เปิดเคล็ดลับเด็กเกม มหาวิทยาลัยกรุงเทพ คว้าชัย Game Dev.

เปิดเคล็ดลับเด็กเกมมหาวิทยาลัยกรุงเทพคว้าชัย Game Dev. จากเกม Dissolve Space

     หลายมหาวิทยาลัยเปิดหลักสูตรเฉพาะทางพัฒนาคนทำเกมให้อุตสาหกรรมเกมของไทย และตัวจี๊ดแถวหน้า ก็คือเด็กเกม มหาวิทยาลัยกรุงเทพ  ที่เพิ่งคว้ารางวัลชนะเลิศรายการแข่งขันนักพัฒนาเกม Gaming Dev BootCamp โดยใช้โปรแกรม Unity  เล่นเกมผ่านอุปกณ์ VR  งานนี้มี 24 ทีมจาก 7 มหาวิทยาลัยร่วมแข่งขัน  

ม.กรุงเทพ

     ผลงานเกม Dissolve Space ได้รับรางวัลชนะเลิศชุดนี้เป็นฝีมือของนายสันติภาพ ล้ำเหลือ (โอเว่น) และนายนรภัทร ลาภชูรัต (อาร์ม)  นักศึกษาชั้นปีที่ 2 และ ชั้นปีที่ 3  คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม สาขาเกมและสื่อเชิงโต้ตอบ  มหาวิทยาลัยกรุงเทพ  จุดเด่นของผลงานคือ Creativity  ทั้งการวางคอนเซ็ปต์  งานดีไซน์ ทักษะการเล่าเรื่อง และวิธีการนำเสนอผลงานเกมซึ่งมีความโดดเด่นมากที่สุดในการแข่งขัน  นักศึกษาผู้พัฒนาเกมบอกว่า  เป็นเพราะพวกเขาได้เรียนรู้ข้ามศาสตร์ในรายวิชา Storytelling จากคณะนิเทศศาสตร์ ทำให้เข้าใจและสามารถฝึกทักษะที่ดีในการสื่อสาร  และการนำเสนอความคิดรวบยอด  

นายสันติภาพ ล้ำเหลือ
นายสันติภาพ ล้ำเหลือ (โอเว่น)

นายนรภัทร ลาภชูรัต (อาร์ม)
นายนรภัทร ลาภชูรัต (อาร์ม)

     จริงๆ แล้ว กว่าจะได้ผลลัพธ์ออกมาแบบนี้ย่อมมาจากการฝึกฝนทักษะและกระบวนการคิดอย่างเข้มข้น  เด็กเกม BU  ก็ต้องผ่านจุดนี้มาเช่นกัน  และเบื้องหลังการปั้นเด็กเกมแบบนี้ คือการใช้แนวคิด Creativity + Technology  มาสร้างกระบวนการเรียนการสอนให้นักศึกษา  แล้ว Creativity + Technology มีวิธีเรียน-สอนกันอย่างไร   

เปลี่ยนวิธีเรียน  กระตุ้นให้คิด
     มหาวิทยาลัยกรุงเทพใช้รูปแบบการเรียน Project Based Learning  การเรียนรู้ผ่านการลงมือทำงานจริงและรวมทีมทำงานทำให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนทักษะการเรียนรู้ เพราะแต่ละคนมีความถนัดต่างกัน จึงทำให้งานที่ออกมานั้นสมบูรณ์แบบมากขึ้น  ในการทำแต่ละโปรเจกต์จะฝึกผู้เรียนทุกคนให้สามารถใช้เทคโนโลยีเป็น  รู้จักคิดวิเคราะห์แก้ปัญหา  เรียนรู้การปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้    

ม.กรุงเทพ Dissolve Space

เปลี่ยนบทบาทผู้สอน
     ผู้สอนมีบทบาทเป็น  Facilitator  เป็นผู้สร้างประสบการณ์ในการเรียนรู้และให้คำแนะนำ มหาวิทยาลัยกรุงเทพได้ชื่อว่าเป็น Creative University เรียนคณะไหนของมหาวิทยาลัยไอเดียบรรเจิดก็เกิดได้ตลอด  ไอเดียเหล่านั้นยังก่อรูปร่างได้จริงเพราะมหาวิทยาลัยมี  Ecosystem ด้านการศึกษาพร้อมมากที่จะสนับสนุนการเรียนรู้  มีเครื่องมืออุปกรณ์ครบครันทันสมัย  คณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ  มีพันธมิตรเหนียวแน่นจากภาคธุรกิจ  และยังมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศ   

เรียนข้ามศาสตร์ 
     จะเรียนสายวิทย์หรือสายศิลป์มา  C+T ก็เติมเต็มความรู้ให้ได้  การเรียนรู้แบบนี้สร้างบัณฑิตให้มีคุณลักษณะเฉพาะตัวคือ  มีความคิดสร้างสรรค์  มีความรู้ในการใช้เทคโนโลยี  และมีจิตวิญญาณผู้ประกอบการ

Dissolve Space

     สำหรับเด็กเกม BU การเรียนข้ามศาสตร์มีหลากหลายวิชา เช่น วิชา Storytelling จากคณะนิเทศศาสตร์  วิชาการสร้างผู้ประกอบการ จากคณะ BUSEM วิชาการจัดการ จากคณะบริหารธุรกิจ เป็นต้น  ในทางกลับกัน  คณะสายศิลป์ อย่างเช่น คณะนิเทศศาสตร์ ก็เรียนข้ามศาสตร์โดยร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์โดยมีผู้เชี่ยวชาญมาสอนเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ใช้ในแวดวงนิเทศฯ   เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้และใช้เทคโนโลยีเป็น   

     ปัจจุบัน แนวคิด C+T ถูกนำไปใช้สร้างกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ให้กับทุกคณะของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ และเพื่อให้สอดรับกับโลกธุรกิจที่เปลี่ยนไป  ในปีการศึกษา 2563 มหาวิทยาลัยกรุงเทพได้พัฒนาหลักสูตรใหม่  4 หลักสูตร ได้แก่ 1.คณะนิเทศศาสตร์  หลักสูตร  Creative Content Production and Digital Experience   2. คณะนิเทศศาสตร์ หลักสูตร Broadcasting and Streaming Media Production  3.คณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตร Artificial Intelligence Engineering and Data Science  และ 4.คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม หลักสูตร Computer Science – Data Science and Cyber Security  เรียกได้ว่าเป็นการก้าวไปข้างหน้าของมหาวิทยาลัยกรุงเทพด้วยความมุ่งมั่นที่จะสร้างคนรุ่นใหม่ให้พร้อมรับมือกับทุกความท้าทายของอาชีพในอนาคตได้อย่างมั่นใจ     

เปิดเคล็ดลับเด็กเกมมหาวิทยาลัยกรุงเทพคว้าชัย Game Dev. จากเกม Dissolve Space
 
 true online

คำที่เกี่ยวข้อง

สมัครรับข่าว OS

คุณอาจสนใจเรื่องนี้