หลังจากวันอังคารที่ผ่านมา ผมได้นำเสนอเรื่องราวของเครื่องเกม Pong Arcade ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของเครื่อง Pong Console ไปแล้ว คราวนี้ผม Barrettez จะมาพูดถึงเครื่อง Pong Console กันบ้าง
เครื่อง Pong แบบ Console นั้นมีชื่อว่า Pong Home เป็นโปรเจ็กต์ที่ Brushell ตั้งใจจะนำเครื่อง Pong มาทำให้เป็นเครื่องเกมสำหรับเล่นที่บ้าน ตีตลาดกับเครื่อง Magnavox Odyssey ในปี 1974 จึงมอบหมายให้นาย Harold Lee วิศวกรประจำบริษัท Atari เป็นผู้นำทีมพัฒนา
แรกเริ่มการพัฒนานั้นใช้ชื่อโปรเจ็กว่า "Darlene" อย่าแปลกใจว่าเป็นชื่อเท่ๆ อะไรที่ไหนครับ ก็แค่ชื่อพนักงานสาวที่น่ารักๆ ใน Atari สมัยนั้นนั่นเอง ซึ่งในตอนนั้น นาย Lee ได้ทำงานร่วมกับ นาย Alcorn ในด้านการออกแบบระบบ โดยเครื่อง Pong นั้นนำระบบดิจิตอลที่ใช้ในเครื่อง Arcade มาใช้อีกครั้ง
ทั้งสองคนร่วมมือกันผลิตแบบหามรุ่งหามค่ำ เพื่อให้ไม่เปลืองเวลาและค่าใช้จ่าย ซึ่งนาย Lee จะทำงานออกแบบในช่วงกลางวัน ส่วนนาย Alcorn จะทำการแก้ไขระบบในช่วงกลางคืน หลังจากที่การออกแบบระบบเสร็จสิ้น ออกมาเป็นชิฟ 1 อัน จากนั้นก็ได้นาย Bob Brown ผู้ช่วยวิศวกรของ Atari มาร่วมมือออกแบบรูปร่างของเครื่องต้นแบบอีกแรง จนแล้วเสร็จสมบูรณ์ในช่วงปลายปี 1974 แล้วตั้งชื่อให้กับเครื่องนี้ว่า "Pong Home"
หลังจากที่สร้างเสร็จ นาย Brushell ได้นำไปเสนอกับตัวแทนจำหน่ายหลายต่อหลายแห่ง แต่กถูกปฏิเสธมาตลอด เพราะเนื่องจากราคานำเสนอเครื่องนั้นแพงมาก และอาจจะไม่ดึงดูดลูกค้าเท่าที่ควร จึงนำไปเสนอกับบริษัท Sears ซึ่งเป็นบริษัทผลิตอุปกรณ์กีฬา แต่ก็ถูกปฏิเสธมาอีก เพราะข้อเรียกร้องของทาง Atari มีมากเกินไป
จนในเดือนมกราคมปี 1975 ความพยายามของ Atari ก็เป็นผล เมื่อทีมงาน Atari ได้นำเครื่อง Pong ไปแสดงโชว์ที่บูตในงาน Trade Fair ที่นิวยอร์ก แล้วได้พบกับตัวตัวแทนจาก Sears อีกครั้ง และจากการสาทิตเครื่องเกมแล้วเขาสนใจมาก จึงเชิญ นาย Brushell มาเจรจาทำสัญญากันที่สำนักงานใหญ่ Sears โดยตอนแรก Brushell เสนอกับทาง Sears ว่าจะผลิตล็อตแรกออกมา 75,000 เครื่อง ก่อนวันคริสมาสตร์ แต่ Sears ได้เสนอให้ผลิตเป็น 150,000 เครื่อง ทำให้ Atari เปิดโรงงานผลิตขึ้นมาอีก 1 แห่ง โดยเครื่องที่ผลิตออกมาทั้ง 150,000 เครื่องนั้นจะใช้ชื่อเครื่องว่า TELE – Games ซึ่งก็ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม แต่แล้วก็ถูกทาง Magnavox ฟ้องร้องในเวลาไม่นาน
คดีความกับ Magnavox Odyssey
เกิดขึ้นจากที่ Ralph Baer ได้พบว่ารูปแบบการเล่นของเครื่อง Pong (ไอ้ที่เป็นตีลูกเด้งๆ ไปมา) เป็นการลอกเลียนแบบเกมปิงปองของเครื่อง Magnavox Odyssey พร้อมทั้งยังไปขุดหาบันทึกเก่าๆ ที่เก็บไว้ ซึ่งมีข้อมูลของนาย Brushell ที่เคยได้เล่นเครื่องเกม Magnavox Odyssey มาก่อนด้วย ซึ่งนาย Brushell จำใจยอมรับเพื่อป้องกันปัญหาระยะยาว โดยจ่ายเป็นค่าเสียหาย 1.5 ล้านเหรียญ แต่ทาง Atari เองก็ไม่ได้มีเงินถึงขนาดนั้น Magnavox จึงเสนอให้ Atari ทำสัญญาลิขสิทธิ์กับทาง Magnavox แทน เป็นเงิน 7 แสนเหรียญ และหลังจากนั้น 1 ปี เครื่อง Pong ของ Atari ก็กลายเป็นสิทธิ์ของ Magnavox ไปและเพื่อไม่ให้ Magnavox ครอบครองสิทธิ์ไปทั้งหมด ทาง Atari จึงได้ระงับการพัฒนาเครื่องเกมต่อ และเก็บซ่อนข้อมูลระหว่างที่ทนายของทาง Magnavox เข้ามาสำรวจบริษัท จนครบอายุสัญญา
และในปีต่อๆ มา เมื่อ Texas Instruments ได้ผลิตชิฟสำหรับผลิตเครื่องเกม Pong สำเร็จรูปขึ้นมาขาย ซึ่งขอมีเพียงชิฟตัวนี้ และมีความรู้ด้านระบบนิดหน่อย ก็จะสามารถสร้างเครื่อง Pong เล่นเองได้ ทำให้ตอนนั้น มีเครื่อง Pong ที่ทางบ้านทำเองผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ดโดยใช้ชื่อ Pongนู่น, Pongนี่, Pongดุกดุ๋ย, Pongเขย่ง บลาๆๆ (เยอะจนจำไม่ได้จริงๆ) ทาง Atari เห็นแล้วทนไม่ได้ จึงได้ผลิต Pong รุ่นใหม่ออกมาอีกมากมายเช่นกันทั้ง Pong Doubles, Super Pong, Quadrapong, และ Pin-Pong ซึงแต่ละรุ่น ก็จะมีเพิ่มฟีเจอร์ต่างๆ ขึ้นมาอย่างเช่น เพิ่มให้เล่นได้ 4 คน หรือ ทำให้เล่นพร้อมกัน 4 คนแต่อยู่คนละด้านแล้วแข่งกันเอง นอกจากนี้ ยังออกเวอร์ชั่น Snoopy Pong สำหรับสำหรับเล่นกันในกลุ่มทีมแพทย์อีกด้วย (ซึ่งเกมก็มีแต่ปิงปองนี่แหละครับ)
จนในปี 1976 Atari ก็ได้ออกเกม Breakout ออกมา ซึ่งเป็นเกมที่นำ ระบบ Pong มาพัฒนาใช้ได้อย่างดีมาก (ขนาดแม่ผมยังเล่นทั้งวัน) โดยเราจะต้องดีดลูกเด้งไปเพื่อทำลายกำแพงที่อยู่อีกฝั่งให้หมด แต่จากนั้นไม่นานก็โดนลอกไปตามระเบียบ โดยใช้ชื่อเกมต่างๆ เช่น Arkanoid, Alleyway, Break ‘Em All
ในเครื่องเกมของ Atari รุ่นหลังๆ มา ก็มักจะพบกับเกม Pong แฝงอยู่เรื่อยๆ และมักจะมีเกม Pong ของ Atari ไปออกเครื่องเกมต่างๆ อีกมากมายเช่นกัน และในท้ายคอลั่มนี้ ผมได้นำเแบบแปลน ของเครื่อง Pong ที่จะทำให้เพื่อนๆ สามารถสร้างเครื่องเกม Pong Home ไว้เล่นเองที่บ้านได้ครับ (คลิกเพื่อดูรูปใหญ่นะครับ)
ขอขอบคุณข้อมูลจาก AdvanceTio