ตอบคำถามกับครูน้อยคอยแนะชิงชุดแซนต้า ใน Ran Online

Happy Christmas จ๊ะครูน้อยมาทีไรต้องมีอะไรดีๆมาฝากเสมอ นี้ก็ใกล้Christmasมาเต็มทีแล้วดังนั้นครูน้อยเลยเอาเนื้อเรื่อง กำเนิด christmas แต่ไม่ใช้ให้เข้ามาอ่านกันเฉยๆ แล้วไม่มีอะไรมาแจก ถ้าไม่มีอะไรมาแจกก็ไม่ใช่ครูน้อยแล้ว ซึ่งครูน้อยก็มีชุดซานต้าสวยๆมาแจกกันวันละ 6 รางวัล [ซานต้า(ชาย) 3 ชุด ซานตี้ (หญิง) 3 ชุด] เริ่มตั้งแต่วันที่ 22-25 ธันวาคม 2548 กติกาก็มีอยู่ว่า จะมีทีมงาน หรือGM จะตั้งคำถามเกี่ยวกับวันChristmas ในเกมหากใครที่รู้คำตอบก็สามารถตอบด้วยโทรโข่ง หากใครที่ตอบได้และถูกต้องก็รับชุดซานต้าสวยๆจากGmกันไปเลย GM จะมีคำถามให้เวลา 20.00 น. ทุก Server ใน Ch.0 เท่านั้นนะจ๊ะ อ่านกันแล้วจำกันให้แม่น

ประวัติวันคริสต์มาส (Christmas History)

คริสต์มาส คือการฉลองการบังเกิดของพระเยซูที่เราเฉลิมฉลองกันใน วันที่ 25 ธันวาคม คำว่า ?คริสต์มาส? เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ Christmas ซึ่งมาจากคำภาษาอังกฤษโบราณว่า Christes Maesse ที่แปลว่า บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า เพราะการร่วมพิธีมิสซา เป็น ประเพณีสำคัญที่สุดที่ชาวคริสต์ถือปฏิบัติกันในวันคริสต์มาส คำว่า Christes Maesse พบครั้งแรกในเอกสารโบราณเป็นภาษาอังกฤษ ในปี 1038 และ คำนี้ก็ได้แปรเปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas ในภาษาไทย ?คริสต์มาส? ก็มีความหมายเช่นกัน คำว่า มาส แปลว่า เดือน เทศกาลคริสต์มาส จึงเป็นเดือนที่เราระลึกถึงพระเยซูคริสตเจ้าเป็นพิเศษ อีกความหมายหนึ่งของคำว่า มาส คือ ดวงจันทร์ ฉะนั้นจึงตีความหมายเป็นภาษาไทยได้อีกอย่างหนึ่งคือพระเยซูทรงเป็นความสว่างของโลก เหมือนดวงจันทร์เป็นความสว่างในตอนกลางคืน

…………คำทักทาย ที่เราได้ฟังบ่อย ๆ ในเทศกาลนี้คือ Merry X? mas คำว่า Merry ในภาษาอังกฤษโบราณแปลว่า สันติสุข และความสงบทางใจ เพราะฉะนั้น คำนี้จึงเป็นคำที่ใช้อวยพรคนอื่น ขอให้เขาได้รับสันติสุขและความสงบทางใจ เนื่องในโอกาสเทศกาลคริสต์มาส

ความเป็นมาของเทศกาลคริสต์มาส

ชาวไทยฉลอง ?เฉลิมพระชนม์พรรษา? ในวันที่ 5 ธันวาคม เพื่อระลึกถึง พระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ทุกปี ในสมัยโบราณก็มีประเพณีเช่นเดียวกัน ชาวโรมันมีการระลึกถึงการสมภพของพระเจ้าจักรพรรดิ คนท้องถิ่นอื่นก็ระลึกถึงและเฉลิมฉลองวันเกิดของกษัตริย์ หรือผู้ปกครองบ้านเมืองของตนด้วยความยินดี แม้แต่ชาวยิวในสมัยของพระเยซูเอง ก็ฉลองการเกิดของกษัตริย์เฮรอดเช่นเดียวกัน (มธ. 14: 16) เพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องธรรมดา ที่ชาวคริสต์สมัยโบราณถือเอาประเพณีของขนในท้องถิ่นนั้น มาประยุกต์เข้ากับศาสนา โดยจัดให้มีการฉลองเพื่อระลึกถึงการบังเกิดของพระเยซู ที่เขายกย่องเหมือนกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งสากลโลกผู้ทรงเกียรติเลอเลิศ ประเพณีนี้ได้เริ่มมาจากกรุงโรมในศตวรรษที่ 4 และค่อย ๆ เผยแพร่ไปทุกทวีป

วิวัฒนาการแห่งการฉลองวันคริสต์มาส

การฉลองคริสต์มาสแพร่มาจากกรุงโรม ไปยังทุกประเทศพร้อมกับศาสนาคริสต์ที่ค่อย ๆ แผ่ขยายไปในที่ต่าง ๆ จนในปี ค.ศ. 1100 ประชาชนก็เป็นคริสตชนทั้งหมดทั่วยุโรป และก็ได้พบว่า มีการฉลองวันคริสต์มาสพร้อมกันในยุโรป เพราะถือว่า เป็นวันสำคัญวันหนึ่งในศาสนา

เราสามารถแบ่งวิวัฒนาการ ของการฉลองวันคริสต์มาสเป็น 4 ช่วงคือ

ค.ศ. 330-1100 ช่วงนี้เป็นช่วงแห่งการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ทีละเล็กทีละน้อยก็มีการฉลองวันคริสต์มาส และก็มีการเริ่มเทศกาล เตรียมรับเสด็จพระเยซูเป็นเวลา 4 สัปดาห์ก่อนคริสต์มาสเป็นเวลาเตรียมตัวโดยการใช้โทษบาป อดอาหารและภาวนาเป็นพิเศษ

ค.ศ. 1100-ศตวรรษที่ 16 ช่วงนี้มีการพัฒนาประเพณีต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการฉลองคริสต์มาส เช่นการแต่งเพลงคริสต์มาส การทำถ้าพระกุมาร ทำต้นคริสต์มาส

ศตวรรษที่ 16-19 ระยะนี้มีการแตกแยกในคริสตศาสนา เกิดมีนิกายบางนิกายขึ้นมา ซึ่งบางนิกายไม่สนับสนุนให้มีการฉลองวันคริสต์มาส ด้วยเหตุผลที่ว่าคริสต์มาสเป็นวันที่มนุษย์เลือกเอาเองโดยได้รับอิทธิพลจากชาวโรมัน ที่ฉลองดวงอาทิตย์คล้ายเป็นพระเจ้าของเขา และชาวบ้านก็ให้ความสำคัญแก่วันนี้มากกว่าวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันที่พระเจ้ากำหนดให้เป็นวันศักดิ์สิทธิ์ แต่อย่างไรก็ตามชาวคาทอลิกพร้อมกับคริสตศาสนาหลาย ๆ นิกาย เช่น Lutheran เป็นต้น ยังรักษาการฉลองนี้ไว้ด้วยความอบอุ่น และศรัทธาจนถึงปัจจุบัน

ศตวรรษที่ 19- ปัจจุบัน เริ่มมีประเพณีอื่นทางโลกแทรกเข้ามาซึ่งมีอิทธิพลต่อการฉลองนี้มาก เช่นเรื่องซานตาคลอสให้ของขวัญ การส่งบัตรอวยพรคริสต์มาสซึ่งร้านต่าง ๆ ยินดีสนับสนุน เพราะเป็นโอกาสดีที่จะขายสินค้า ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจให้ดีขึ้นไปในตัว ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านทั่วไปก็อาจจะลืมความสำคัญ หรือความหมายที่แท้จริงของคริสต์มาส โดยหันมาเพิ่มความสนใจในสิ่งภายนอกมากว่า

การทำ ถ้าพระกุมาร

ตามความในพระคัมภีร์พระเยซูเกิดในรางหญ้า (ลก. 2: 7) ซึ่งเราไม่แน่ใจว่าอยู่ตรงไหน แต่เนื่องจากในแถบเบธเลเฮม มีถ้าอยู่มากมาย ที่พวกดูแลฝูงแกะใช้เป็นที่พักของสัตว์ (รางหญ้า) และตัวเอง เป็นความคิดของชาวคริสต์ธรรมดาว่า รางหญ้าที่พระวรสารอ้างถึงนั้น คงอยู่ในถ้าแห่งหนึ่งในเบธเลเฮม ประเพณีการทำถ้านั้น มาจากอิตาลีโดยนักบุญฟรังซิส อัสซีซี เป็นผู้เริ่ม โดยในวันคริสต์มาสปี ค.ศ. 1223 นักบุญฟรังซิสชวนให้ชาวบ้านทุกคนในหมู่บ้านที่ Greccio ที่ท่านอยู่ ร่วมแสดงละคร มีการเตรียมถ้าพระกุมารและใช้สัตว์จริง ๆ เช่น วัวและลา อยู่ในถ้าด้วย (การที่ใช้วัวและลา เพราะเป็นสัตว์ที่ชาวบ้านใช้เป็นประจำ) จากนั้น ก็จุดเทียนมายืนรอบ ๆ ถ้าที่ทำขึ้น ร้องเพลงสรรเสริญพระเจ้าจนถึงสว่างและฟังมิสซาด้วยกันตั้งแต่นั้นมา ประเพณีทำถ้าพระกุมารทั้งในวัดและในบ้านก็แพร่หลายไปทั่วทุกหนแห่ง

คำที่เกี่ยวข้อง

สมัครรับข่าว OS

คุณอาจสนใจเรื่องนี้