๆ
Dragon Ball Z หรือ Dragon Ball Z Budokai หลังจากได้รับคำแนะนำจากคุณ Torishima ทำให้ตัวเกมออกมาดีสมใจแฟนๆ แม้ว่าอนิเมะจะจบไปแล้ว แต่ก็ขายดีมาก จนมียอดขายทั่วโลกกว่า 2 ล้านชุดเลยทีเดียว!

ปิดท้ายด้วยตอน 3 กำเกิดอนิเมะ Dragon Ball Kai!
ที่มา: https://www.itmedia.co.jp/
TrunksTH