เมื่อเข้าไปสนทนาในเว็บบอร์ดเกมออนไลน์, ดูคลิปวีดีโอบน Youtube, Mthai, Clip Mass หรือสังคม Social แบบ Facebook, Exteen, Google+ อาจจะเห็นการใช้ศัพท์เฉพาะในวงการการ์ตูนหลุดมาบ้าง ซึ่งพอสังคมกว้างขึ้น ก็เห็นศัพท์แปลกตาเหล่านี้มากยิ่งขึ้น บางทีก็ใช้กันโดยไม่ได้ตั้งใจแต่เพราะเคยชินจากในเว็บบอร์ดการ์ตูนก็มี ลองมาดูความหมายของคำเหล่านี้กัน
มังงะ (Manga) : คำนิยาม “หนังสือการ์ตูน” ที่ผลิตจากญี่ปุ่น เนื่องจากความหมายตรงตัวและพิมพ์สั้นกว่า ทำให้มีบางคนใช้แทนคำว่าหนังสือการ์ตูน
คอมิค (Comic) : หนังสือการ์ตูนในฝั่งตะวันตกและอเมริกา
อนิเมะ (Anime) : ความหมายเหมือน “แอนิเมชัน” เมื่อก่อนเป็นคำที่ใช้เฉพาะในญี่ปุ่น แต่ปัจจุบันใช้กันแพร่หลาย
โดจิน (Doujin) : การ์ตูนทำมือและขายให้ผู้อ่านโดยไม่ผ่านสำนักพิมพ์ อาจเขียนโดยใช้ตัวละครที่สร้างเองหรือจากการ์ตูนเรื่องอื่น นักเขียนการ์ตูนชื่อดังหลายๆ คนก็เคยเป็นกลุ่มที่วาดโดจินมาก่อน ก่อนจะได้งานจากสำนักพิมพ์และกลายเป็นที่รู้จักในภายหลัง
เนื่องจากไม่จำกัดแนว ในยุคหลังๆ จึงเห็นแบบการ์ตูนติดเรตค่อนข้างเยอะเพราะขายง่ายกว่าแนวอื่น บางครั้งกล่าวถึงแนวโดจินกันลอยๆ อาจเป็นประเภทนั้นก็ได้ แต่โดจินประเภทไม่ติดเรตและเนื้อหาค่อนข้างดีก็เยอะนะ
Comiket งานขายโดจินที่ใหญ่ที่สุด
LC (License) : ส่วนใหญ่การ์ตูนที่วางขายหรือฉายในญี่ปุ่นจะยังไม่มีลิขสิทธิ์ แต่เมื่อมีบริษัทในต่างประเทศซื้อลิขสิทธิ์ จะมีกฏหมายคุ้มครองการเผยแพร่ในประเทศนั้น ทำให้กลุ่ม Fansub (กลุ่มผู้แปล Subtitle ให้กับอนิเมะหรือรายการทีวีต่างๆ ) กับหนังสือการ์ตูนไพเรต (หนังสือการ์ตูนที่มีสิทธิ์ในการจำหน่ายในไทย) จะต้องหยุดการเผยแพร่
ถ้าคนมีอายุหน่อย น่าจะเกิดทันยุคหนังสือ The Talent พอมีหนังสือการ์ตูนลิขสิทธิ์ในไทยแบบ Boom และ C-Kids รวมถึงหนังสือการ์ตูนรวมเล่มแบบลิขสิทธิ์ ทำให้เรื่องที่ไม่มีลิขสิทธิ์ก็ไม่สามารถวางขายต่อได้
ซีซัน (Season) : ช่วงเวลาในการฉายอนิเมะจากญี่ปุ่นตามสล็อตเวลาของสถานีโทรทัศน์ แบ่งเป็น 4 ช่วงตามฤดูกาลในญี่ปุ่น โดย 1 ซีซันยาวประมาณ 11 – 13 ตอน แบ่งออกเป็น 4 ช่วง คือ
– ฤดูหนาว (Winter) ส่วนใหญ่เริ่มฉายเดือน 1
– ฤดูใบไม้ผลิ (Spring) ส่วนใหญ่เริ่มฉายเดือน 4
– ฤดูร้อน (Summer) ส่วนใหญ่เริ่มฉายเดือน 7
– ฤดูใบไม้ผลิ (Fall) ส่วนใหญ่เริ่มฉายเดือน 10
* ช่วงที่ฉายอนิเมะส่วนใหญ่ จะเริ่มกลางฤดูกาลจริง ไม่ได้เริ่มต้นฤดู อย่าง ฤดูหนาวในญี่ปุ่น จะเริ่มเดือน 12
SS : ถ้าต่อท้ายชื่อการ์ตูน ส่วนใหญ่จะหมายถึง ภาคต่อของการ์ตูน เช่น Gundam 00 SS1 ก็หมายถึงซีซันแรก ยกเว้นบางเรื่องอาจเอา SS ห้อยท้ายไว้แต่ไม่เกี่ยวข้องกับภาคเลย แบบเรื่อง Amagami SS หรือ Inu X Boku SS
BD (Blu-Ray Disc) : แผ่นบลูเรย์ ทั้งแผ่นและเครื่องเล่นบลูเรย์ราคาถูกลงตามเวลา จนราคาไม่ค่อยแตกต่างกันมาก อีกทั้งเครื่องเล่นบลูเรย์สนับสนุนความละเอียดระดับ HD ที่ 1920 X 1080 ทำให้ได้ภาพที่คมชัดกว่าแผ่น DVD มาก แต่การ์ตูนบางเรื่องที่ผลิตแต่แผ่น DVD ยังคงมีให้เห็นอยู่บ้าง
Film, Movie : อนิเมะที่ฉายในโรงภาพยนตร์ อาจเป็นตอนพิเศษ, ตอนจบต่อเนื่องจากภาค TV หรืออนิเมะที่ทำมาฉายบนจอเงินโดยเฉพาะ ส่วนใหญ่จะทุนสร้างสูงทำให้ภาพละเอียดกว่าภาค TV ถึงหลายเรื่องจะจำกัดโรงฉายและส่วนใหญ่รายได้น้อยกว่าภาพยนตร์ที่คนแสดง แต่หลายเรื่องทำรายได้ระดับร้อยล้านเยนถึงพันล้านเยนขึ้นไป หลังฉายประมาณครึ่งปีถึง 1 ปี จะมีการวางขาย DVD หรือ BD ตามมา
ฉายโรง ทุนสร้างสูง รายละเอียดก็สูงขึ้น
OVA (Original Video Animation) : การ์ตูนบางเรื่องที่ไม่ฉายทางโทรทัศน์ ส่วนใหญ่วางขายตามสะดวก ไม่ต้องขายต่อเนื่อง อาจขายแค่ 1 – 2 ตอนในแต่ละปีจนจบ ทุนสร้างสูงกว่าภาค TV แต่ส่วนใหญ่จะน้อยกว่าภาคจอเงิน แต่เดิมจะใช้คำว่า OAV (Original Animated Video) ซึ่งมีความหมายคล้ายกัน แต่เนื่องจากในญี่ปุ่นมีกรณีสับสนกับคำว่า AV (Adult Video) เลยเลี่ยงไปใช้ OVA แทนมากกว่า
OAD (Original Anime DVD) : อนิเมะตอนพิเศษที่ขายพร้อมมังงะเล่มปัจจุบัน (ราคาแพงกว่าปกติโดยบวกค่า DVD ปกติไปด้วย) ส่วนใหญ่เป็นตอนพิเศษที่ไม่มีฉายและวางขาย ทำเพื่อกลุ่มแฟนๆ ของเรื่องนั้นโดยเฉพาะ ปกติจะไม่มีขายแยกต่างหาก (เพราะถ้าขายแยกก็จะกลายเป็น OVA ปกตินี่เอง)
ONA (Original Net Animation) : การ์ตูนที่ฉายผ่านระบบเน็ตเวิร์คเท่านั้น ไม่มีฉายทางทีวี บางเรื่องที่ฉายไม่จบทางทีวี หรือต้องการทำตอนพิเศษ จะเลือกฉายผ่านอินเตอร์เน็ตแทน
Live Action : ภาคที่ใช้คนแสดงแทนตัวการ์ตูน และหมายถึงภาคจอเงิน (ถ้าฉายทาง TV ส่วนใหญ่เรียก TV Series หรือ TV Drama) บางครั้งต่างประเทศอย่างเกาหลีใต้, ฮ่องกง หรือไต้หวัน ก็นำไปทำเป็นภาพยนตร์แทนก็มี
Gantz ภาค Live Action
Drama CD : ส่วนใหญ่เป็นตอนพิเศษจากการ์ตูนที่เพิ่มเนื้อหาที่เข้ามา ส่วนใหญ่จะใช้เสียงประกอบอย่างเดียวโดยไม่มีภาพ คล้ายๆ ละครวิทยุในไทย, ถ้ามีภาพนิ่งประกอบเสียงพากย์ อาจจะเรียก Picture Drama หรืออื่นๆ
Light Novel : นิยายสำหรับวัยรุ่น ส่วนใหญ่เนื้อหาเหมือนอ่านการ์ตูน เพียงแต่เน้นตัวหนังสือทั้งเล่ม มีภาพประกอบน้อยมาก (เฉลี่ยประมาณ 5 – 10 หน้าจากความหนาประมาณ 200 หน้า) ส่วนใหญ่นิยมใช้สำนวนที่เข้าใจไม่ยาก เพื่อให้เด็กจนถึงวัยรุ่นญี่ปุ่นอ่านเข้าใจ ปัจจุบันมีเรื่องประเภท Light Novel วางจำหน่ายในไทยมากขึ้น
ถ้าสงสัยต่อว่า แล้วต่างจาก Novel ตรงไหน ? คิดว่าเป็น “นิยายประเภทหนึ่ง” ที่เจาะเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นเป็นหลักก็แล้วกัน อธิบายแบบทางคณิตศาสตร์ก็เหมือนเป็น Subset ของนิยายนั่นแหละ
รายละเอียดเพิ่มเติม : รู้หรือไม่ Light Novel และ Visual Novel คืออะไร ?
AMV (Anime Music Video) : เห็นกันในเว็บดูวีดีโอกันบ้าง เป็นการนำเพลงประกอบไม่ว่าจะเพลงการ์ตูนหรือเพลงต่างชาติ ไปตัดต่อให้เข้าจังหวะกับคลิปอนิเมะ หรือภาพจากมังงะ
ยังมีอีกคำที่เห็นบ่อยในคลิป คือ MAD นิยมใช้เพื่อบอกว่า เป็นคลิปมาจากกลุ่มคอมมิวนิตี้ผู้ที่ชอบการตัดต่อในญี่ปุ่น เช่น จากใน Nico Nico Douga เป็นต้น
ซึนเดเระ (Tsundere) : เป็นคำที่พบเห็นกันบ่อยขึ้น แต่เดิมใช้กับตัวการ์ตูนที่แข็งกระด้างต่อตัวเอกแต่แรก (Tsun Tsun = เย็นชา) แล้วกลายมาเป็นหลงรักตัวเอกในภายหลัง (Dere Dere = อ่อนหวาน) เป็นรูปแบบตัวละครที่ได้รับความนิยมมากจนถึงปัจจุบัน แต่ยุคหลังความหมายกว้างขึ้น เหลือเพียงตัวละครที่ปากไม่ตรงกับใจ ในไทยเห็นกันบ่อยขึ้น ในเว็บไซต์หรือเว็บบอร์ดที่มีเกิดดราม่าขึ้น ซึ่งหมายถึง “คนที่ตอบอย่าง แต่(รู้นะว่า)ในใจคิดอีกอย่าง”
โมเอะ (Moe) : คำเฉพาะในญี่ปุ่น ความหมายเดิม คือ ตัวละครที่เห็นแล้วถูกใจเป็นพิเศษ (ในรายการญี่ปุ่น อาจลากเสียงยาวเป็น โมเอ้) ปัจจุบันค่อนข้างกว้างขึ้น อาจรวมไปถึงคนจริง และความหมายเปลี่ยนไปทางน่ารักมากกว่าความหมายเดิม
ส่วนศัพท์ขั้นที่ลึกๆ เฉพาะทางหน่อย ดูได้จากใน Link ด้านล่าง
ภาษา OTAKU ( โอตาคุ ) วันละคำ # 1
ภาษา OTAKU ( โอตาคุ ) วันละคำ # 2
ภาษา OTAKU ( โอตาคุ ) วันละคำ # 3
ตัวอย่าง (ขอบคุณภาพประกอบจากเว็บ ani-mini.com)