มาแล้วเปิดตัวบทความประจำตัวของกระผม ที่จะมาเสิร์ฟ เพื่อนๆ ทุกวัน เสาร์ วันหยุดพักสบายๆ อยู่บานของเพื่อนๆ หลายคน โดยบทความของกระผมนั้นมีชื่อย่อว่า Os ขอบอกว่าไม่ได้เลียนแบบ Online Station แน่นอน (ใครจะเชื่อ ) เพราะ Os ของผมนั้นย่อมาจาก Otaku Station นั้นเองครับ
สาเหตุที่ผมเลือกที่จะเขียนบทความในหัวข้อนี้ก็เพราะว่า หลายๆ คนที่ติดตาม Online Station มา อาจจะไม่เชื่อว่าเหล่าบรรดาทีมงานในส่วนของ Online Station นั้นเกิน 90% ไม่ว่าจะเป็นทีมข่าว ทีมโปรแกรมเมอร์ หรือแม่แต่ระดับหัวหน้าบางท่าน มีส่วนเข้าข่ายการเป็น Otaku อยุ่ในตัว (ไม่ได้หมายความว่าเป็น Otaku 100% นะครับ แค่มีส่้วนเป็น)
ซึ่งในแต่ละวันนั้นทีมงาน Online Station นั้นมักจะมีหัวข้อสนทนาเกี่ยวกับ การ์ตูนต่างๆ ทั้ง มังงะ และ อนิเมชั่น และไม่ใช่แค่นั้นถ้าสังเกตุไปที่ โต๊ะทำงานของเหล่าทีมงานต้องมี ฟิกเกอร์แบบต่างๆ ตั้งอยู่รวมไปถึงตุ๊กตาและของใช้ส่วนตัวอื่นๆ ล้วนมีปนไปด้วย ผลิตภัณฑ์ จากการ์ตูนทั้งนั้น
และด้วยเหตุนี้กระผมจึงอยากจะมานำเสนอบทความ Otaku Station ให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันทุกสัปดาห์ไป จะมาเปิดประตูให้เพื่อนๆ ได้เข้ามาสู่โลกของ Otaku กันว่ามันจะเป็นอะไร เป็นยังไง และ มันเป็นแบบที่เพื่อนๆ เคยรู้จัก เคยเข้าใจกันหรือเปล่าไปเริ่มกันเลย
มาเริ่มด้วยหัวข้อแรกกันก่อนกับความหมายของคำว่า โอตาคุ (Otaku)
ผมได้คัดเอาบทความที่กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของคำว่า Otaku มาให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน (ตรงส่วนนี้ผมไม่ไ้ดขึ้นเองนะครับ) ประวัติความเป็นมาของคำว่า Otaku นั้นก่อกำเนิดมาจากประเทศ ญี่ปุ่น ซึ่งถูกใช้ในความหมายที่ลื่นใหลพอสมควรในสังคมญี่ปุ่น และเผยแพร่ไปหลายๆ แห่งทั่วโลกในทุกวันนี้ โดยสรุปได้จาก
ทศวรรษที่ 1970 Otaku เป็นคำสรรพนามที่กลุ่มแฟนพันธุ์แท้การ์ตูนและอนิเมชั่นใช้เรียกหากันและกัน
ทศวรรษที่ 1980 เป็นคำนามที่นากาโมริ อากิโอะนำมาใช้เป็นคำจำกัดความถึงกลุ่มแฟนพันธุ์แท้การ์ตูนและอนิเมชั่นซึ่ง มีลักษณะดังที่กล่าวไว้ข้างต้น
ต้นทศวรรษที่ 1990 ยังคงความหมายที่นากาโมริให้คำจำกัดความเอาไว้อยู่ แต่ถูกเน้นย้ำความหมายในแง่ลบ เนื่องมาจากจากคดี Miyazaki
ปลายทศวรรษที่ 1990 ถูกใช้ในความหมายที่เบาและกว้างขึ้น ในความหมายของ "คนที่มีความสามารถในการสะสมและเสาะหาข้อมูลในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง" ส่วนภาพพจน์ที่นากาโมริเคยบรรยายเอาไว้ก็ยังคงอยู่ ส่วนความหมายในแง่ลบจากคดีมิยาซากิถูกลดทอนความรุนแรงลง และเกิดคำคุณศัพท์ Otakii ขึ้นมา
ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา นักวิชาการและนักวิจารณ์ได้ให้คำจำกัดความต่าง ๆ กัน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะมองว่า Otaku เป็นผลผลิตของยุคสมัย และมักจะนำมาวิเคราะห์กับคำจำกัดความอื่น ๆ เช่น Moratorium ningen, Hokikomori no hito และ Shin-jinrui เป็นต้น
Otaku นั้นเคยถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามสังคม
ภาพ ลักษณ์ของ Otaku ที่เด่นชัดที่สุดก็คือ บุคคลที่มืดมน ไม่ชอบเข้าสังคม ไม่มีใครคบหา น่ารังเกียจ มีอาการป่วยทางจิตและเป็นภัยต่อสังคม แม้ในปัจจุบันความหวาดระแวงใน Otaku เบาบางลงมากแล้ว แต่ภาพลักษณ์นี้ก็ยังคงถูกสื่อมวลชนนำมาใช้อยู่อย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นในนวนิยาย การ์ตูน อนิเมชั่น ละครและเพลง แสดงให้เห็นถึงความแพร่หลายและฝังรากลึกของแนวคิดดังกล่าว
Otaku นั้นนับว่าเป็นผลผลิตของสังคม
ดัง ที่ได้กล่าวมาแล้วว่า หลังจากต้นทศวรรษที่ 1990 เป็นต้นมา นักวิชาการและนักวิจารณ์ต่างเสนอแนวคิดเกี่ยวกับ Otaku ต่าง ๆ นานา แต่โดยรวมแล้วเห็นว่า Otaku เป็นหนึ่งในผลผลิตของสังคมญี่ปุ่นยุคหลังสงคราม ซึ่งผลผลิตของสังคมยุคหลังสงครามนี้ยังมีอีกมากมาย เช่น Hikikomori no hito และ Shin-jinrui แต่การที่ Otaku ถูกดึงออกมาประนามอย่างร้อนแรงนั้นเนื่องมาจากความต้องการขายข่าวของสื่อมวล ชนนั่นเอง
Otaku นั้นเป็นเหยื่อของสื่อมวลชน
โย เนซาวะ โยชิฮิโร (Yonezawa Yoshihiro) นักวิจารณ์การ์ตูนและประธานการจัดงาน Comic Market เห็นว่า การนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับ Miyazaki และ Otaku ของสื่อมวลชนเป็นต้นเหตุของความความหวาดระแวงต่อผลิตผลทางปัญญาที่ไม่มี ลิขสิทธิ์ (หมายถึง การ์ตูน อนิเมชั่นและนิตยสารใต้ดิน) และคำว่า Otaku ถูกนำมาใช้เพื่อดึงคนกลุ่มหนึ่งออกมาจากสังคมและบดขยี้ทิ้งไป ในทางกลับกัน การเปิดกว้างในการตีความคำว่า Otaku ก็ทำให้ปัจเจกบุคคลสามารถที่จะตีความเอาเองได้ตามใจชอบ ไม่ว่าจะเป็นพวกหนอนหนังสือ แฟนภาพยนตร์ แฟนเพลงวงร็อค นักวาดการ์ตูนและแฟนอนิเมชั่นต่างก็ถูกเหมารวมกันไปหมด
ในทุกวันนี้นับว่าทุกคนคือ Otaku
ผู้ เขียนบทความหลายคนจากหนังสือ Otaku no tanjou มีความเห็นตรงกันว่า "ในสังคมที่ให้ความสำคัญกับข่าวสารอย่างประเทศญี่ปุ่นนั้น โดยเฉพาะยุคสมัยที่เทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าถึงขีดสุดแบบนี้ ทุก ๆ คนก็เป็น Otaku ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง"
อย่าง ไรก็ตาม ความเห็นของคนกลุ่มนี้อาจจะมีความลำเอียงผสมอยู่บ้างเนื่องจากต่างก็เป็นผู้ ที่อยู่ในสาขาอาชีพที่ถูกกล่าวหาว่าเป็น Otaku เช่น นักเขียนการ์ตูน นักเขียน นักดนตรี และจุดประสงค์ของการออกหนังสือรวมบทความเล่มนี้ก็เพื่อสร้างเสริมภาพพจน์ที่ ดีให้แก่สังคมของ Otaku
อีกข้อหนึ่งก็คือ Otaku ที่คนเหล่านี้พูดถึงจะมีการตีความที่สับสน เนื่องจากช่วงเวลาที่เขียนบทความอยู่ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 ซึ่งยังมีความขัดแย้งระหว่างแนวคิดของ Otaku ที่มีอาการหนักและมีปัญหาทางจิตแบบ Miyazaki กับ Otaku ในระดับอ่อน ๆ ที่สามารถอยู่ร่วมกับคนในสังคมได้อย่างปกติสุข
การที่จะนำเอาการ์ตูน อนิเมชั่น Otaku ศาสนา และอาชญากรรมมาเชื่อมโยงเข้าด้วยกันนั้นควรจะมีหลักการรองรับที่เพียงพอ แน่นอนว่าการที่คนญี่ปุ่นตื่นตัวกับเรื่องของ Otaku แสดงให้เห็นถึงความสำคัญและบทบาทที่การ์ตูนและอนิเมชั่นมีต่อคนหมู่มาก ซึ่งหากเป็นในสังคมอื่น เราอาจจะโทษไปที่ภาพยนตร์ นวนิยายหรือดนตรี ดังที่ดนตรีร็อค แอนด์ โรลและโทรทัศน์เคยถูกประนามว่าเป็นสิ่งที่บ่อนทำลายศีลธรรมอันดีงามและส่ง อิทธิพลในทางลบให้แก่เยาวชนในอเมริกามาแล้ว
การ์ตูนและอนิเมชั่นใน ญี่ปุ่นก็เช่นกัน เนื่องจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมการ์ตูนและอนิเมชั่นที่เข้า ถึงคนทุกเพศทุกวัยในสังคม ทำให้สามารถที่จะถูกกล่าวโทษว่าเป็นโรคร้ายของสังคมได้อย่างง่ายดาย และในความหมายนั้น Otaku ก็นับว่าเป็นผลผลิตของสังคมที่บริโภคการ์ตูนมากเกินไปนั่นเอง
อ่านบทความเต็มๆ ที่ http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=spiral&month=26-12-2005&group=5&gblog=15
ถ้าถามผมในทุกวันนี้คำว่า Otaku มันก็จะหมายถึง คนหรือบุคคลที่มีความหลงใหลและชื่นชอบในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งจะเห็นเด่นชัดในกลุ่มของคนที่ชื่นชอบอนิเมชั่น และการ์ตูนเป็นต้นนั้นเอง เมื่อมีความหลงใหลก็จะเกิดการศึกษาและติดตามในผลงานนั้นๆ ที่เราสนใจ ซึ่งไม่ได้มีความหมายที่เลวร้าย หรือ ติดลบเหมือนในยุคเริ่มแรกของจุดกำหนิดในญี่ปุ่น ดังนั้นถ้าเพื่อนๆ หลายคนที่รู้ตัวเองว่าใช่ ก็เข้ามาเลยครับกับ Otaku Station ของเรา
ซึ่งเนื้อหาของบทความ Otaku Station นับตั้งแต่บทความนี้เป็นต้นไป จะนำเสนอเพื่อนๆ ถึงความเคลื่อนไหวต่างๆ ของวงการการ์ตูน อนิเมชั่น ต่างๆ และจะคัดเอาการ์ตูนหรือ อนิเมชั่นที่น่าสนใจและน่าดูมาให้เพื่อนๆ ได้รับชมกันนะครับ
เริ่มกันเลยดีกว่ากับ Otaku Station ของเรา วันนี้กล่าวกันมายาวเหลือเกินกับบทความแรก วันนี้ผมมีรายการของอนิเมชั่นที่กำลังออกฉายให้ชมอยู่ในช่วงนี้ คือเดือน กันยายน ตุลาคม และ พฤศจิกายน 2553 หรือที่เรียก 3 เดือนนี้ว่า Fall 2010 นั้นเอง ซึ่งญี่ปุ่นนั้นจะแบ่งในหนึ่งปีออกเป็น รอบละ 3 เดือน รวมเป็น 4 รอบต่อปี หรือจะเรียกง่ายๆ แบ่งตามฤดูกาลของญี่ปุ่นนั้นเองครับ
รายชื่ออนิเมชั่นที่ออกฉายใน เดือนกันยายน 2553
Black Lagoon: Roberta’s Blood Trail (OVA)
Sora no Otoshimono (OAD)
Hetalia Axis Powers 4th Series (ONA)
Katanagatari (TV)
Kowarekake no Orgel (Film)
Battle Spirits: Brave (TV)
The World God Only Knows: FLAG 0 (OAD)
Gundam 00 The Movie: A Wakening of the Trailblazer (Film)
Yondemasuyo, Azazel-san. (OAD)
Queen’s Blade: Utsukushiki Toushi-tachi (OVA)
Tales of Symphonia: Tethe’alla-hen (OVA)
ToHeart2 adnext (OVA)
Pocket Monsters: Best Wishes! (TV)
Armored Trooper Votoms: Gen-ei Hen (OVA)
Break Blade 3: Kyoujin no Ato (Film)
Shakugan no Shana S (OVA)
รายชื่ออนิเมชั่นที่ออกฉายใน ตุลาคม 2553
Iron Man (TV)
Sora no Otoshimono: Forte (TV)
Super Robot Wars OG -The Inspectors- (TV)
Panty & Stocking with Garterbelt (TV)
MM! (TV)
Bakuman. (TV)
Hakuouki: Shinsengumi Kitan 2nd Season (TV)
Tegami Bachi: REVERSE (TV)
Arakawa Under the Bridge x Bridge (TV)
Psychic Detective Yakumo (TV)
Yumeiro Patissiere Professional (TV)
Hyakka Ryouran Samurai Girls (TV)
Ore no Imouto ga Konna ni Kawaii Wake ga Nai (TV)
Star Driver: Kagayaki no Takuto (TV)
Tamayura (TV) *eps 1 & 2
Shaun the Sheep (TV)
Yosuga no Sora (TV)
Otome Youkai Zakuro (TV)
Miyanishi Tatsuya Gekijou: Omae Umasou da na (TV)
Shinryaku! Ika Musume (TV)
Tachi Yumaru Gekijou (TV)
Motto To Love-RU -Trouble- (TV)
Ganbare! Kieruna!! Shikiso Usuko-san (OVA)
The World God Only Knows (TV)
Agriculture Girl! Episode 0 Special (TV)
Soredemo Machi wa Mawatteiru (TV)
Tantei Opera Milky Holmes (TV)
Togainu no Chi (TV)
Karl to Fushigi na Tou (TV)
Fortune Arterial: Akai Yakusoku (TV)
Toaru Majutsu no Index II (TV)
Yozakura Quartet: Hoshi no Umi (OVA)
REDLINE (Film)
Onigamiden (Film)
Robin with His 100 Friends (TV)
Kuragehime (TV)
Katanagatari (TV)
Omae Umasou da na (Film)
Seikon no Qwaser: Empress no Shozo (OAD)
Queen’s Blade: Utsukushiki Toushi-tachi (OVA)
Mayo elle Otokonoko (OVA)
Hidamari Sketch x ☆☆☆ Special Part I (TV)
Jump Super Anime Tour 2010 (Film)
Ichi-go ichi-e ~Kimino Kotoba~ (TV)
Kyou, Koi wo Hajimemasu (OAD)
Seikimatsu Occult Gakuin (OAD)
Da Capo: D.C. I & II PSP Bonus OVA (OVA)
Toaru Kagaku no Railgun (OVA)
Hidamari Sketch x ☆☆☆ Special Part II (TV)
Gundam Unicorn (OVA)
Heartcatch Precure! Fashion Show in the Flower Capital… Really? (Film)
รายชื่ออนิเมชั่นที่ออกฉายใน พฤศจิกายน 553
ita et Machin (TV)
Black Lagoon: Roberta’s Blood Trail (OVA)
Armored Trooper Votoms: Case; Irvine (Film)
Mardock Scramble 1: The First Compression (Film)
Tobidasu Ehon 3D (Film)
Aki Sora ~Yume no Naka~ (OVA)
Air Gear: Kuro no Hane to Nemuri no Mori – Break on the Sky (OAD) *manga vol.30 bundle
Koe de Oshigoto! take.1 (OVA)
Mahou Sensei Negima! ~Mou Hitotsu no Sekai~ Extra (OAD)
Anime Tenchou x Touhou Project (Special)
kiss x sis (OAD)
G-Best -G-taste Best Selection- (OAD)
Queen’s Blade: Utsukushiki Toushi-tachi (OVA)
Megane na Kanojo (OVA)
T.P. Sakura ~Time Paladin Sakura~ Jikuu Boueisen (OVA)
.hack//Quantum (OVA)
Mazinkaiser SKL (OVA)
Koi☆sento (OVA)
จะเห็นว่าภายในฤดูกาล Fall 2010 นี้อนิเมชั่นฟอร์มใหญ่ๆ นั้นได้เข้ามาให้ชมมากมายกันเลยครับ แต่เรื่องที่ผมอยากแนะนำให้เพื่อนๆ หาลองมาดูนั้นก็มีคือ Bakuman,Iron Man,Motto To Love-RU -Trouble-,Toaru Majutsu no Index II,Yosuga no Sora,Star Driver: Kagayaki no Takuto ,Kuragehime เรื่องที่กล่าวมาเพื่อนๆ ไม่ควรจะพลาดเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งในวันนี้ผมจะขอแนะนำ 1 เรื่องจากเรื่องที่ผมได้กล่าวไปนั้นก็คือ Bakuman นั้นเอง
Bakuman
Bakuman เป็นผลงานการ์ตูนของ อ.โอบาตะ ทาเคชิ และ อ.โอบะ ซึงุมิ ซึ่งเคยมีผลงานร่วมกันคือ Death Note เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเด็กหนุ่มสองคนที่ต้องการประสบความสำเร็จในวงการนัก เขียนการ์ตูน ที่สร้างความโด่งดังมาแล้วในเวอร์ชั่นหนังสือการตูน (มังงะ) และก็พร้อมอวดโฉมให้เพื่อนๆ ได้ชมกันในรูปแบบ เอนิเมชั่นกันแล้ว
ผู้สร้างอนิเมชั่น J.C. Staff
จำนวน 25 ตอน
ตัวละครหลักและนักพากษ์
Mashiro Moritaka
CV: Abe Atsushi (Kamijo Touma : To aru Majutsu Index )
ตัวเอกของเรื่อง สกิลการวาดภาพขั้นเทพ เคยมีคุณลุงที่เสียชีวิตไปแล้วเป็นนักเขียนการ์ตูนในจัมป์ มักถูกเรียกว่าไซโค
Takagi Akito
CV: Hino Satoshi (Hiraga Saito : Zero no Tsukaima)
เป็นคนชวนมาชิโระมาจับเขียนการ์ตูนด้วยกัน (ใช้นามปากการ่วมว่า อาชิโรกิ มุโต้) นั่งเรียนหลังห้องมาตลอดจนรู้ว่ามาชิโระแอบๆปิ๊งกับอาซึกิ โดนมาชิโระเรียกว่าชูจิน
Azuki Miho
CV: Hayami Saori (Morimi Saki : Eden of the East)
เป็นเด็กสาวที่มาชิโระแอบชอบมาตั้งแต่เด็ก (โดยที่ไม่รู้ว่าอาซึกิก็ชอบตัวเองอยู่เหมือนกัน) มีความฝันอยากเป็นนักพากษ์อนิเม
Niizuma Eiji
CV: Okamoto Nobuhiko (Accelerator : To aru Majutsu Index ในซีซั่นที่ผ่านมาก็ Usui Takumi : Kaichou wa Maid Sama! ฮะ)
นักเขียนการ์ตูนพรสวรรค์ เป็นคนที่คู่หูอาชิโรกิเห็นเป็นคู่แข่ง และฝ่ายตนก็เห็นคู่หูอาชิโรกิเป็นทั้งคู่แข่งเช่นกัน แต่ก็ชื่นชอบในฝีมือการเขียนของคู่หูอาชิโรกิมาก
เนื้อเรื่องย่อ
"มาชิโระ โมริทากะ" เด็กหนุ่ม ม.ต้น ผู้ปรารถนาจะใช้ชีวิตอย่างราบเรียบ เขามีอาเป็นนักเขียนการ์ตูนที่ดังในระดับหนึ่ง แต่อาเขาก็ต้องตายไป เพราะทำงานหนัก เพราะงั้นเองจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้เขาเลิกสนใจการ์ตูนไป
แต่แล้วจู่ๆ เมื่อ "ทาคากิ อากิโตะ" ได้เห็นพรสวรรค์อันล้ำเลิศในการวาดการ์ตูนของมาชิโระเข้า จึงเชิญชวนให้เขาจับคู่กัน ทาคากิเขียนเรื่อง มาชิโระวาดรูป แต่ดูเหมือนมาชิโระจะยังไม่ตกลงแน่ชัด จนกระทั่ง ทาคากิได้พบความลับสุดยอดเข้า เมื่อรู้ว่า " อาซึกิ มิโฮะ " สาวสวยที่มาชิโระแอบชอบ และเธอก็ดูจะชอบมาชิโระด้วย นั้น มีความฝันอยากจะเป็นนักพากย์การ์ตูน เพราะงั้นเองทาคากิจึงลากมาชิโระไปหน้าบ้านของเธอ และบอกความฝันของพวกเขาว่าอยากให้การ์ตูนของตนเป็นอนิเมชั่น และอยากขอให้เธอมาพากย์เป็นตัวนางเอกให้เธอก็ตอบตกลง และมาชิโระที่เอ๋อๆ อยู่ขณะนั้น จู่ๆ ก็พูดขึ้นว่า ถ้าความฝันของพวกเขา และเธอเป็นจริงแล้วเมื่อไหร่ เขา (มาชิโระ) กับเธอจะแต่งงานกัน
ดูท่าว่าเธอจะตอบตกลงซะด้วย..แต่เงื่อนไขก็คือระหว่างที่ยังไม่บรรลุเป้าหมายพวกเขาจะไม่เจอหน้ากัน (ยกเว้นในห้องเรียน) ไม่พูดคุยกัน จะทำแค่ส่งเมล์ให้กำลังใจซึ่งกันและกันเท่านั้นและแล้วทั้งสองก็ตัดสินใจที่จะใช้ที่ทำงานเก่าของอาของมาชิโระในการเขียน การ์ตูน เป้าหมายแรกคือส่งเรื่องสั้นไปให้ผ่านและเขียนรายสัปดาห์
จนกระทั่งเมื่อความนิยมเป็นอันดับหนึ่งในนิตยสารจั๊มพ์แล้วการ์ตูนของพวกเขาจะได้ทำเป็นอนิเม แต่หนทางนั้นช่างยาวไกลนัก อุปสรรคมากมาย...รวมทั้งคู่แข่งฝีมือฉกาจก็ถาโถมเข้าใส่พวกเขา...เด็กหนุ่มผู้มีความสามารถในการเขียนเรื่อง เมื่อสองเด็กหนุ่มร่วมมือกันตำนานการ์ตูนบทใหม่ก้ก่อเกิดขึ้น! เ้รื่องราวแห่งความสำเร็จยุคใหม่เปิดม่านแล้ว!!
สำหรับผมนั้นเป็นแฟนของ BAKUMAN ทั้งฉบับมังงะ และได้ชมฉบับ อนิเมชั่นไปแล้ว ขอบอกว่าสนุกมากๆ ทั้ง 2 แบบเลยครับ เวอร์ชั่นอนิเมชั่นนั้นทำออกมาได้ดีมาและมีเนื้อเรื่องเหมือนกับฉบับมังงะเลย ทำให้ผู้ที่ชื่นชอบอยู่แล้วต้องหามาดูกันเลยงานนี้ BAKUMAN ไม่ทไให้ผิดหวังแน่นอน
อย่าลืมไปหามาชมกันนะครับ เพื่อนๆ ที่น่ารักทุกท่าน และอย่าลืมติดตามชมกันนะครับว่าสัปดาห์หน้าผมจะมานำเสนอเรื่องอะไรใน Otaku Station ของเรา วันนี้ผมขอตัวไปแล้วขอรับ บ๊าย บาย
**ผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยไว้ล่วงหน้านะครับ**
ขอบคุณแหล่งที่มา
http://www.moetron.com/
http://chartfag.wordpress.com/
Thesisterme
เว็บตุรกี
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=spiral&month=26-12-2005&group=5&gblog=15
ภาพประกอบ Google