อินเทลเปิดตัวเน็ตบุ๊กที่เป็นคลาสเมทพีซี รุ่น 2 ที่ใช้ชิปอินเทล ป้อนตลาดการศึกษาทั่วโลก

[center][img=57614]//online-station.net/wp-content/uploads/2020/03/default-image.jpg[/img][/center]พร้อมเผยกลยุทธ์การลงทุน และบริการ Software Certification Service[p][b]อินเทล ดิวเวลล็อปเปอร์ ฟอรัม (ไอดีเอฟ)[/b], เซี่ยงไฮ้, 3 เมษายน 2551: อินเทล คอร์ปอเรชั่น ประกาศเปิดตัวคลาสเมทพีซี (Classmate PC) ดีไซน์ใหม่ที่ใช้ชิปอินเทล โดยมี แอนดรูว์ เฉียน รองประธานกลุ่ม คอร์ปอเรท เทคโนโลยี ของอินเทล และผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยอินเทล นำคลาสเมทพีซีรุ่นที่สองมาเผยโฉมในงานไอดีเอฟที่เซี่ยงไฮ้ จุดเด่นของคลาสเมทพีซีรุ่นนี้ คือ ราคาประหยัด มีฟังก์ชันครบถ้วน ทนทาน และเน้นการใช้งานบนอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก นอกจากนี้ ยังเป็นพีซีที่ใช้ง่าย ใช้งานแบบไร้สายได้ แบตเตอร์ใช้ได้นานขึ้น คีย์บอร์ดกันน้ำได้ และมีระบบป้องกันการหยุดชะงักของเครื่องที่ดีขึ้นในกรณีเครื่องตกกระแทก โดยอินเทลเรียกพีซีประเภทนี้ว่า [b]“เน็ตบุ๊ก”[/b] [p]แพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์ซึ่งออกแบบโดยอินเทลรุ่นนี้ ช่วยให้ผู้ผลิตมีทางเลือกในการออกแบบแล็ปท้อปโมเดลต่างๆ ได้อย่างหลากหลายเพื่อให้ตรงกับความต้องการด้านการศึกษา รูปแบบของคลาสเมทพีซีรุ่นใหม่เป็นนวัตกรรมชิ้นล่าสุดที่พัฒนาขึ้นเพื่อประโยชน์ด้านการศึกษาสำหรับครูอาจารย์และผู้ปกครอง ในการนำเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ และการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เข้ามาช่วยให้การเรียนรู้ของนักเรียนทั่วโลกดีขึ้นกว่าเดิม[p]นายเฉียน กล่าวว่า “มีเด็กๆ ทั่วโลกเพียงร้อยละ 5 เท่านั้นที่มีโอกาสใช้พีซีหรืออินเทอร์เน็ต การศึกษาเป็นหนึ่งในตัวอย่างที่ดีที่สุดที่จะแสดงให้เห็นว่า เทคโนโลยีจะช่วยทำให้การดำเนินชีวิตของเราดีขึ้นได้อย่างไร เราพบว่ามีครูหลายท่านที่นำเอาเทคโนโลยีมาช่วยทำให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างสนุกสนานมากขึ้น นอกจากนี้เรายังสัมผัสได้ว่าเด็กๆ รู้สึกตื่นเต้นดีใจเมื่อได้รับแรงบันดาลใจที่เกิดจากเทคโนโลยีอีกด้วย คลาสเมทพีซีที่ใช้ชิปของอินเทลคือหนทางหนึ่งที่ช่วยสนับสนุนให้อุตสาหกรรมไอทีสามารถกระจายการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในด้าน การศึกษาไปยังเด็กๆ ทั่วโลกได้อย่างครอบคลุม” [p][b]คลาสเมทพีซีรุ่นที่สองนี้ ใช้ อินเทล™ เซเลอรอน™ เอ็ม โปรเซสเซอร์ ระบบ WiFi รุ่น 802.11b/g และยังมีคุณสมบัติเชื่อมโยงระบบแบบ mesh network ได้ด้วย สำหรับรุ่นท้อปของเน็ตบุ๊กรุ่นนี้จะใช้จอแอลซีดีขนาด 9 นิ้ว แบตเตอรี่แบบ 6 เซลล์ เมมโมรี่ขนาด 512 MB ระบบสำรองฮาร์ดไดรฟ์ขนาด 30 GB พร้อมด้วยกล้องเว็บแคมในตัว[/b][p]คลาสเมทพีซีรุ่นนี้ รองรับการทำงานของระบบปฏิบัติการ[b] Microsoft* Windows* XP [/b]หรือระบบปฏิบัติการลีนุกซ์* เวอร์ชั่นต่างๆ และเมื่อมีการติดตั้งซอฟต์แวร์เพื่อการศึกษาลงไปล่วงหน้า จะทำให้โน็ตบุ๊กรุ่นนี้เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการนำไปใช้ในห้องเรียน โดยซอฟต์แวร์และคอนเท้นท์นั้นมีให้เลือกใช้ถึง 8 ภาษาด้วยกัน [p]ที่ผ่านมา มีบริษัทผู้ผลิตทั้งซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ ผู้พัฒนาคอนเท้นท์ ผู้ให้บริการด้านการศึกษาและผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ชั้นนำในประเทศต่างๆ กว่า 80 ราย ทำงานร่วมกับอินเทลเพื่อพัฒนาโครงสร้างที่สมบูรณ์แบบสำหรับคลาสเมทพีซีที่ใช้ชิปอินเทล ซึ่งมีการนำมาอวดโฉมภายในงานไอดีเอฟที่เซี่ยงไฮ้ครั้งนี้ด้วย [p][b]นายเฉียน ยังได้กล่าวถึงคลาสเมทพีซีที่ใช้เทคโนโลยีของอินเทลว่า ในอนาคต คลาสเมทพีซีจะใช้อินเทล™ อะตอม™ โปรเซสเซอร์ เป็นตัวประมวลผล เพราะมีคุณสมบัติด้านการประหยัดพลังงาน ใช้ต้นทุนต่ำในการผลิต มีความสามารถในการใช้งานแบบไร้สายได้ ซึ่งเหมาะกับอุปกรณ์ประมวลผลแบบโมบายล์ขนาดเล็กโดยเฉพาะอย่างเช่น เน็ตบุ๊ก เป็นต้น[/b][p]คลาสเมทพีซี ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเหมาะสำหรับเด็ก จะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและนำเสนอเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Intel World Ahead ซึ่งเป็นโครงการระดับโลกของอินเทลที่มีเป้าหมายในการกระจายโอกาสในการเข้าถึงเทคโนโลยีและโอกาสทางการศึกษาไปยังเด็กๆ ทั่วโลก[b]การปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระบบดิจิตอล[/b][p]นายเฉียนยังกล่าวต่อว่า คลาสเมทพีซีรุ่นที่สองนี้ยังเป็นเครื่องพิสูจน์ได้เป็นอย่างดีถึงความเชื่อของเขาที่ว่า การเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระบบดิจิตอลนั้นได้มีการดำเนินการอยู่ในขณะนี้ นอกจากนั้น เขายังเน้นย้ำถึงความก้าวหน้าเกี่ยวกับระบบดิจิตอลในแขนงอื่นๆ ด้วย อาทิเช่น การใช้เทคโนโลยี ซิลิคอน รามัน เลเซอร์ (Silicon Raman laser) ซึ่งเป็นตัวดักจับก๊าซมีเธนราคาถูก และยังได้พูดถึงเทคโนโลยีจัดการพลังงานบนแพลตฟอร์มที่หลากหลาย เพื่อนำมาใช้พัฒนาประสิทธิภาพด้านพลังงาน นอกจากนี้ เขายังกล่าวถึงดิจิตอลแอพพลิเคชั่นรุ่นใหม่ๆ สำหรับผู้บริโภค เช่น หุ่นยนต์ส่วนตัว และเทคนิคการวิเคราะห์ภาพระบบดิจิตอลคอมพิวเตอร์ (computational photography) ซึ่งจะกลายเป็นแอพพลิเคชั่นแถวหน้าทันทีเมื่อการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบดิจิตอลดำเนินการได้เรียบร้อย โดยได้มีการสาธิตถึงการทำงานของ ‘ฟูวา’ หุ่นยนต์ส่วนตัวจากมหาวิทยาลัยฟูดาน และกล้อง ReFocus ซึ่งเป็นอุปกรณ์จับภาพแบบ light field [p]นอกจากนี้ สถาปัตยกรรมอินเทล ยังได้มีการปรับเปลี่ยนระบบการประมวลผลแบบคู่ขนานของเป็นมัลติคอร์ให้กลายมาเป็นโครงสร้างระดับพื้นฐาน ซึ่งจำเป็นต้องใช้เทคนิคการตั้งโปรแกรมและภาษาต่างๆ แบบใหม่ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในโครงการวิจัยระบบประมวลผลระดับเทอราสเกลของอินเทลนั่นเอง[p]นายเฉียน พร้อมด้วย ดร. จาง เซียะ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีจาก Neusoft Co. ได้นำเอาภาษาในการเขียนโปรแกรมแบบคู่ขนานชนิดใหม่ที่ชื่อ Ct จากฝ่ายวิจัยอินเทลมาสาธิตด้วย ภาษาสำหรับเขียนโปรแกรมดังกล่าวเป็นผลงานการวิจัยของอินเทลที่จะช่วยให้การเขียนโปรแกรมเพื่อทำงานกับโปรเซสเซอร์แบบมัลติคอร์มีประสิทธิภาพมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน นายเฉียนยังกล่าวอีกว่า ผลงานวิจัยของอินเทลตั้งเป้าไปที่การสร้างโอกาสและการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการแปลงสภาพระบบดิจิตอลไปพร้อมๆ กัน [b]เรอเน่ เจมส์: การสร้างอนาคตของซอฟต์แวร์[/b][p]นางเรอเน่ เจมส์ รองประธานและผู้จัดการทั่วไป กลุ่มซอฟต์แวร์และโซลูชั่นของอินเทล กล่าว ในงานไอดีเอฟครั้งนี้ว่า ซอฟต์แวร์มีบทบาทอย่างมากต่อการปลดล็อกเพื่อดึงศักยภาพของฮาร์ดแวร์มาใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และยังช่วยให้ผู้ใช้ได้รับประโยชน์จากระบบอย่างสมบูรณ์แบบยิ่งกว่าเดิมอีกด้วย โดยเธอกล่าวว่า ระบบประมวลผลเสมือนจริง (visual computing) และโมบายล์ แอพพลิเคชั่นสำหรับอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบพกพา (MID) คือสององค์ประกอบหลักที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและมีความสำคัญต่อการพัฒนาซอฟต์แวร์ และยังได้เปิดเผยถึงการพัฒนาเครื่องมือของอินเทลที่ชื่อ[b] Intel® C++ Software Development Tool Suite [/b]เพื่อใช้กับระบบปฏิบัติการของลินุกซ์* ในอุปกรณ์ MID อีกด้วย [p]นอกจากนี้ นางเจมส์ยังได้พูดถึงโครงการ[b] Intel® Certified Solutions [/b]ว่าเป็นบริการทดสอบและรับรองความถูกต้องของซอฟต์แวร์แบบใหม่ ที่จะช่วยให้สมาชิกที่อยู่ในโปรแกรม [b]Intel® Software Partner Program[/b] สามารถนำเสนอโซลูชั่นที่มีคุณภาพสูงขึ้น ซึ่งผ่านการรับรองจากอินเทลว่า เป็นโซลูชั่นที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่เข้มงวดด้านความปลอดภัย ความสามารถในการทำงานร่วมกัน ความสามารถในการดูแลระบบ และสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีต่างๆ ของอินเทลได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ บริการใหม่ดังกล่าวซึ่งมี SpikeSource* เป็นผู้พัฒนา จะช่วยให้ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ต่างๆ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการพัฒนาและสามารถนำเสนอโซลูชั่นใหม่ๆ ที่มีเสถียรภาพและทำงานร่วมกับแพลตฟอร์มของอินเทลได้เป็นอย่างดี [p]กองทุนอินเทล แคปิตอล ซึ่งเป็นองค์กรด้านการลงทุนระดับโลกของอินเทล ได้ลงทุนในบริษัท SpikeSource เพิ่มอีก 10 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยในช่วงแรกของโปรแกรมนี้ อินเทลและ SpikeSource จะร่วมกันให้บริการแก่บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ และคาดว่าบริการดังกล่าวจะแพร่หลายในวงกว้างมากขึ้นภายในปลายปีนี้ [p][b]นอกจากนี้ อินเทลยังได้ร่วมกับบริษัท Epic Games เปิดตัวโครงการ “$1 Million Intel Make Something Unreal Contest” เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักพัฒนาเกม ในการปรับแต่งเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มีความแรงพร้อมสำหรับการเล่นเกม Unreal Tournament 3 ซึ่งเป็นเวอร์ชันที่ทำงานบนพีซีโดยเฉพาะ โดยผู้ชนะการแข่งขันจะได้รับลิขสิทธิ์ Unreal Engine 3 พร้อมด้วยรางวัลเงินสดและของรางวัลอื่นๆ รวมมูลค่กว่า 500,000 เหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ยังมีรางวัลอื่นๆ ซึ่งรวมถึง Intel® Software Development Products และ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ อินเทล™ คอร์™2 เอ็กซ์ตรีม คว๊อดคอร์ โปรเซสเซอร์ [/b][p]ในฐานะผู้นำระดับโลกด้านนวัตกรรมซิลิกอน อินเทลได้พัฒนาเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ และริเริ่มสิ่งต่างๆ เพื่อสร้างความก้าวหน้าในการทำงานและการดำรงชีวิตของผู้คน ผู้สนใจสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัทอินเทล ได้ที่เว็บไซต์ [url]http://www.intel.com/pressroom[/url] และ blogs.intel.com[/url]

คำที่เกี่ยวข้อง

สมัครรับข่าว OS

คุณอาจสนใจเรื่องนี้