เราเคยสงสัยมั้ยว่าทำไมถึงมีบางคนที่กินอะไรแค่ไหนก็ไม่อ้วน บางคนก็กินแค่ดมก็อ้วนแล้ว
บางทีเรื่องนี้อาจเป็นเพราะว่าร่างกายของเรานั้นมีรูปแบบโครงสร้างที่ต่างกันก็ได้ ซึ่งมีผู้ใช้ทวิตเตอร์ชาวญี่ปุ่นรายหนึ่งชื่อว่า @KMarisa0606 ได้ทำการอธิบายว่าร่างกายเรานั้นเป็นประเภทไหน โดยการใช้นิ้วโป้งและนิ้วกลางของมือมือข้างที่ถนัดจับรอบข้อมืออีกข้างนึงดู
体脂肪つかんのこういうことか pic.twitter.com/rzykDDZfx0
— 奈良魔理ちゃん (@KMarisa0606) June 16, 2018
"ลองใช้นิ้วโป้งและนิ้วกลางข้างที่ถนัดจับที่ข้อมืออีกข้างนึงดูนะ
Ectomorph — นิ้วโป้งกับนิ้วกลางประกบกันแบบสามารถซ้อนทับกันได้สบายๆ (ร่างกายอ้วนยาก และสร้างกล้ามเนื้อยาก)
Mesomorph — นิ้วโป้งกับนิ้วกลางประกบกันได้พอดี (ร่างกายเผาผลาญดี ผอมง่าย สร้างกล้ามเนื้อได้ไว)
Endomorph — นิ้วโป้งกับนิ้วกลางประกบกันไม่ได้เลย (ร่างกายอ้วนง่าย สร้างกล้ามเนื้อง่าย)
ถ้าให้จัดเรียงตามประเภทแบบนี้ ร่างกายแบบ Ectomorphs เป็นร่างกายที่เหมาะกับการเป็นนักวิ่ง หรือนายแบบ/นางแบบ"
คอนเซปต์ชื่อเรียกประเภทร่างกายแบบนี้เรียกว่า Somatotypes ซึ่งเป็นที่รู้จักกันตั้งแต่ปี ค.ศ.1940 คิดค้นโดย Dr. William H. Sheldon ผู้ที่ช่วยออกแบบระบบสำหรับการประเมินผลนักกีฬาที่ยังใช้กันอยู่ในทุกวันนี้
ทฤษฎีนี้คือการคำนวณเส้นรอบวงของข้อมือที่มีความสัมพันธ์กับส่วนสูง เป็นตัวกำหนดชนิดของโครงสร้างร่างกายของแต่ละคน ซึ่งนี่ก็เป็นวิธีหาสาเหตุที่คนบางคนมีปัญหาในการลดน้ำหนักของแต่ละคนด้วย
ส่วนเสียงตอบรับของชาวญี่ปุ่นต่อโพสก็มีดังนี้
“งี้นี่เอง มิน่าล่ะ ทำไมฉันกินเท่าไหร่น้ำหนักก็ไม่เพิ่มสักที”
“ยอดเลย! ถึงบอกว่ามือฉันเหมือนนางแบบแล้ว ส่วนอื่นไม่ใช่เลย!”
“ไม่ใช่ว่าแค่ความยาวของนิ้วเฉยๆหรอกเหรอ?”
“ปลายนิ้วโป้งกับนิ้วกลางฉันซ้อนกันนะ แต่ทำไมฉันถึงอ้วนอยู่เนี่ย”
“เยี่ยม! อยู่ๆฉันก็ได้เป็นนักกีฬา!”