คนรุ่นใหม่สงสัย Dragon Ball ในสมัยที่ยังตีพิมพ์อยู่ดังขนาดไหน?

เมื่อบอร์ดแห่งหนึ่งของญี่ปุ่นมีคนรุ่นใหม่ที่เพิ่งมาติดตาม Dragon Ball ตั้งกระทู้ถามว่า Dragon Ball สมัยที่ยังตีพิมพ์ลงนิตยสาร Jump รายสัปดาห์เนี่ยดังขนาดไหน เพราะถ้าเทียบเนื้อเรื่อง ดีไซน์ และความสนุกแล้วคงสู้การ์ตูนสมัยนี้ไม่ได้แน่ ๆ แต่ทำไมมันถึงยังดังไม่หยุดไม่หย่อนมาจนถึงปัจจุบัน

ซึ่งมีความเห็นในกระทู้ดังนี้
“รบกวนบอกกันหน่อยนะครับคุณลุง ^^”
“เรียกพี่ก่อนเดี๋ยวเล่าให้ฟัง”
“เมื่อก่อนสุดยอดมาก”

“นี่คือผลการจัดอันดับตัวละคร Dragon Ball จากนิตยสาร Jump ในขณะนั้น ซึ่งคะแนนโหวตนั้นไม่ธรรมดาเลย แถมกติกาการโหวตนั้นต้องส่งจดหมายไปโหวตด้วย ผลคะแนนที่ออกมาแสดงให้เห็นถึงความนิยมที่ฮอตสุด ๆ ได้เป็นอย่างดี”

ผู้ที่ทันในช่วงแรก ๆ ส่วนใหญ่พอรู้ว่า Dragon Ball เป็นคนเขียนคนเดียวกับ Arale ก็เลยลองติดตามดู ในตอนแรกยังพออ่านเพลิน ๆ ได้ ซึ่งช่วงที่เริ่มดังเป็นกระแสก็คือตอนที่มีการจัดแข่งขันศึกชิงเจ้ายุทธภพ แต่หลายคนก็บอกว่ายังดังไม่เท่า Saint Seiya และ Kinnikuman ที่เป็นการ์ตูนบู๊เหมือนกัน
“Jump ในสมัยนี้เทียบกับสมัยนั้นไม่ติด สมัยนั้นคืออ่านการ์ตูนได้ทุกเรื่อง อ่านตั้งแต่หน้าแรกยันหน้าสุดท้าย ไม่ได้หมายความสมัยนี้ไม่สนุกนะ แต่ความรู้สึกเติมเต็มมันไม่เท่ากับสมัยนั้น”
“แถมปก Jump มีหลายแบบด้วยนะ เปลี่ยนสลับกันได้ด้วย!”

“ตอนขึ้นรถไฟช่วงวันจันทร์นะ 8 ใน 10 คนต้องอ่าน Jump อะ”
“เดี๋ยวนะ Jump มันวางขายวันอังคารนี่!”
“แต่ในเขตชานเมืองอย่างเขตโอโดะน่ะขายวันจันทร์นะ แต่เอาจริง ๆ วันเสาร์ก็ซื้ออ่านได้แล้ว”
“ตอนหกโมงเย็นวันจันทร์นะ ผมนี่รีบไปรอที่แผงหนังสือเลย”
“ยุค 90 ตอนเย็นวันเสาร์เนี่ย ข้างหน้าร้านแถวบ้านมักจะมีเด็ก ๆ มายืนรอต่อคิวอ่านจากผู้ใหญ่ที่ซื้อไป”

ตอนพี้คอีกตอนก็คือช่วงศึกบนดาวนาเม็คที่ถึงขั้นเป็น Talk of the town ของเหล่านักเรียนประถมปลายถึงมัธยมต้นของญี่ปุ่นในขณะนั้น ที่ฟรีเซอร์บอสของเรื่องที่กำลังจะได้ออกโรง และพูดว่าตัวเองนั้นมีพลังสูงถึง 530,000 หลายคนจึงเน้นจับกลุ่มคุยมโนกันว่าพวกโกคูจะเอาชนะมันได้ยังไง ซึ่งความนิยมในตอนนี้นั้นทำเอา Jump นั้นขาดตลาดจนหาซื้อไม่ได้กันเลยทีเดียว ภาพเหล่าเด็กประถมและมัธยมที่จับเข่าคุยเกี่ยวกับ Dragon Ball ในสมัยนั้นเป็นภาพที่ไม่สามารถเห็นได้แล้วในสมัยนี้

แน่นอนว่าฉากที่ทำให้เหล่าเด็กญี่ปุ่นในสมัยนั้นเกิดอาการคลั่งกันถ้วนหน้าก็คงจะหนีไม่พ้นฉากที่ โกคูแปลงร่างเป็นซูเปอร์ไซย่า ครั้งแรก เพราะในขณะนั้นไม่มีการรู้ล่วงหน้าว่าจะเกิดอะไรขึ้น ไม่มีใครรู้ว่าหน้าตาของซูเปอร์ไซย่าเป็นอย่างไร ขนาดคนรุ่นใหม่ที่เห็นหน้าตาของซูเปอร์ไซย่าแล้วมาอ่านหรือดูช่วงที่เป็นซูเปอร์ไซย่าครั้งแรกยังรู้สึกพี้ค แล้วคนที่ติดตามในตอนนั้นแบบ Real Time จะพี้คหนักกว่าขนาดไหน เป็นอะไรที่ไม่สามารถอธิบายออกมาเป็นคำพูดได้จริง ๆ

และหลังจากที่ Dragon Ball ได้จบลงก็อาจจะมีกระแสที่แผ่วลงบ้างเล็กน้อย แต่เหล่าแฟนคลับเดนตายก็ยังคงตั้งตารอกับความหวังว่า Dragon Ball จะกลับมาอีกครั้งให้ได้ติดตาม ซึ่งกว่าจะกลับมาอีกครั้งนั้นก็นานถึง 17 ปีเลยทีเดียวกับ Dragon Ball the movie Battle of God ที่บอกเล่าถึงการขยายจักรวาลของ Dragon Ball จนทำเป็น Dragon Ball Super ในปัจจุบันทั้งรูปแบบหนังสือการ์ตูนและทีวีอนิเมะ

ถ้าเทียบกับประเทศไทย ในขณะนั้นก็คงจะเป็นนิตยสาร the TALENT กับ ZERO ที่ตีพิมพ์ Dragon Ball ให้ได้อ่านกันเป็นภาษาไทย เหล่าวัยรุ่นไทยที่ทันอ่านยุคนั้นก็อาจจะมีความรู้สึกเหมือนกับวัยรุ่นญี่ปุ่นที่กำลังติดตาม Jump อยู่ก็เป็นได้

ที่มา : http://jumpmatome2ch.biz/archives/92383

TrunksTH

คำที่เกี่ยวข้อง

สมัครรับข่าว OS

คุณอาจสนใจเรื่องนี้